น้ำมันเครื่องเรื่องที่ต้องรู้…เติมผิดชีวิตจบ รถแพงแค่ไหนก็เจ๊งได้





น้ำมันเครื่องหรือ น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์  เป็นสิ่งที่ต้องเปลี่ยนบ่อยที่สุดในการใช้งานรถยนต์ ซึ่งผู้ใช้รถยนต์ส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้ว่าควรเลือกอย่างไร และมักจะเลือกจากยี่ห้อเป็นหลัก การใช้น้ำมันเครื่องที่ไม่ถูกประเภทอาจจะทำให้เครื่องยนต์เสียเอาได้ง่ายๆ ถ้าไม่อยากเป็นเช่นนี้ มาลองทำรู้จักกับมันสักหน่อยว่าเป็นอย่างไร

 

970.1

ทำไมต้องมีน้ำมันเครื่อง?

1. ช่วยหล่อลื่น น้ำมันจะเข้าไปเคลือบชิ้นส่วนโลหะในเครื่องยนต์ในลักษณะเป็นฟิล์ม เพื่อช่วยลดการสัมผัสกันโดยตรงของชิ้นส่วนโลหะ

 

2. ช่วยระบายความร้อน ในช่วงที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน  ปั๊มน้ำมันเครื่องจะส่งน้ำมันเครื่องไปหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ และระบายความร้อนกลับลงไปสู่อ่างน้ำมันเครื่องด้วย

 

3. ช่วยป้องกันสนิมและการกัดกร่อน การเผาไหม้ในเครื่องยนต์จะทำให้เกิดความชื้น ส่วนการเผาไหม้เชื้อเพลิงก็ทำให้เกิดกรดกำมะถัน ซึ่งสองตัวนี้สามารถทำให้เกิดทั้งสนิมและการกัดกร่อนได้ แต่น้ำมันเครื่องจะเข้าไปลดไอน้ำและกรดกำมะถันให้เจือจางลง จึงช่วยป้องกันความเสียหายได้นั่นเอง

 

4. ช่วยทำความสะอาด น้ำมันเครื่องมีหน้าที่ชะล้างเขม่าและป้องกันการรวมตัวกันของผงโลหะ ทำให้เครื่องยนต์สะอาดและไม่อุดตัน

 

[ads]

 

แล้วต้องเลือกน้ำมันเครื่องอย่างไร?

 

1. เลือกประเภทของน้ำมันเครื่องตามการใช้งาน

– น้ำมันเครื่องธรรมดา (Synthetic) ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นที่กลั่นจากน้ำมันปิโตรเลียม  ใช้งานได้ประมาณ 3,000-5,000 กม.

– น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi Synthetic) ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นธรรมดากับน้ำมันชนิดสังเคราะห์  ใช้งานได้ประมาณ 5,000-7,000 กม.

– น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ (Fully Synthetic) ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นที่สังเคราะห์จากน้ำมันปิโตรเลียม ใช้งานได้ประมาณ 7,000-10,000 กม.

 

970.2

 

อย่างไรก็ตาม การเลือกซื้อน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ต้องมีความระมัดระวังให้มาก  เนื่องจากคำว่า Synthetic บนฉลากน้ำมันเครื่อง เช่น Synthetic Technology, Synthetic Performance เป็นต้น อาจไม่ได้หมายความว่าเป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100 % หรือกึ่งสังเคราะห์ บางชนิดก็เป็นน้ำมันเครื่องธรรมดาเท่านั้น ดังนั้น จึงควรอ่านฉลากหรือข้อความภาษาไทยประกอบด้วย เพื่อป้องกันการถูกหลอก

 

2. เลือกค่าความหนืด

ค่าความหนืดคือความข้น–ใส ของน้ำมันหล่อลื่น โดยค่าความหนืดจะระบุเป็นตัวเลขตามหลังตัวอักษร ที่มีตั้งแต่ 60, 50, 40, 30, 20, 10 และ 5

ถ้าตัวเลขมาก ก็จะมีความหนืดมาก

ถ้าตัวเลขน้อย ก็จะมีความหนืดน้อย

ซึ่งความหนืดของน้ำมันเครื่องจะมีผลต่อการหล่อลื่น และช่วยลดการสึกหรอ น้ำมันเครื่องที่มีความหนืดต่ำจะให้ฟิล์มหล่อลื่นที่บาง ไม่สามารถรับน้ำหนักได้มาก แต่สามารถแทรกตัวไปตามส่วนต่างๆที่ต้องการหล่อลื่นได้อย่างรวดเร็ว ระบายความร้อนได้ดี และช่วยประหยัดเชื้อเพลิง ในทางกลับกัน น้ำมันเครื่องที่มีความหนืดสูงจะให้ฟิล์มหล่อลื่นที่หนา รับภาระแรงกดได้ดีกว่า แต่ต้องเสียพลังงานสูงมากขึ้น ระบายความร้อนช้า รถวิ่งไม่ค่อยออก และสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากกว่า ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับประเภทของรถยนต์ด้วย

 

970.4

 

3. น้ำมันเครื่องสูตรพิเศษ

ปัจจุบัน มีการพัฒนาน้ำมันเครื่องสูตรพิเศษ เพื่อปรับให้เหมาะสมกับประเภทการใช้งานของรถต่างๆ เช่น

– NGV, LPG & Gasoline เหมาะสำหรับรถที่ติดแก๊ส NGV  

– LPG Heavy Duty เหมาะสำหรับรถที่บรรทุกของหนัก

 

อ่านฉลากสินค้าอย่างละเอียด และสอบถามคนขายให้ดี การเลือกน้ำมันเครื่องให้เหมาะกับรถของคุณก็คงไม่ยากอีกต่อไป และก็ไม่ต้องเป็นกังวลว่าเครื่องยนต์จะพังก่อนเวลาอันควรด้วย

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก streetuseinfo.com และ moneyguru.co.th

 

 [ads=center]

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: