หมอแล็บแจง ไม่น่าเป็นไปได้หลังสาวโพสต์ ฉีดไฟเซอร์สองเข็มท้อง ทั้งที่กินยาคุม





หมอแล็บแพนด้า โพสต์ชี้แจง หลังผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งโพสต์ ฉีดไฟเซอร์สองเข็มท้อง ทั้งที่กินยาคุม เผยยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันได้ว่าเป็นเรื่องจริง

จากกรณีที่มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งออกมาโพสต์ข้อความหลังจากที่ตนเองได้รับวัคซีนไฟเซอร์ครบจำนวน 2 เข็ม แล้วประจำเดือนไม่มาจึงตรวจครรภ์แล้วพบว่าขึ้นสองขีดจางๆ โดยเธอระบุว่า “ฉีดไฟเซอร์เข็มสองแล้วประจำเดือนขาด 1 วันเลยตรวจพบว่า 2 ขีด เป็นฮอร์โมน หรือท้องจริงๆ คะ ปกติกินยาคุมอยู่ ตรวจเมื่อวันที่ 17/11/64 ซื้อที่ตรวจครรภ์มา ผ่านชอปปี้ขึ้น 2 ขีด 3 อันเลยค่ะ แต่จางๆ”

เกี่ยวกับเรื่องราวข้างต้น นักเทคนิคการแพทย์ชื่อดังภายใต้ชื่อ หมอแล็บแพนด้า ได้โพสต์ข้อความชี้แจงโดยระบุว่า อันนี้ไม่น่าเป็นไปได้ครับ ฉีดวัคซีนแล้วท้องทั้งๆ ที่กินยาคุม ส่วนใหญ่จะกังวลเรื่องวัคซีนทำให้มีลูกยากซะมากกว่า

ประเภทของวัคซีนมี 4 ชนิด

1. วัคซีนชนิดสารพันธุกรรม ได้แก่ วัคซีนดีเอ็นเอ (DNA) หรือเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA)
2. วัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Recombinant viral vector vaccine)
3. วัคซีนที่ทำจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ (Protein subunit vaccine)
4. วัคซีนชนิดเชื้ออตาย (Inactivated vaccine)

วัคซีนแต่ตัวจะมีวิธีที่จะจัดการไวรัสโควิด ในวิธีที่แตกต่างกันออกไป แต่สุดท้ายวัคซีนทุกตัวจะมีหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัส ซึ่งจะไปจัดการกับตัวโปรตีนเฉพาะบางตัวที่ประกอบอยู่ในไวรัส พอพูดถึงโปรตีน ก็กลัวกันว่าวัคซีนจะเข้าไปจัดการกับ “syncytin-1” ซึ่งเป็นโปรตีนที่จำเป็นสำหรับการสร้างรก และมีส่วนช่วยในการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์

โปรตีนตัวนี้ไม่ได้เป็นส่วนประกอบของไวรัสโควิดเลยครับ การฉีดวัคซีนแล้วจะทำให้มีลูกยากจึงไม่มีหลักฐานการทางแพทย์ว่าเป็นเรื่องจริง แล้วถ้ายิ่งฉีดวัคซีนจะไปส่งผลต่อยาคุม ทำให้ตั้งครรภ์ทั้งๆที่เราคุมกำเนิด อันนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการเหมือนกัน

ถ้ามีโอกาสได้รับวัคซีนป้องกันโควิดก็ควรฉีดครับ

โปรตีนตัวนี้ไม่ได้เป็นส่วนประกอบของไวรัสโควิดเลยครับ การฉีดวัคซีนแล้วจะทำให้มีลูกยากจึงไม่มีหลักฐานการทางแพทย์ว่าเป็นเรื่องจริง แล้วถ้ายิ่งฉีดวัคซีนจะไปส่งผลต่อยาคุม ทำให้ตั้งครรภ์ทั้งๆที่เราคุมกำเนิด อันนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการเหมือนกัน

ถ้ามีโอกาสได้รับวัคซีนป้องกันโควิดก็ควรฉีดครับ

 

ข่าวจาก : brighttv

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: