ดราม่าท้องถิ่น? “ชำนาญ”ข้องใจ นายอำเภอใช้อำนาจอะไร เซ็นโดดๆตั้งอปท.ไปเข้าเวร





ดราม่าท้องถิ่น? “ชำนาญ”ข้องใจ นายอำเภอใช้อำนาจอะไร เซ็นโดดๆตั้งอปท.ไปเข้าเวร

เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม นายชำนาญ จันทร์เรือง อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ปัจจุบันเป็นกรรมการบริหารคณะก้าวหน้า เขียนข้อความทางเฟซบุ๊กแสดงความเห็นถึงคำสั่งนายอำเภอเมืองเชียงใหม่ ตั้ง เจ้าหน้าที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ไปเข้าเวรท่าอากาศยานเชียงใหม่ โดย ระบุว่า

“พี่น้องชาว อปท.ถามผมมาว่านายอำเภอใช้อำนาจอะไรไปออกคำสั่งแต่งตั้งเขา ในความเห็นผมคิดว่าคงใช้อำนาจตามพรบ.โรคติดต่อฯ ซึ่งในระดับจังหวัดก็คือผู้ว่าฯในฐานะผอ.จว. แต่ผมไม่คิดว่าจะมีการมอบอำนาจส่วนนี้ให้นายอำเภอน่ะครับ ใครที่อยู่ในกรมการปกครองหรือกระทรวงมหาดไทยช่วยตอบทีครับ แต่ที่แน่ๆตำแหน่งนายอำเภอโดดๆเซ็นคำสั่งนี้ไม่ได้แน่นอน แต่ถ้าในฐานะอื่นควบคู่ไปด้วยก็ว่าไปอีกอย่าง อนึ่ง การอ้างถึงมติคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดฯว่าเห็นชอบให้ที่ทำการปกครองอำเภอฯดำเนินการ นั่น ไม่ได้หมายความว่านายอำเภอจะมีอำนาจออกคำสั่งให้อปท.มาเข้าเวรได้ เพราะนายอำเภอมิใช่ผู้บังคับบัญชาหรือต้นสังกัดของอปท.น่ะครับ”

ปลัดอำเภอแห่งหนึ่ง จ.เชียงใหม่ เข้ามาตั้งคำถาม ระบุว่า “บุคคลที่ถูกแต่งตั้งคือปลัด อปท. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ นายอำเภอเลยตั้งตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พรบ.แผ่นดิน และคำสั่งศปก.ตำบล ออกตามพรบ.โรคติดต่อ ประมาณนี้ครับ เป็นเจ้าหน้าที่รัฐควรต้องรู้กฎหมายที่กำหนดหน้าที่ไว้ให้ปฏิบัติราชการ หากไม่รู้กฎหมายก็ไม่รู้บทบาทและหน้าที่ อาจทำไม่ถูกต้องตามหน้าที่และอาจต้องหาว่าไม่ทำหน้าที่ได้ ส่วน .จนท.ในสังกัดอปท นั้น ก็เป็นหน้าที่ของ ปลัด ที่เป็น จพง.ควบคุมโรคจะแต่วตั้งให้มาทำหน้าที่ข่วยเหลือ จพง. สรุปคือ ภายใต้กฎหมายฉุกเฉิน นายอำเภอมีอำนาจควบคุมสั่งการได้ตามเหมาะสมจำเป็นของสถานการณ์ในพื้นที่อำเภอ”

ทำให้ นายชำนาญ เข้าไปตอบคำถามชี้แจง ระบุว่า “ตำแหน่งนายอำเภอ(เฉยๆ)เซ็นไม่ได้ครับ ต้องบอกด้วยว่าเซ็นในฐานะอะไรน่ะครับ เช่น ผอ…/ลองไปดูคำสั่งที่ผู้ว่าเซ็นสิครับจะต้องมีตำแหน่งผอ.ฯควบคู่ไปทุกครั้งน่ะครับ/ถ้าจะอ้างกฎหมายต้องอ้างบทบัญญัติด้วยครับ อ้างลอยๆไม่ได้ครับ”

…..คำสั่งฉบับนี้ นายอำเภอเซ็นแต่งตั้งและมอบหมายงาน ให้แก่ บุคลากร ขององค์กรอื่นๆ ที่มิใช่องค์กรในสังกัดของอำเภอ และมิได้เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของนายอำเภอ ให้ไปทำงานนอกที่ตั้งสำนักงาน ในเวลา ๐๗.๐๐ น.- ๒๓.๐๐ น. ทุกวัน ตั้งแต่วันที่ ๑ ต.ค.-๓๑ ต.ค.๒๕๖๔ จำนวนทั้งสิ้นประมาณ ๖๐ คน (ตามเอกสารแนบท้ายคำสั่งนี้ ซึ่งผมเห็นว่าไม่ต้องนำมาโพสต์ ประกอบด้วยปลัด อปท.๑๐ คน และ เจ้าหน้าที่ อปท.อีก ๕๐ คน)

…….มีข้อสังเกตในเชิงวิชาการตามหลักการปกครองท้องถิ่น ดังนี้

……๑. เป็นคำสั่งไม่อ้างฐานอำนาจว่าอาศัยอำนาจตามกฎหมาย หรือระเบียบใด จึงเป็นรูปแบบคำสั่งที่ไม่เป็นไปตาม พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙

….๒. ขอถามนายอำเภอว่า อาศัยอำนาจตามกฎหมายใด ในการแต่งตั้งและมอบหมายงานให้ เจ้าหน้าที่ เทศบาล อบต. ซึ่งไม่ใช่หน่วยงานในสังกัดของอำเภอ และเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมิใช่ผู้ใต้บังคับบัญชาของนายอำเภอแต่อย่างใด

……ถ้าอ้าง พรบ.ควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๕๘ มาตรา ๓๗ คนลงนามต้องเป็นผู้ว่า และในคณะที่แต่งตั้ง ต้องมีเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และการสาธารณสุข ด้วย

…..๓. คำสั่งนี้ นายอำเภอ สั่งให้ปลัด อบต.และเจ้าหน้าที่ อบต.ที่กำลังจัดเตรียมงานเลือกตั้ง ให้มาอยู่เวรทำหน้าที่ตามที่นายอำเภอมอบหมาย ทั้งไม่ได้มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมคณะทำงาน ให้ไปทำงานเสี่ยงติดเชื้อโควิด..ทั้งไม่อยู่ในฐานะที่จะให้คำแนะนำเรื่องโรคในลักษณะเดียวกับผู้มีวิชาชีพด้านงานสาธารณสุข เหมาะสมหรือไม่

……๔.ในคำสั่ง ไม่ปรากฏว่ามีเจ้าหน้าที่ปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของอำเภอ แม้แต่คนเดียว ที่จะสั่งให้มาร่วมเสี่ยงติดเชื้อโควิด กับเจ้าหน้าที่ อปท.ตามคำสั่งนี้..ดุลยพินิจในการออกคำสั่งทำไมจึงไม่พิจารณาแต่งตั้ง เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานและในบังคับบัญชาของตนเอง ทำไมจึงสั่งข้าม องค์กร ไปล้วงเอา เจ้าหน้าที่ของ อปท.ที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของนายก อปท.มาใช้งานแทน

……๕.การแต่งตั้งบุคลากรในสังกัด อบต.เทศบาล นายอำเภอจะต้องทำหนังสือขออนุญาตจาก นายก อปท.ก่อน..นายอำเภอได้ทำขอไปแล้วหรือยัง ..หรือว่าสั่งข้ามหน่วยงาน /สั่งข้ามหัวผู้บริหารท้องถิ่น ไปใช้ลูกน้องของเขาทำงานโดยตรง

……๖.ไม่ต้องกล่าวถึงกรณีไม่มีกฎหมายให้อำนาจ…แม้ในกรณีมีกฎหมายบอกให้ตั้งได้.. แต่การออกคำสั่งแบบนี้ นายอำเภอ ก็ยังต้องขออนุญาตจาก นายก อปท.ด้วย..และ นายก อปท.มีอำนาจที่จะไม่อนุญาตให้ นายอำเภอสั่งแต่งตั้ง หรือใช้งาน คนในบังคับบัญชาของตนเองได้เสมอ

….๗. การสั่งตั้งและมอบหมายงานเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นลักษณะนี้ หากเป็นเหตุทำให้ ราชการของเทศบาล และ อบต. ที่เป็นงานประจำ เกิดความล่าช้าเสียหาย และนายก อปท.เขาต้องรับผิดต่อประชาชน หรือถูกประชาชนฟ้องศาลปกครอง โดยหากข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า สาเหตุที่ล่าช้าเสียหายดังกล่าวเกิดจาก นายอำเภอออกคำสั่งนี้ ข้ามหัวผู้บริหาร อปท.มาเอาตัวเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นไปใช้งานของตน โดยไม่มีอำนาจ และไม่ได้รับอนุมัติจาก นายก อปท…ท่านนายอำเภอลองปรึกษานักกฎหมายดูว่า ผลจะเป็นอย่างไร..ท่านนายอำเภอจะโดนมาตรา ๑๕๗ ตามประมวลกฎหมายอาญา

 

ข่าวจาก : มติชน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: