ปวยเล้ง กินผิดวิธีมีสิทธิเป็น ‘นิ่ว’ ‘เก้าต์’ ได้สูง…แต่ยังดีที่มีวิธีแก้





ใครๆก็ทราบดีว่าการรับประทานผักเข้าไปแล้วจะมีประโยชน์ที่ดีต่อร่างกาย ไม่ว่าจะคุณจะรับประทานผักชนิดไหนก็ตาม ถ้าขึ้นชื่อว่าได้รับประทานมันเข้าไปแล้ว ก็น่าจะมีแต่ผลดีต่อร่างกายไม่ใช่หรือ? หากคุณคิดเช่นนั้น แสดงว่าคุณยังคิดไม่รอบด้านมากพอ เพราะการรับประทานผักบางชนิดก็อาจสร้างข้อเสียให้แก่ร่างกายได้ ซึ่งผักที่เราจะพูดถึงกันวันนี้มีทั้งประโยชน์และโทษไปในเวลาเดียว ผักชนิดนั้น ก็คือ “ผักปวยเล้ง” นั่นเอง

352.1

ถ้าพิจารณาแต่ภายนอก จะพบว่า “ปวยเล้ง” ถือเป็นผักใบเขียวที่อร่อยไม่น้อยไปกว่าผักชนิดไหนๆ จะเอาไปต้ม ผัด แกง หรือยำ ก็ล้วนแต่ให้รสชาติที่อร่อยถูกปากได้ทั้งนั้น มากไปกว่านั้น ปวยเล้งยังมีจุดเด่นที่สำคัญก็คือเป็นผักที่มีสารอาหารมากมายและครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น “แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินซี ที่ล้วนแต่เป็นสารอาหารที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้ในการเติบโตหรือหล่อเลี้ยงร่างกาย เป็นองค์ประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดงหรือเซลล์เล็กๆในร่างกาย ซึ่งมีส่วนช่วยในกระบวนการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ การแบ่งเซลล์ และการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย

ในด้านของการบำรุงร่างกาย ปวยเล้งมีสารตัวหนึ่งที่ดีมากๆ สารตัวนี้มีชื่อว่า “ลูทีน” ทำหน้าที่ในการกรองแสงสีฟ้าจากแหล่งกำเนิดแสงที่เป็นอันตรายต่อดวงตา ไม่ว่าจะเป็น แสงอาทิตย์อันเจิดจ้า แสงจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือแสงจากหลอดไฟ ทั้งนี้ก็เพราะลูทีนทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ทำให้สามารถป้องกันการถูกทำลายของเซลล์รับภาพหรือจอประสาทตาได้นั่นเอง คนไหนที่ชอบรับประทานปวยเล้งเป็นประจำรับรองว่าจะมีสายตาที่ดีไปกว่าใครแน่นอน

ส่วนในด้านของการป้องกันโรค ปวยเล้งจะมีสารที่ชื่อว่า “แคโรทีนอยด์” ในปริมาณสูง ซึ่งสารตัวนี้สามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ดีระดับหนึ่ง

[ads]

พูดถึงแต่เรื่องดีกันไปแล้ว มาทราบถึงข้อเสียกันบ้างดีกว่า เพราะไม่ใช่ว่าการรับประทานปวยเล้งในปริมาณมากจะเป็นเรื่องดีเสมอไป เพราะถึงแม้ว่าปวยเล้งจะมีธาตุเหล็กและแคลเซียมในปริมาณที่สูง แต่ก็ยังพบว่ามีปริมาณ “กรดออกซาลิก” สูงเช่นกัน ซึ่งรดออกซาลิกที่เป็นองค์ประกอบในปวยเล้งจะเป็นตัวขัดขวางการดูดซึมของธาตุเหล็กและโฟเลต ทำให้ร่างกายได้รับสารทั้งสองอย่างได้ไม่เต็มที่ และอาจมีผลทำให้เกิดภาวะขาดแคลเซียมหรือสังกะสีได้ 

ข้อเสียที่สอง ก็คือ ผู้ป่วยโรคเก้าต์ควรจะต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานผักปวยเล้งแบบต่อเนื่องไปก่อน เนื่องจากในปวยเล้งมีปริมาณ “กรดยูริก” ค่อนข้างสูง จึงอาจส่งผลต่ออาการปวดตามข้อได้

ข้อเสียอีกประการหนึ่ง ก็คือ การรับประทานปวยเล้งมากเกินไปจะทำให้ร่างกายได้รับกรดออกซาลิกในปริมาณสูง และนั่นก็เป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดโรคนิ่วในร่างกายได้ด้วย เนื่องจากกรดออกซาลิกจะเข้าทำปฏิกิริยากับแคลเซียม ทำให้สารเกิดการตกตะกอนและกลายเป็นนิ่วสะสมภายในร่างกายได้

 

แต่อย่างเพิ่งเป็นกังวลไปเพรายังมีวิธีที่พอแก้ไขได้ นั่นก็คือ การรับประทานผักปวยเล้งร่วมกับผักผลไม้อื่นๆที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง ส้ม มะขาม มะเขือเทศ เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กจากปวยเล้งได้ดีขึ้น หรืออีกทางแก้หนึ่งก็คือ การนำผักปวยเล้งไปลวกในน้ำเดือดก่อนนำมาปรุงอาหาร เพราะความร้อนสามารถทำลายกรดออกซาลิกได้สูงถึง 80% เพียงเท่านี้ก็สบายใจหายห่วงได้แล้วละค่ะ ว่าคุณจะสามารถได้รับประโยชน์จากผักชนิดนี้ไปเต็มๆ และก็ไม่ต้องกลัวจะเป็นโรคด้วย

 

           


ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก  http://prayod.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%87-spinach/

เรียบเรียงข้อมูลโดย ThaiJobsGov.com


[ads=center]

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: