ใครมีไฝ มีจุดตามร่างกาย อย่านิ่งเฉย…มาตรวจเช็ค “มะเร็งผิวหนัง” ด้วยตนเองกันเถอะ





ไม่ใช่แค่อวัยวะภายในเท่านั้นที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง แต่ผิวหนังภายนอกก็มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเช่นกัน โดยเฉพาะคนที่มีไฝ หรือมีพฤติกรรมในการอยู่กลางแจ้งนานๆ ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนังมากขึ้นไปอีก

มาลองดูวิธีการสังเกตกันดีกว่าว่าแบบไหนที่เรียกว่า เข้าข่ายการเป็นมะเร็งผิวหนัง และควรป้องกันแก้ไขอย่างไร ตามมาศึกษาไปพร้อมๆกันเลยนะคะ

 

1375.1

 

ตรวจเช็คโรคมะเร็งผิวหนังด้วยตนเอง…ต้องเริ่มต้นอย่างไร ?

ผิวหนังก็เช่นเดียวกับอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย สามารถเกิดมะเร็งได้เช่นกัน เช่นเดียวกับมะเร็งทุกชนิด การตรวจพบตั้งแต่ระยะเนิ่นๆ ช่วยให้การรักษาได้ผลดีขึ้น ช่วยลดโอกาสการเสียชีวิต และช่วยให้ปลอดภัยมากกว่า ดังนั้น จึงไม่ควรนิ่งนอนใจในการตรวจหา “รอยโรคมะเร็งผิวหนัง” ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ขึ้นกับชนิดของเซลล์ที่กลายพันธ์เป็นมะเร็งผิวหนัง

ซึ่งในที่นี่จะขอพูดถึง “ไฝมะเร็ง หรือ Melanoma” ดังข้อมูลต่อไปนี้ค่ะ

 

ไฝมะเร็งพบบ่อยแค่ไหน ?

ไฝมะเร็งมักพบได้บ่อยใน “ฝรั่งผิวขาว” ส่วนชาวเอเชียวางใจได้หน่อย เพราะถึงแม้จะพบไฝมะเร็งได้ แต่ก็ไม่บ่อยเท่ากับคนผิวขาว นอกจากนี้ ก็สามารถพบได้ทั้งบริเวณผิวหนัง มือ เท้า และเล็บ ด้วย

 

1375.3

 

วิธีตรวจเช็คมะเร็งผิวหนังด้วยตนเอง

ขั้นตอนการตรวจเช็คมะเร็งผิวหนังด้วยตัวเองมีดังต่อไปนี้

1.ฝึกทำเป็นประจำให้เป็นนิสัย

คุณควรจะตรวจเช็คสังเกตุการเปลี่ยนแปลงของไฝตามร่างกายเป็นประจำ ‘ทุกเดือน’ ทำให้ติดเป็นนิสัย โดยอาจกำหนดไปเลยก็ได้ ว่าเราจะทำสิ่งนี้เป็นประจำทุกเดือน ทุกวันที่ 1 หรือทุกวันเกิดของเรา แล้วแต่เราจะคิดหรือทำให้จำได้ง่าย

 

 

2. มองหาไฝ ABCDE

มองหาลักษณะข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้จากนี้ ถ้ามีให้คิดว่าเป็น “ไฝต้องสงสัย” ควรมาพบแพทย์ด่วน!

1375.2

ไฝ ABCDE เป็นลักษณะของไฝต้องสงสัย แบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ ดังต่อไปนี้

A-Asymmetry คือ ไฝที่มีรูปร่างไม่สมมาตร

B-Border คือ ขอบไม่เรียบ ขอบขรุขระ

C-color คือ สีของไฝไม่สม่ำเสมอ สีไม่เท่ากันบางส่วนเข้มบางส่วนจาง

D-diaeter ขนาด เส้น ผ่านศูนย์กลางมากกว่า 6 mm หรือกะว่าประมาณก้นยางลบดินสอค่ะ

E-evolving การพัฒนา ขยายขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

 

 

3.หาอุปกรณ์ตัวช่วยในการสอดส่อง

เนื่องจากไฝบางเม็ดอาจจะไม่ได้อยู่แค่ด้านหน้า แขน ขา ที่เราสามารถมองเห็นได้ง่ายเพียงอย่างเดียว แต่อาจจะอยู่ด้านหลัง อยู่ในซอกหลืบ ที่เราอาจจะมองเห็นได้ยาก ดังนั้น จึงจำเป็นต้องหากระจกมาช่วยสอดส่อง หรือถ้ามีผู้ช่วยก็จะยิ่งสะดวกมากขึ้น

 

จากสถิติพบว่า ฝรั่งผิวขาวเพศชาย มักมีไฝมะเร็งที่พบบ่อยตามแผ่นหลัง ส่วนในผู้หญิงมักพบได้บ่อยตามขาท่อนล่าง และหลัง ในขณะที่คนเอเชียมักพบได้บ่อยที่มือหรือเท้า อย่างไรก็ตาม ไฝมะเร็งพบได้ทุกบริเวณไม่เว้นแม้แต่ในลูกตาขาวก็สามารถเกิดขึ้นได้

 

[ads]

 

4. การตรวจควรทำให้ครบจากหัวจรดเท้า

การตรวจควรทำให้ครบจาก ‘หัวจรดเท้า’ โดยควรทำให้เป็นระบบดังนี้

 

– เริ่มจากใบหน้าและศีรษะ ต้องอย่าลืมดูริมฝีปาก หน้าด้านข้าง โดยใช้กระจกบานเล็กๆช่วยด้วย และอย่าลืมแหวกผมดูหนังศีรษะด้วย เพราะเส้นผมอาจจะปกปิดไฝต้องสงสัยเอาไว้

– ตรวจมือ ฝ่ามือ ง่ามนิ้วสองข้าง

– ตรวจข้อศอก ลำตัวด้านข้าง และรักแร้ทั้งสองข้าง

– ตรวจอก ลำตัวด้านหน้า

– ตรวจหลัง คอด้านหลัง ต้นแขนด้านหลัง สะโพก ขาด้านหลัง

– ตรวจขาและเท้า

– ตรวจอวัยวะเพศ

 

[ads]

 

5.บันทึกลง Body Map

หลังจากสำรวจครบแล้ว ให้บันทึกการเปลี่ยนแปลงลงใน Body map พร้อมทั้งระบุบริเวณที่พบและวัดขนาดของไฝ เพื่อดูว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ และรวดเร็วมากแค่ไหน

 

6. มาพบแพทย์

หากพบว่าไฝมีความผิดปกติหรือมีข้อต้องสงสัยใดๆ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเพิ่มเติม หากเป็นไฝมะเร็งจริงๆ การพบตั้งแต่เริ่มแรกจะช่วยให้ยังสามารถแก้ไขหรือรักษาได้ทัน

 

ภาพตัวอย่างไฝมะเร็ง

1375.4

1375.5

 

น่ากลัวไม่น้อยเลยนะคะสำหรับไฝมะเร็ง ถึงแม้ว่าคนไทยอาจจะพบเจอกับไฝชนิดนี้ได้น้อย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโอกาสได้เจอเลย ใครมีไฝก็ต้องรู้จักสังเกตและดูแลไฝของตัวเองให้ถูกวิธีด้วยนะคะ เราจะได้ไม่ต้องมานั่งกังวลว่าไฝจะพัฒนาไปเป็นมะเร็งและทำร้ายเราต่อไปในอนาคต

 

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก skinanswer.org

 

[ads=center]

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: