แห่แชร์กระหึ่ม! ‘จอห์น วิญญู’ เปิดบ้านคุยกับพ่อแม่ถึงประวัติศาสตร์-การเมืองไทย ดูแล้วเฉียบทั้งบ้านจริงๆ!(มีคลิป)





จากประเด็นร้อนแรง วิวาทะเดือดของ โจ นูโว นักร้องชื่อดัง ที่ได้วิพากษ์วิจารณ์ พ่อของ จอห์น วิญญู วงศ์สุรวัฒน์ อย่างรุนแรง จนชาวเน็ตพากันขุดประวัติของพ่อของทั้งจอห์น และ โจ กันสนั่นโซเชียล จนกระทั่งจะเลยเถิดไปถึงการเปิดเผยจากทาง ฝ่ายของพ่อโจ โดยระบุว่า อาจจะมีการฟ้องร้องดำเนินคดี อีกด้วย

แต่ถึงกระนั้น กระแส “พ่อจอห์น-พ่อโจ” ก็ยังแรงไม่หยุด ฉุดไม่อยู่มากขึ้นไปอีก เมื่อนักจัดรายการหนุ่มชื่อดัง “จอห์น วิญญู วงศ์สุรวัฒน์” ปล่อยคลิปรายการที่เจ้าตัวจัดอยู่เป็นประจำ นั่นคือรายการ หาเรื่อง(คุย) : EP.16 ถามพ่อจอห์น วิญญูเลยดีกว่า(Full) ซึ่งรายการนี้ เป็นรายการที่เจ้าตัวสัมภาษณ์เหล่าคนดังจากวงการต่างๆ เช่นนักข่าว นักการเมือง คนทำหนัง เซเลป ฯลฯ

“นั่งคุยสไตล์พ่อลูก กับจอห์น วิญญูและคุณพ่อ รศ.ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ กับมุมมองประวัติศาสตร์ การเมือง ปรัชญา และประเทศไทย” ซึ่งเป็นหัวข้อที่โปรโมทตอนล่าสุด  ซึ่งเป็นตอนที่ 16 ที่เจ้าตัวคุยกับพ่อตัวเอง ในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมืองของประเทศต่างๆ แบบเข้าใจกันอย่างง่ายๆ และมองย้อนมาถึงประเทศไทย พร้อมทั้งอธิบายในเรื่องของการเปรียบเทียบยอดฮิต

เช่น การเอาไทยไปเปรียบสิงคโปร์ เปรียบกับประเทศจีน ในแง่ของระบอบการปกครอง และเศรษฐกิจ ซึ่งพ่อของจอห์น ได้ไขข้องใจนี้ได้อย่างน่าสนใจ โดยสรุปใจความได้ว่า “การจะเอาไทย ไปเปรียบกับสิงคโปร์ หรือกับจีนนั้น ทั้งในแง่การปกครอง และเศรษฐกิจ มันไม่สามารถทำได้ เพราะที่ยกตัวอย่างมานั้น มันคนละบริบทกันหมดเลย จีนใหญ่กว่าไทยตั้ง ไม่รู้กี่เท่า สิงคโปร์เล็กกว่ากรุงเทพอีก แค่เรื่องขนาดทางกายภาพ ก็ไม่สามารถเอามาเปรียบเทียบกันได้แล้ว” เป็นต้น

ซึ่งในช่วงท้าย เป็นช่วงที่แม่ของ จอห์น วิญญู คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แจนนิส เอ็ม. วงศ์สุรวัฒน์ ได้เปิดเผยเรื่องที่คนไทยอาจจะไม่เคยทราบมาก่อนมาเลยในชีวิต โดยแม่ของจอห์น ได้กล่าวก่อนปิดท้ายรายการ โดยสรุปใจความที่แม่จอห์นสื่อสารดังนี้

“ประเทศไทย เป็น ‘ประเทศแรก’ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีการเลือกตั้ง ตามระบอบประชาธิปไตยในฐานะคนไทย เราควรจะไม่ลืม และภูมิใจนะ…”

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายเพิ่มเติมอีกว่า การเลือกตั้งครั้งแรกที่ว่านั้น เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 1 วันที่ 1 พฤศจิกายน 2476 หรือเมื่อประมาณ 86 ปีที่ผ่านมา

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2476 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่หนึ่งในประเทศไทย และเป็น “การเลือกตั้งทั่วไปเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวของไทย” ตราบจนปัจจุบัน โดยเกิดขึ้นเมื่อวันพุธที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476

ในขณะนั้นประเทศไทย (ยังคงใช้ชื่อว่า สยาม) แบ่งการปกครองเป็นจังหวัด มีจังหวัดทั้งสิ้น 70 จังหวัด ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 แล้ว สามารถเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประเภทที่หนึ่ง ได้ทั้งหมด 78 คน

โดยส่วนใหญ่จะสามารถเลือกผู้แทนฯได้จังหวัดละคน มีบางจังหวัดที่มีผู้แทนฯได้มากกว่าหนึ่งคน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่, จังหวัดร้อยเอ็ด, จังหวัดมหาสารคาม, จังหวัดนครราชสีมา มีผู้แทนฯได้ 2 คน ขณะที่จังหวัดพระนครและจังหวัดอุบลราชธานี มีผู้แทนฯได้ 3 คน ซึ่งขณะนั้นรัฐธรรมนูญกำหนดอัตราประชากร 200,000 คนต่อการมีผู้แทนฯได้หนึ่งคน

และบวกรวมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่สอง ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขึ้นอีก 78 คน รวมทั้งสิ้นเป็น 156 คน ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนั้น เป็นการเลือกตั้งทางอ้อม โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้กรมการอำเภอ ดำเนินการเลือกตั้งผู้แทนตำบลขึ้นทั่วประเทศในวันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 จากนั้นผู้แทนตำบลก็จะไปเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกขั้นหนึ่ง

ในขณะนั้นมีผู้มีสิทธิออกเสียงอยู่ทั้งหมด 4,278,231 คน มีผู้ออกไปใช้สิทธิทั้งหมด 1,773,532 คน คิดเป็นร้อยละ 41.45

ข่าวจาก : ข่าวสดออนไลน์, หาเรื่อง FindTrouble

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: