สิทธิที่ต้องรู้! ปรับระบบ ‘การแพทย์ฉุกเฉิน’ เข้ารักษาใน รพ.ทั่วไทยฟรี ทุกที่ ทุกเวลา





หากคุณคิดว่า ระบบการรักษาพยาบาลในไทยเอื้ออำนวยตามกำลังทรัพย์ ใครมีเงินมากก็มีสิทธิได้รับการรักษาดีกว่าคนที่มีเงินน้อย ก็อยากให้คุณเปลี่ยนความคิดไปเสียหน่อย เพราะในปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังพัฒนาระบบการแพทย์ให้เท่าเทียมกันในทุกชนชั้น โดยเฉพาะการแพทย์ฉุกเฉินที่มีผลอย่างมากต่อความเป็นความตายของชีวิต

 

1118.1

 

นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวถึง การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินตามนโยบาย “รักษาทุกที่ดีทุกสิทธิ (EMCO)  ว่า

 

 ขณะนี้ ระบบการแพทย์ฉุกเฉินได้พัฒนาและออกแบบให้ประชาชนคนไทยที่มีสิทธิการรักษาพยาบาลใน 3 กองทุน คือ

1. กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง)

2. กองทุนประกันสังคม

3. กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ที่เจ็บป่วยฉุกเฉิน  

ทั้งสามกองทุนนี้ คนไทยสามารถเข้ารับการบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ ทั้งรัฐบาลและเอกชนได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จากนั้นแต่ละกองทุนจะตามจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ผู้ป่วยที่อยู่ในสิทธินั้นๆ เอง

 

1118.2

 

ซึ่งระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่ว่ามานี้ เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2555 และตลอด 4 ปีที่ผ่านมาก็มีผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการดูแลตามสิทธิดังกล่าวมากกว่า 70,000 คน อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัญหา “การเรียกเก็บเงินค่ารักษาจากผู้ป่วยหรือญาติ” ด้วยเหตุผลหลายประการ รัฐบาลจึงต้องมีการทบทวนและปรับระบบให้ดียิ่งขึ้น

 

[ads]

 

ด้วยเหตุนี้ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ สพฉ.จึงได้ร่วมมือกับนักวิชาการด้านระบบค่ารักษาพยาบาล ออกแบบ “การคิดค่ารักษาพยาบาล ทำข้อเสนอและเงื่อนไขต่างๆ พร้อมจัดประชุมร่วมกันกับสมาคมโรงพยาบาลเอกชน และผู้แทนจากทั้ง 3 กองทุน” ได้ข้อสรุปร่วมกัน คือ

 

1. ร่วมมือดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตามระบบการแพทย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาลเอกชนโดยไม่คิดค่ารักษากับผู้ป่วย แต่จะเบิกคืนจากกองทุนต่างๆ โดยมี สพฉ.เป็นผู้กำหนดอาการฉุกเฉินวิกฤต

 

2. การรักษาอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินจะคิดค่ารักษาทุกรายการแทนการเหมาจ่ายใน 72 ชั่วโมงแรก หลังจากนั้นเป็นเรื่องที่แต่ละกองทุนกับโรงพยาบาลเอกชนจะตกลงกันเอง

 

3. ส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินไปยังโรงพยาบาลตามสิทธิ เมื่อพ้นวิกฤต หรืออยู่จนครบ 72 ชั่วโมง

 

4. จัดอบรมการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้แพทย์ พยาบาลห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลเอกชนสามารถคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตามเกณฑ์ที่ สพฉ.กำหนด รวมทั้งจัดเตรียมศูนย์ประสานงานเพื่อให้แพทย์เวรสามารถตัดสินเรื่องฉุกเฉินวิกฤตในกรณีที่แพทย์หรือพยาบาลหน้างานไม่แน่ใจ

 

1118.3

 

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอนี้ยังไม่ได้รับการอนุมัติ เมื่อทุกฝ่ายยอมรับกับเงื่อนไขต่างๆ สพฉ.จะเสนอให้คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินออกเป็นประกาศให้ทราบโดยทั่วกันและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบต่อไป

ในส่วนของพื้นที่พิเศษที่ห่างไกลชุมชน เช่น เกาะ ภูเขา หรือพื้นที่ธุรกันดาร ก็จะได้รับสิทธิและได้รับบริการรถพยาบาล เรือกู้ชีพ หรืออากาศยานฟรีเช่นกัน

 

หากเกิดเหตุด่วนด้านสุขภาพ สามารถโทรแจ้งเหตุผ่านสายด่วน 1669 ได้เลย

 

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก matichon.co.th

 

[ads=center]

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: