‘จิตแพทย์’ แนะวิธีปลอบ”เด็กน้อย”อย่างถูกวิธีในวันที่สูญเสีย!!





   วงการบันเทิงไทยมีข่าวร้ายอีกครั้ง เมื่อพระเอกหนุ่ม ปอ ทฤษฎี สหวงษ์ ที่เข้ารับการรักษาโรคไข้เลือดออกชนิดรุนแรงที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ตั้งแต่วันที่ 9 พ.ย. 58 ก่อนที่ล่าสุดพระเอกหนุ่ม มีภาวะปอดขวาที่ติดเชื้อลุกลาม ทำให้อาการทรุดตัวมาโดยตลอด จนไม่สามารถตอบสนองต่อการรักษาได้ จนท้ายที่สุด แพทย์ไม่อาจยื้อชีวิตไว้ได้ หนุ่มปอเสียชีวิตลงอย่างสงบในวันที่ 18 ม.ค. 59 เวลา 11.50 น.

 

[ads]

 

   นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต ให้คำแนะนำเรื่องของเด็กว่า ด็กวัย 2 ขวบนั้น จะยังไม่สามารถเข้าใจความหมายของการเสียชีวิตได้ โดยจะรับรู้ว่าการเสียชีวิตคืออะไรช่วงขึ้นชั้นประถมศึกษา ซึ่งเด็กจะรับรู้ไม่ต่างกับการที่พ่อนอนหลับ จะสังเกตได้จากเมื่อตอนที่พ่อเข้าโรงพยาบาลทุกคนมีความเศร้าโศก แต่เด็กจะวิ่งเล่นร่าเริง เนื่องจากเด็กยังไม่รู้ว่าการเจ็บป่วย หรือ เสียชีวิตไปแล้ว เป็นอย่างไร แต่หากครอบครัวดูแลเด็กได้ดี เด็กก็จะสามารถจับสังเกตได้ว่า ทำไมแม่ร้องไห้ ทำไมคนในครอบครัวร้องไห้ แต่ยังเชื่อมโยงสภาวะการเสียชีวิตหรือพรากจากได้ไม่ชัดเจน

NjpUs24nCQKx5e1D7jQK6dFN7QegFeoSMDBOejnZAj9

ภาพ:http://www.thairath.co.th

   นพ.ทวีศิลป์ จึงแนะนำว่า ครอบครัวควรจะบอกไปตามความจริงว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะการบอกออกไปตรงๆ ด้วยความจริงถึงแม้ว่าตัวเด็กจะไม่เข้าใจ แต่วันหนึ่งเด็กก็จะรับรู้ได้ว่า การเสียชีวิต คือ การที่ไม่สามารถจะกลับมาได้อีกแล้ว ร่างกายที่เคยเห็น ปฏิสัมพันธ์ที่เคยมีจะไม่มีอีกแล้ว แต่เด็กเองก็รับรู้ไม่ได้ และจะเกิดความสงสัยอีกว่า “เมื่อไหร่พ่อจะกลับมา ตื่นขึ้นมาแล้วทำไมพ่อยังไม่มา วันนี้ทำไมไม่เจอพ่อ พ่อไปไหน” ซึ่งครอบครัวจะได้ยินคำถามแบบนี้ซ้ำๆ แต่เมื่อเด็กโตขึ้นก็จะเข้าใจ

   ด้าน นพ.ชิโนรส ลี้สุวรรณ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวไปในทิศทางเดียวกันว่า สำหรับการเยียวยาสภาพจิตใจของเด็กนั้น โดยทั่วไปแล้ว เด็กวัย 2 ขวบ จะเป็นวัยที่ไร้เดียงสาอยู่ เพราะฉะนั้นเด็กวัยนี้จะยังไม่เข้าใจว่า การเสียชีวิต หรือการจากลานั้นคืออะไร ซึ่งเด็กจะคิดว่า พ่อเขานอนหลับเท่านั้นเอง ฉะนั้น วิธีการที่คนรอบข้างหรือคนใกล้ชิด จะบอกให้เด็กวัยนี้รับรู้ ก็คือ การบอกให้เขารู้ว่า พ่อเขาไปอยู่บนฟ้าหรือสวรรค์แล้ว ดังนั้น เด็กวัยนี้ จะไม่ได้รับความกระทบกระเทือนทางสภาพจิตใจมากนัก

 

[ads=center]

 

ขอบคุรเนื้อหาจาก:www.thairath.co.th

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: