แหม่!! มันเจ็บใจ…มารู้จักอาการหัวใจสลายหรือโรคอกหัก





couples-3-love-17909710-500-347

เวลาที่มนุษย์เรามีความรัก สมองจะหลั่งสารโดปามีน (Dopamine) ซึ่งทำให้เรานั้นเกิดความพึงพอใจ มีสมาธิ กับสารออกซิโทซิน (Oxytocin) ซึ่งมีหน้าที่ลดความเครียด คลายความกังวล และทำให้รู้สึกอบอุ่นกับคนที่มีความผูกพันด้วย และยังมีสารเอนดอร์ฟิน (Endorphine) ที่ทำให้คนรู้สึกมีความสุข เวลาที่เรามีความรัก เราจึงรู้สึกมีความสุข ทำอะไรก็ดีไปหมด!! แถมรู้สึกอุ่นใจที่มีความรัก

 

man-crying-pic

แต่พอถึงเวลาโดนบอกเลิก!! อกหักขึ้นมา ฮอร์โมนที่สร้างความเครียดที่เรียกว่า คอร์ติซอล (Cortisol) และอะดรีนาลีน (Adrenaline) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กดการทำงานของสมอง ซึ่งปกติแล้ว เวลาที่เรารู้สึกเครียดมันก็จะหลั่งออกมาหรือเวลาที่เราตกอยู่ในอันตราย เจ้าฮอร์โมนตัวนี้ก็จะหลั่งออกมาจากต่อมหมวกไตและส่งสัญญาณไปที่สมอง

ฮอร์โมนคอร์ติซอล จะทำให้ร่างกายต้องการเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อมากขึ้นและฮอร์โมนอะดรีนาลีนทำให้หัวใจเราสูบฉีดและหัวใจเต้นแรง โดยปกติแล้วสารทั้งสองจะมีประโยชน์สำหรับการกระตุ้นร่างกายในทำงานด้วยประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อรับมือกับอันตราย 

ถึงแม้ว่าฮอร์โมนทั้งจะทำให้เราต่อสู้กับอันตรายได้ แต่ถ้ามันเป็นอันตรายภายในใจเราเอง ซึ่งมันไม่มีความจำเป็นที่จะใช้พลังงานเพื่อเอาตัวรอดแบบอันตรายภายนอก มันก็จะทำให้เจ็บหัวใจเพราะว่าหัวใจทำงานหนัก เป็นสาเหตุที่ทำให้เจ็บหัวใจเมื่อเสียใจหรืออกหัก

WDF_1140519

อาการดังกล่าว แพทย์จะเรียกว่า “กลุ่มอาการหัวใจสลาย” (Broken Heart Syndrome) หรือ “โรคอกหัก” โดยมีรายงานการค้นพบครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1990 ในเอเชีย ซึ่งงอาการนี้อาจทำให้คนเสียชีวิตได้เหมือนโรคหัวใจหรืออาจจะเรียกว่าอาการตรอมใจ

วิธีการบรรเทาอาการหัวใจสลายขั้นพื้นฐาน สามารถทำได้ ได้แก่ การร้องไห้ การหัวเราะ การออกกำลัง การนั่งสมาธิ การได้ทำสิ่งที่ชอบ การได้ทำในสิ่งที่เราอยากทำหรือการได้พูดระบายความในใจกับใครซักคนที่เราไว้ใจ เพียงเท่านี้ก็จะสามารถลดอาการหัวใจสลายได้แล้วครับ

 

เรียบเรียงโดย Thaijobsgov

ข้อมูลจาก www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/broken-heart-syndrome 

ขอบคุณรูปภาพจาก Google.com

[ads=center]

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: