วิธีทำให้’ตัวสูง’สำหรับผู้ที่อายุไม่เกิน 25 ปี





ข่าวดี "พันธุกรรม" ไม่ได้กำหนดให้คุณเตี้ยหรือสูงเสมอไป การที่คุณจะสูงหรือเตี้ย จะประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง นอกเหนือจากพันธุกรรม ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกที่สามารถเอาชนะพันธุกรรมได้ ถึงไม่สูงมาก แต่คุณจะไม่เตี้ยอย่างแน่นอน วิธีทำให้สูง มีดังนี้

 

[ads]

 

 

1. อาหารที่ทำให้สูง โภชนาการ คือปัจจัยสำคัญมาก อีกข้อหนึ่ง ที่คุณต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และยาวนาน ถ้าคุณอยากสูง หุ่นดี  ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และควรเน้น อาหารเหล่านี้ ได้แก่

  •  นม: ดื่มนมวันละ 2 แก้ว หลังอาหารเช้า เพราะนมวัวไม่เพียงอุดมไปด้วย แคลเซียม(ช่วยสร้างกระดูก และมวลกระดูก) และสารอาหารต่างๆ เท่านั้น แต่ยังมีสารอาหารบางอย่างที่ทำให้สูงขึ้น เป็นสารอาหารที่สำคัญอย่างมากสำหรับคนที่ต้องการสูงขึ้น 
  • งาดำ:มีประโยชน์มากสำหรับคนต้องการที่จะสูง เพราะมีวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญ โดยเฉพาะแคลเซียมที่มีมากกว่านมวัวถึง 6 เท่า มีธาตุเหล็ก แมกนีเซียม สังกะสี ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และทองแดง มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย มีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูง ทั้งกรดไขมันโอเมก้า 3 กรดไขมันโอเมก้า 6 นอกจากนี้ ยังมีกรดไขมันไลโนเลอิค ที่ช่วยทำให้ผมดกดำ บำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้นช่วยให้นอนหลับลึก(ทำให้หลั่งฮอร์โมนความสูงออกมามาก) เพราะมากด้วยวิตามินบีชนิดต่างๆ ซึ่งดีต่อระบบประสาท ช่วยทำให้นอนหลับ ร่างกายกระฉับกระเฉง พร้อมกันนั้นยังมีสารบำรุงประสาทด้วย และวิตามินอีเป็นตัวแอนติออกซิแดนท์ที่ช่วยต้านมะเร็ง  จะช่วยปรับระบบประสาทและระดับฮอร์โมน ให้เข้าสู่สภาวะสมดุล ช่วยคลายเครียดทำให้จิตใจสงบ 

และอาหารที่มีแร่ธาตุมีผลต่อการจริญเติบโตของกระดูกนอกจากแคลเซียมแล้ว มีการทดลองบ่งชี้ว่า ยังมีแร่ธาตุอีก 6 ชนิด ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของกระดูกและการสร้างกระดูกให้แข็งแรงในช่วงวัยรุ่น

  1. ทองแดง   จำเป็นสำหรับการเสริมสร้างกระดูก
  2. แมงกานีส   มีบทบาทในขบวนการซ่อมแซมกระดูก
  3. แมกนีเซียม   จำเป็นในการทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง
  4. โบรอน   ช่วยควบคุมการใช้ประโยชน์จากแคลเซียมของร่างกาย
  5. วิตามินดี   มีหน้าที่ในการช่วยดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้เข้าสู่ร่างกาย
  6. สังกะสี   จำเป็นสำหรับการพัฒนาของกระดูก 

2. เล่นกีฬา ออกกำลังกาย คือปัจจัยที่สำคัญมากอีกข้อหนึ่ง ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และจะทำให้ไปกระตุ้นการสร้างกระดูก ควรเป็นกีฬาที่มีการกระโดด และการออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนักที่เท้า เช่น กระโดดเชือก  บาสเก็ต บอล  วอลเล่บอล  วิ่ง ฟุตบอล  แบดบินตัน และ แอโรบิก เป็นต้น  การออกกำลังกายประเภทนี้ จะเป็นการส่งแรงกระตุ้นไปที่แผ่นความเจริญเติบโตของกระดูก  ซึ่งจะมีอยู่ บริเวณปลายกระดูกแต่ละท่อน  จึงช่วยทำให้ในช่วงที่ร่างกายยังมีการเจริญเติบโตอยู่นี้ สูงขึ้นได้เร็วกว่าปกติ 

3. การนอนหลับ (ลึก) เชื่อมโยงกับฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อความสูงของคน เช่น โกรธฮอร์โมน (Growth Hormone) ซึ่งมีหน้าที่กระตุ้นการทำงานของกระดูกทำให้กระดูกขยายตัวในแนวยาว ฮอร์โมนไทร็อกซิน (Thyroxin)ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นให้กระดูกมีการพัฒนาไปตามปกติ ฮอร์โมนเพศชาย (Androgen) และฮอร์โมนเพศหญิง (Estrogen) เป็นต้น

 

 

[ads=center]

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: