#เรียกเงินคืนโครงการรัฐ พุ่งติดเทรนด์ทวิต ร้านค้าเจอหมายเรียกคืนเงิน ยอดสูงสุด 17 ล้าน





#เรียกเงินคืนโครงการรัฐ พุ่งติดเทรนด์ทวิต หลังร้านค้าเจอหมายเรียกคืนเงิน ยอดสูงสุด 17 ล้าน

ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า ในเว็บไซต์ทวิตเตอร์เกิดกระแส #เรียกเงินคืนโครงการรัฐ พุ่งติดเทรนด์ทวิตเตอร์โดยในช่วงเวลาหนึ่งพุ่งขึ้นไปถึงอันดับ 1 โดยเรื่องราวเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการหลายรายที่เข้าร่วมโครงการเยียวยาของรัฐ ได้รับหมายเรียกจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เพื่อเรียกเงินคืนเนื่องจากไม่ปฏิบัติตาม หรือฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขของโครงการ โดยหลายรายถูกเรียกเงินคืนหลักล้านบาท โดยให้เวลา 30 วันในการส่งมอบเงินคืน

รายงานข่าวระบุว่า กลุ่มผู้ที่ได้รับหมายเรียกเงินคืนจะเป็นกลุ่มร้านที่รับแลกเงินสด และร้านค้าออนไลน์ ยอดสูงสุดที่มีการเรียกเงินคืนสูงถึง 17 ล้านบาท โดยให้เวลาอุทธรณ์ 15 วัน หลังได้รับเอกสารเรียกเงินคืน

รายงานข่าวระบุว่า เสียงเรียกร้องที่เกิดขึ้นใน #เรียกเงินคืนโครงการรัฐ นั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะรัฐเรียกคืนเงินโดยรวมต้นทุนของร้านเข้าไปด้วย ซึ่งผู้ได้รับหมายเรียกมองว่าไม่ยุติธรรมควรเรียกคืนเฉพาะส่วนที่รัฐอุดหนุนมาเท่านั้น ขณะที่หมายเรียกเงินคืนนั้นไม่ได้ระบุรายละเอียดว่าทำผิดเงื่อนไขอย่างไรจะได้อุทธรณ์ให้ถูกจุดเป็นต้น ขณะที่บางส่วนระบุว่าเป็นการกระทำของภาครัฐที่ซ้ำเติมประชาชน

นอกจากนี้ ยังมีการเรียกเงินคืนกรณีที่มีการสแกนข้ามจังหวัดซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่โควิด-19 ระบาดอย่างหนักต้องมีการประกาศล็อกดาวน์ ส่วนพ่อค้าแม่ค้าหันมาขายของออนไลน์มากขึ้น ขณะที่การแลกเป็นเงินสดนั้น เนื่องจากประชาชนไม่ได้มีแค่ค่าอาหารที่ต้องใช้จ่ายอย่างเดียว แต่ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ด้วยที่ไม่สามารถสแกนจ่ายด้วยโครงการของรัฐได้ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม มีหลายความเห็นที่มองว่า การทำผิดกฎก็คือ การทำผิดกฎ ไม่ควรทำผิดกฎตั้งแต่แรก และหากระบบโครงการของรัฐไม่ได้ช่วยเหลือประชาชนได้จริงก็ควรจะไปเรียกร้องให้แก้ไขระบบตั้งแต่แรก ไม่ใช่เข้าสู่ระบบแล้วทำผิดกฎที่รัฐวางไว้

 

ข่าวจาก : มติชน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: