ดูข้อกฎหมายชัดๆ! ปมดราม่าหลวงพ่อแบกเหรียญจ่ายค่าไฟไม่ได้ กฎหมายระบุชัด จ่ายได้แค่อัตราไหน “กันเจ้าหนี้โดนแกล้ง”





12 มิ.ย. โลกออนไลน์เกิดกระแสวิจารณ์อย่างหนัก ภายหลังจากที่แฟนเพจชื่อดังอย่าง@อยากดังเดี๋ยวจัดให้ Travel ได้ออกมาเผยข้อมูลระบุว่า “เห็นใจพระคุณท่าน แต่ถ้าตามกฏหมายจริงๆมีกำหนดไว้ว่า เหรียญกษาปณ์สามารถชำระหนี้ได้คราวละไม่เกินเท่าไร ตามแต่ละชนิดเหรียญนั้นๆ อยากให้หน่วยงานยกเว้นบ้างในบางกรณีนะ” พร้อมเผยเรื่องราวจาก พระครูปลัดบุญฤทธิ์ วิชฺชาธโร เจ้าอาวาสวัดนางพระยา ที่ได้เล่าเรื่องราวไว้ว่า “เช้านี้นำเหรียญมาจ่ายค่าไฟวัดนางพระยา ทีแรกไฟฟ้าไม่ยอมเอาเหรียญ บอกว่าจะเอาเหรียญแค่สองพัน แล้วจะให้วัดทำอย่างไรในเมื่อมีเหรียญ เพราะเงินที่ได้มาญาติโยมเขาทำบุญ”

วันนี้มาจ่ายค่าไฟฟ้าของวัด จำนวน 11,343.28 บาท แบ่งเป็น ธนบัตร 4,850 บาท เหรียญบาทเหรียญห้าเหรียญสิบ 6,200 บาท และเหรียญยี่สิบห้าและห้าสิบสตางค์ 253 บาท รวมจ่าย 11,343.82 บาท ส่วนเหรียญยี่สิบห้าและห้าสิบสตางค์ไฟฟ้าไม่เอา ท่านสงสัยว่ากฎหมายเขาออกกฎยกเลิกใช้เหรียญยี่สิบห้าสตางค์และเหรียญห้าสิบสตางค์แล้วหรือ ส่วนเหรียญบาททำไมจ่ายค่าไฟไม่ได้เหรอผู้บริหารไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนครศรีธรรมราชออกมาตอบท่านหน่อย “ไหนว่าชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย” โดยภายหลังจากที่เรื่องราวดังกล่าวเผยแพร่ออกไป ต่างมีชาวเน็ตเข้ามาวิพากษ์วิจารณ์เรื่องราวที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ “สำนักกฎหมาย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง” ได้ให้ความรู้ไว้ว่า “เหรียญกษาปณ์” เป็นเงินหน่วยย่อยที่สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ถึงแม้เหรียญกษาปณ์จะมีมูลค่า ไม่มากเท่ากับธนบัตรอีกทั้งมีขนาดเล็กและพกพายากกว่าธนบัตรแต่เหรียญกลับมีน้ำหนักมากกว่าธนบัตรเสียอีก เวลาเราชำระหนี้ ค่าสินค้าหรือบริการที่มีราคาค่อนข้างสูงเราก็มักนิยมใช้ธนบัตรมากกว่า เพราะถ้าหากเราชำระด้วยเหรียญสงสัยต้องพกเหรียญกันเป็นถุงเป็นถังกันเลยทีเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้ว เงิน ก็คือ เงิน ยิ่งถ้าในสมัยนี้แล้วไม่ว่าจะชำระด้วยเหรียญกษาปณ์หรือธนบัตรก็คงไม่มีใครปฏิเสธเงินอย่างแน่นอน



โดย “เหรียญกษาปณ์” เป็นเงินที่ชําระหนี้ได้ตามกฎหมายไม่เกินจํานวนที่กําหนดโดยกฎกระทรวง โดยเหรียญ 25 หรือ 50 สตางค์ ชำระได้ ไม่เกิน 10 บาท ,เหรียญ 1 บาท ไม่เกิน 500 บาท ,2 บาท ชำระไม่เกิน 500 บาท ,เหรีญ 5 บาท (โลหะขาวเคลือบไส้ทองแดง) ไม่เกิน 500 บาท และเหรียญ 10 บาท ชำระได้ไม่เกิน 1,000 บาท ส่วนสาเหตุของข้อกำหนดดังกล่าว มาจากการป้องกันการกลั่นแกล้งระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ในการชำระหนี้อีกด้วย

 



ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก อยากดังเดี๋ยวจัดให้ Travel, สำนักกฎหมาย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง, saranlaw

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: