การสัมภาษณ์งานแบบไหนที่เราจะรู้ได้ว่า รับ/ไม่รับ เราเข้าทำงาน?





เพราะใครก็อยากได้งาน อยากเป็นตัวจริงในการทำงานทั้งนั้น รอบสัมภาษณ์แต่ละคนจึงงัดกลเม็ดต่างๆ ออกมาเพื่อแสดงให้เห็นว่า 'เลือกฉันสิ ฉันนี่แหละเหมาะสมที่สุด' กรรมการที่สัมภาษณ์คุณเขามีคำตอบในใจอยู่แล้วว่าจะเลือกใคร แต่คนที่ถูกสัมภาษณ์ล่ะ รู้รึเปล่าว่าตัวเองมีโอกาสได้งานนั้นมากแค่ไหน ?
 

บางครั้งประวัติที่เรากรอกไปในใบสมัคร เช่น เกรดเฉลี่ย, สถาบันการศึกษา, ชื่อคนที่รู้จัก ฯลฯ ถึงจะมีส่วนต่อการคัดคนเข้าทำงาน ก็ไม่ใช่ด่านชี้ชะตาขั้นสุดเสมอไป ยังเหลือการสัมภาษณ์และวิจารณญาณของผู้มีอำนาจสูงสุดในบริษัท
 

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ภาพประกอบจาก www.lifehack.org

 

1. งานราชการ : หากสอบข้อเขียนผ่าน น้อยคนที่จะไม่ผ่านรอบสัมภาษณ์ เพราะสอบสัมภาษณ์มันก็เพียงแค่ขั้นตอนที่เขาก็แค่อยากทำความรู้จักกับความจริงเราในเบื้องต้นแค่นั้น

2. งานที่ไม่ใช้ทักษะขั้นสูงอะไรมาก เช่น พนักงานเฝ้าร้าน, พนักงานแคชเชียร์, กรรมกรชั่วคราว : มีโอกาสรับเข้าทำงานทันที 80% เพราะมันเป็นงานง่ายๆ ใช้แค่แรงงาน ความใส่ใจ และจิตบริการที่ดีกับลูกค้า (ในกรณีที่เป็นงานค้าขาย พบปะกับผู้คนทั่วไป) สิ่งที่ทำให้คุณพลาดงานมีเพียงแค่เหตุผลไม่กี่อย่าง ไม่เพราะคุณมาช้าไป อัตราจ้างเลยเต็ม ก็เป็นเพราะคุณทำกริยาบางอย่างไม่ดีกับนายจ้างแต่แรกพบ เช่น แต่งตัวไม่สุภาพ, พูดจาไม่ดี, เล่นตัวเหมือนนายจ้างต้องง้อคุณ

3. หากเราเป็นคนเรียกเงินเดือนก่อน : โอกาสได้งานมีเพียง 10% หรือไม่มีโอกาสเลย เพราะนายจ้างส่วนใหญ่มักจะมองว่าคนที่กล้าเรียกเงินเดือน เป็นคนที่เห็นแก่เงิน ขาดการเคารพความสามารถตัวเอง ขาดการเคารพการตัดสินใจของนายจ้าง คุณควรเว้นคำตอบข้อนี้ไว้ในใบสมัคร หรือหากถูกถามปากเปล่า คุณควรบอกนายจ้างเสียก่อนว่า 'คุณทำอะไรเป็นบ้าง?' ยิ่งละเอียด ยิ่งหลากหลาย ยิ่งมีผลต่อการตัดสินใจของนายจ้าง เพราะหากลองคิดในมุมกลับกัน สมมติว่าคุณเป็นนายจ้าง การจ้างคนที่ไม่รู้ว่าความสามารถมีอะไรบ้าง หรือมีน้อยเกินไป มันก็ไม่คุ้มค่าจ้างหรอกจริงมั้ย ?

4. หากนายจ้างสัมภาษณ์แล้วให้โอกาสเราไปทำผลงานบางอย่างมา : เช่น ตำแหน่งนักเขียน ให้โอกาสคุณไปเขียนงานชิ้นใหม่แล้วส่งเข้าอีเมล์บริษัทอีกครั้ง มีโอกาส 50% ที่คุณจะได้งาน โอกาสที่จะไม่ได้งานมันก็เพียงแค่คุณทำดีที่สุดแล้วแต่ยังไม่ตอบโจทย์ของนายจ้างมากพอ หรือไม่ก็คุณไม่ส่งผลงานไปให้เขาพิจารณา ก็แค่นั้นเอง

5. หากนายจ้างพูดว่า "เดี๋ยวเราจะติดต่อกลับไป" : โอกาสได้งาน 50% เช่นกัน เพราะการที่เขาตอบมาเช่นนั้น เป็นไปได้ 2 อย่าง
– บริษัทนั้นมีภารกิจเยอะจริง ผู้สมัครก็หลากหลายจนเลือกไม่ถูก เขาจึงต้องขอเวลาในการคัดคนแบบคัดแล้วคัดอีก เพื่อให้ตอบโจทย์บริษัทที่สุด
– บริษัทนั้นคนที่สัมภาษณ์คิดเพียงแค่ว่า 'นี่แหละคือคำตอบกลางๆ และสุภาพที่สุด' เขามีเวลาที่จะบอกคุณอย่างเร็วที่สุดว่าคุณได้หรือไม่ได้งาน แต่กลับไม่กล้าบอกตามตรงแค่นั้นเอง 

6. หากคุณกับนายจ้างสัมภาษณ์งานในบรรยากาศสนุกๆ ค่อนข้างเป็นกันเอง : โอกาสได้งานเป็นไปได้ถึง 80% เพราะนายจ้างรู้สึกถูกคอกับเรา แต่เราก็ต้องมีคุณสมบัติที่พร้อมสำหรับตำแหน่งที่สมัครด้วย มิเช่นนั้น เราก็จะได้เพียงมิตรภาพกลับไป แต่ไม่ได้โอกาสเป็นครอบครัวเดียวกัน

7. หากคนที่สัมภาษณ์คุณขอคุยกับเจ้านายก่อน : มีโอกาสที่คุณจะได้งาน 60% เพราะคนที่สัมภาษณ์เขาก็สนใจคุณ เพียงแต่คุณสมบัติที่เด่นๆ ของคุณบางอย่างมันก้ำกึ่ง ไม่แน่ใจว่าจะได้หรือไม่ เพราะเขาไม่มีอำนาจในการตัดสินใจได้เต็มที่ก็เท่านั้น (เขาอาจเป็นแค่หัวหน้าแผนก หรือตัวแทนของเจ้าของบริษัท ไม่ใช่เจ้าของบริษัทจริงๆ)

อย่างไรก็ดี นี่เป็นเพียงสิ่งที่คนส่วนใหญ่มักจะเจอก็เท่านั้น มันอาจมีรายละเอียดปลีกย่อยกว่านั้นที่มีส่วนสำคัญในการรับคนเข้าทำงาน หรือไม่ก็คนที่สัมภาษณ์คุณอาจคิดไม่เหมือนคนทั่วไป ถ้าคุณทำดีที่สุดแล้วก็ไม่ต้องเสียใจหากว่าสุดท้ายเขาไม่ตอบรับคุณ เพราะโลกของงานก็เหมือนกับความรักประการหนึ่ง พบกันแล้ว 'ใช่' รึเปล่า ก็เท่านั้นเอง
  

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: