ระวัง! โรคที่ถูกลืม…ปัสสาวะบ่อยมากแค่ไหนถึงเรียกว่า ‘ผิดปกติ’





เคยนับไหมค่ะว่าใน 1 วันคุณปัสสาวะไปกี่ครั้ง? และเข้าขั้นบ่อยเกินไปหรือไม่?  เพราะอาการที่เราปัสสาวะบ่อยเกินไปสามารถนำพาโรคร้ายมากมายมาสู่คุณได้แบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว วันนี้เรามาศึกษาเรื่องนี้กันให้ลึกซึ้งสักหน่อยดีกว่าค่ะ

535.1

ปัสสาวะบ่อยแค่ไหนถึงเรียกว่า “ผิดปกติ”
สำหรับคนปกติ…คนเราจะปัสสาวะตอนกลางวันประมาณ 3-5 ครั้ง และตอนเย็นถึงก่อนนอนอีกประมาณ 1-2 ครั้ง หลังจากนั้นก็จะนอนต่อเนื่องได้นาน 8 ชั่วโมง โดยไม่ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะเลย 

ทั้งนี้เนื่องจากตามปกติกระเพาะปัสสาวะของเราจะเก็บน้ำปัสสาวะไว้ได้ประมาณ 150 ซีซี จึงจะรู้สึกปวดปัสสาวะ แต่ในขณะหลับก็จะเก็บน้ำปัสสาวะได้มากขึ้น ในขณะเดียวกัน ไตก็จะกลั่นปัสสาวะได้น้อยลงด้วย หากท่านใดมีปัญหาการปัสสาวะบ่อยครั้งในตอนกลางคืน แสดงว่ากำลังแสดงสัญญาณที่บ่งบอกว่า ไตของคุณกำลังมี “ปัญหาบางประการ” แล้วละค่ะ

 


ปัสสาวะบ่อยครั้งเกี่ยวข้องกับไตอย่างไร
เพราะไตทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกาย และทำหน้าที่ควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ โดยมีกระเพาะปัสสาวะเป็นเครื่องมือในการกักเก็บน้ำปัสสาวะเอาไว้ เมื่อไตอ่อนแอลง น้ำจะไหลล้นไปอยู่ในช่องท้องและใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการบวมน้ำ ในขณะเดียวกัน ระบบการเปิดปิดกระเพาะปัสสาวะก็จะทำงานผิดปกติไปด้วย ทำให้เกิดอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่นั่นเอง

ในขณะที่บางคนอาจจะสงสัยว่า ที่ตนเองปัสสาวะบ่อยเป็นเหตุผลมาจากการดื่มน้ำมากเกินไปหรือเปล่า? เพราะเมื่อดื่มน้ำเข้าไปมาก ไตก็จะขับน้ำออกมามากด้วย แต่ในความเป็นจริงแล้วภาวะการปัสสาวะเพราะการดื่มน้ำเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ชั่วคราวเท่านั้น  และจะต้องไม่มีอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย ขี้หนาว หรืออาการภูมิแพ้ร่วมด้วย

ดังนั้น หากท่านใดที่มีอาการปัสสาวะบ่อยเป็นประจำร่วมกับอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้สันนิษฐานไว้ได้เลยว่ามีสาเหตุจาก “ภาวะไตอ่อนแอ” ต่างหาก

 

[ads]


สาเหตุใดทำให้ไตเสื่อมเร็วกว่าปกติ
โดยปกติแล้ว ร่างกายของเราจะเสื่อมลงตามวัย โดยไตจะเริ่มเสื่อมลงตั้งแต่อายุ 30 ปีเป็นต้นไป ซึ่งมีปัจจัยที่ทำให้ไตเสื่อมลง ดังต่อไปนี้
1.กรรมพันธุ์ ไตของคุณอาจจะอ่อนแอมาตั้งแต่เกิดแล้ว ซึ่งมีเหตุผลมาจากความไม่แข็งแรงของพ่อแม่  การมีลูกตอนอายุน้อยหรือมากเกินไป การมีลูกหลายคน  หรือการคลอดก่อนกำหนด เป็นต้น

2.การมีเพศสัมพันธ์มากเกินควร ไตอาจจะสูญเสียพลังไปกับกิจกรรมแบบนี้ เพลาๆบ้างก็ดีนะคะ
3.ประสบอุบัติเหตุ อวัยวะภายในโดยเฉพาะไตถูกกระทบกระเทือน
4.อดหลับอดนอน เนื่องจากทำงาน อ่านหนังสือ เล่นเกม หรือดูทีวีแบบหามรุ่งหามค่ำ
5.โรคเรื้อรังต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง มะเร็ง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต วัณโรค หน่วยไตอักเสบ กรวยไตอักเสบ SLE ฯลฯ
6. ผลข้างเคียงจากการใช้สารเคมี เช่น ยาแก้ปวด ยารักษาสิว ยาคุมกำเนิด ยาปฏิชีวนะ ยาลดความดัน ยาลดความอ้วน ยาฮอร์โมน มลภาวะเป็นพิษ สารโซเดียมในอาหารหรือขนมขบเคี้ยว  ยาฆ่าแมลง อาหารทะเลแช่ฟอร์มาลิน  ผงชูรส ผงฟู  สีผสมอาหาร เป็นต้น  
 


วิธีการบำบัดตามทฤษฎีแพทย์แผนจีน

หลักการแพทย์ตะวันตกจะต้องตรวจสภาพการทำงานของไตจากค่า BUN และ Creatinine  ที่เสียไปมากกว่า 70% ก่อน จึงจะแสดงว่า “ไตเสื่อม” ลงแล้ว ซึ่งหากรอจนถึงวันนั้นอาจรักษาไม่ทันการได้
ในทางตรงกันข้าม การแพทย์จีนจะว่าการรักษาอาการเช่นนี้ ควรที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันให้ถูกสุขลักษณะ เช่น หลีกเลี่ยงมลภาวะเป็นพิษ ลดการบริโภคอาหารหรือขนมขบเคี้ยวที่มีเกลือโซเดียมสูง  ลดความเสี่ยงจากการได้รับยาฆ่าแมลง หลีกเลี่ยงผงชูรส ผงฟู หรือสีผสมอาหาร เป็นต้น  ที่สำคัญควรรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ อย่าปล่อยให้อาการบานปลายจนรักษาไม่ทัน

วิธีการรักษาของการแพทย์จีนจึงเน้นการบำรุงรักษาไตเป็นหลัก เพื่อบำบัดหลายๆ อาการของภาวะไตอ่อนแอ  เมื่อไตแข็งแรงขึ้น อาการปัสสาวะบ่อยและอาการอื่นๆ ของภาวะไตอ่อนแอก็จะค่อยๆทุเลาลง หรือหายไปในที่สุด

ใครจะคิดละค่ะว่า แค่ลุกขึ้นมาปัสสาวะบ่อยๆ จะกลายเป็นเรื่องใหญ่โตและนำโรคภัยมาสู่เราได้มากขนาดนี้ หากเริ่มรู้ตัวแล้วก็ควรเปลี่ยนความคิดเสียตั้งแต่ตอนนี้ และรีบเข้ารับการแก้ไขโดยด่วน เรื่องหนักจะได้กลายเป็นเบาไปได้ในที่สุด
 

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก forrunnersmag.com

เรียบเรียงข้อมูลโดย ThaiJobsGov.com

[ads=center]

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: