จริงรึเปล่า? เอาพลาสเตอร์แปะทับสะดือแล้วหายเมารถ !





ถ้าต้องโดยสารรถขึ้นเขาลงดอยหลายโค้งหักศอกมากๆ เกร็ดที่หลายคนพอจะได้ยินมาบ้างก็คือให้เอาพลาสเตอร์แปะสะดือไว้จะได้ป้องกันอาการเมารถ จริงเท็จแค่ไหน มีเฉลยแล้วในกระทู้ http://pantip.com/topic/34611029
 

Sparadrap_2

ภาพประกอบจากเว็บไซต์ en.wikipedia.org
 

อาการเมารถเกิดจากประสาทการทรงตัวทำงานได้ไม่สมดุลจากการที่ถูกกระตุ้นมากเกินไป เช่น รถโคลงไปมา เบรครถบ่อยๆ เกิดการกระแทก ยิ่งคนที่มีความรับรู้ไวเป็นพิเศษยิ่งเกิดอาการได้ง่าย หรือถ้าจะพูดโดยสรุปก็คือ อาการเมารถเป็นเรื่องธรรมดามากๆ ที่ทุกคนเป็นกัน แต่จะมากหรือน้อย ขึ้นกับความไวของสัมผัสโดยส่วนตัว

 
วิธีบรรเทา ( ไม่ได้แก้ให้หาย100% ) มีอยู่ไม่กี่อย่าง
– ไปนั่งตรงที่รถมีการสะเทือนน้อย โดยบริเวณด้านหน้าของรถจะสะเทือนน้อยกว่าด้านหลัง 
– เลือกที่นั่งที่มองทิวทัศน์ใกล้ๆ ได้ยิ่งดี เพราะจุดนี้เป็นจุดที่ประสาทตารับภาพได้ตรงกับสมอง การทำงานของระบบประสาททำงานได้สัมพันธ์กันดี ต่างจากตำแหน่งที่เป็นมุมอับที่ประสาทตาและประสาทหูจะสับสน ( เขาถึงแนะนำไงว่าถ้าเริ่มรู้สึกเมารถ ให้มองออกไปดูวิวนอกรถไกลๆ )
– สวมแว่นดำเพื่อลดการมองเห็นและแสงที่เป็นปัจจัยให้เมารถง่ายขึ้น
– ไม่ฟังเพลง เพื่อลดอาการสับสนของประสาทหู เพราะหูก็คืออวัยวะที่รักษาการทรงตัวของร่างกาย ควรปล่อยให้โล่ง เป็นอิสระจะดีกว่า
– ทานอาหารแค่พอรองท้อง การทานให้อิ่มมากหรือปล่อยให้ท้องว่างเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อาเจียนง่าย
– ควรเปิดหน้าต่างรถเพื่อให้อากาศภายนอกเข้ามา ( ถ้ารถสามารถเปิดกระจกได้ ) ซึ่งมันดีกว่าการดมยาหม่องหรือยาดมเสียอีก
– ทานยาแก้เมารถก่อนขึ้นรถ
– หลับระหว่างโดยสารรถได้ยิ่งดี เพราะนี่คือการปิดประสาทการรับรู้ทั้งหูและตาไม่ให้รู้สึกรวน วิงเวียน

 

ดังนั้น ถ้าต้องเดินทางไกล โดยสารรถขึ้น-ลงภูเขาสูง พลาสเตอร์ไม่ได้ช่วยอะไร อาจเป็นไปได้ว่าเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งที่ดึงความสนใจให้ผู้เดินทางฝากความหวังไว้กับพลาสเตอร์ก็แค่นั้น

 


ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ http://pantip.com/topic/34611029

เรียบเรียงใหม่โดย Thaijobsgov

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: