รู้หรือไม่!? ชื่อแบรนด์ขนม “กูลิโกะ” เกิดขึ้นมาจาก “หอยนางรม”





รู้หรือไม่!? ชื่อแบรนด์ข

กูลิโกะ ชื่อนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก แบรนด์ขนมหวานชื่อดังจากประเทศญี่ปุ่นที่มีมาอย่างช้านาน ไม่ว่าจะเป็น ป็อกกี้ เพรสท์ โคลลอน ไจแอนท์ และอื่นๆ อีกมากมาย แต่ทุกคนคงไม่เชื่อแน่ๆ ว่าต้นกำเนิดของชื่อนี้มันมาจาก “หอยนางรม” (ห๊ะ!?)

ก่อนอื่นเลยต้องบอกว่าเบื้องหลังของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของกูลิโกะนั้นมาจากบริษัท เอซากิ กูลิโกะ มาพร้อมกับปรัชญาที่ว่า “สุขสันต์แห่งชีวิตที่สุดแห่งรสชาติ” โดยมีนาย ริอิชิ เอซากิ (Ri-ichi Ezaki) เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่น
 

รู้หรือไม่!? ชื่อแบรนด์ข

 

จุดเริ่มต้นของตำนานขนมหวานชื่อดังทั้งหลายจากกูลิโกะ ก็เริ่มจากการที่ริอิชิได้เห็นชาวประมงทิ้งน้ำต้มหอยนางรมอยู่บ่อยครั้ง ทำให้เขาฉุกคิดได้ว่า น้ำต้มที่เททิ้งไปน่าจะมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์อยู่ จากนั้นก็ได้ส่งให้ทางมหาวิทยาลัยคิวชู อิมพีเรียล นำไปวิเคราะห์

 

แต่ผลการทดลองยังไม่ทันคืบหน้า ความโชคร้ายก็มาตกอยู่ที่ลูกของชายของริอิชิ ประสบกับโรคไทฟอยด์ ซึ่งในสมัยนั้นหมอยังไม่สามารถทำการรักษาได้ ดูท่าจะสิ้นหวังซะแล้ว แต่ทว่ายังพอมีทางออกเสมอ เขาก็ได้ขออนุญาตคุณหมอ ให้ลูกชายได้กิน Glycogen ที่สกัดออกมาจากหอยนางรม ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้ผลอะไรเลย
 

รู้หรือไม่!? ชื่อแบรนด์ข

ปรากฏว่าลูกชายของเขาหายดีเป็นปลิดทิ้ง ซึ่งสาร Glycogen ที่สะสมอยู่ในหอยนางรมเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากๆ เขาจึงมีความคิดว่าควรจะนำสาร Glycogen นี้มาให้เด็กๆ ได้รับประทานกัน จะได้มีร่างกายที่แข็งแรง ไม่ป่วยง่าย แต่จะทำยังไงให้เด็กกินได้ง่ายๆ ล่ะ?

 

และแล้วก็มาลงเอยด้วยการนำสาร Glycogen มาทำเป็นขนมคาราเมลหรือน้ำตาลเหนียว และนำออกขายในที่สุด และจากประโยชน์ของ Glycogen ที่มีในหอยนางรม เป็นสิ่งที่ช่วยชีวิตลูกชายของเขาเอาไว้ เขาก็เลยตั้งชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า Glico หรือ กูลิโกะ นั่นเอง
 

รู้หรือไม่!? ชื่อแบรนด์ข

และสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือโลโก้ของกูลิโกะ โดยนายริอิชิ ได้ไอเดียจากการที่เด็กวิ่งแข่งกัน ซึ่งคนที่วิ่งเข้าเส้นชัยเป็นคนแรก จะชูแขนขึ้นทั้งสองข้าง ก็เลยนำมาใช้เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนความแข็งแรง และก็ใช้โลโก้นี้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
 

รู้หรือไม่!? ชื่อแบรนด์ข

 

ส่วนอันนี้แถมให้เป็นรูปผลิตภัณฑ์ไอติมจากกูลิโกะ สังเกตดีๆ จะมีคำอธิบายภาษาไทยอยู่ด้วย แต่ไม่รู้ว่าที่ไหนง่ะ อยากกินมากเลย …

ที่มา : mthai

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: