จิตแพทย์ แนะนำ “วิธีแก้เด็กติดเกม” อย่างไร ไม่ให้ลูกหลานคุณเข้าสู่ภาวะติดเกมขั้นรุนแรง!





เมื่อวันที่ 3 พ.ย. นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกรณีเด็กอายุ 13 ปีเข้ารับการรักษาที่รพ.น่าน หลังมีอาการปากสั่น ใจสั่น มือ เท้าเย็น แขน ขาอ่อนแรง ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ซึ่งแพทย์ รพ.น่าน คาดการณ์ว่าเกิดจากการที่เด็กเล่นเกมติดต่อกันเป็นเวลานานไม่ได้พักผ่อน ไม่ได้รับประทานอาหาร และน้ำ ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารและช็อก ว่า

นี่เป็นภาวะขั้นรุนแรงของการติดเกม ซึ่งเป็นการเสพติดพฤติกรรม คล้ายกับการติดสารเสพติด ซึ่งการติดเกมนั้นทำให้สูญเสียการใช้ชีวิตประจำวัน เสียการเรียน เสียงาน ไม่กินไม่นอนกระทบสุขภาพ โดยเฉพาะปัจจุบันพบว่าเด็ก และวัยรุ่นมีการติดเกมมาก เนื่องจากเป็นช่วงที่สมองส่วนควบคุมความคิดยังพัฒนาไม่เต็มที่ทำให้ สมองส่วนอยากทำงานได้มากกว่า ซึ่งเป็นปัญหาที่กระทรวงสาธารณสุขกังวลมาก

โดยเฉพาะตอนนี้มีเรื่องของอี สปอร์ตเข้ามา ทางกระทรวงและเครือข่ายจึงได้ประกาศเจตนารมณ์ในการปกป้องเด็กจากการจติดเกม และมีข้อเรียกร้องให้พิจารณาควบคุมเรื่องของอีสอปร์ตต้องมีกติกาอย่างชัดเจน

“การเล่นเกมนั้นมันมีข้อนำอยู่ตามหลัก “3 ต้อง 3 ไม่” คือ 1.ต้องกำหนดเวลาเล่นไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน 2.ต้องตกลงโปรแกรมและเลือกประเภทเกมให้ลูก เช่น เกมบริหารสมอง ลดเกมที่เสี่ยงความก้าวร้าวอย่างการฆ่ากันยิงกัน พ่อแม่ต้องอยู่ด้วย 3.ต้องเล่นกับลูก เพื่อสอนให้คำแนะนำกันได้ ส่วน “3 ไม่” ได้แก่ 1.พ่อแม่ไม่เล่นเป็นตัวอย่าง 2.ไม่เล่นในเวลาครอบครัว และ 3.ไม่เล่นในห้องนอน

เนื่องจากแต่ละครอบครัวมีภาระหน้าที่แตกต่างกัน บางบ้านอาจจะไม่สามารถอยู่ดูแลลูกๆ ได้ตลอด ดังนั้นครอบครัวที่มีปัญหาเรื่องเวลา อาจจะต้องมีการพูดคุยกับครู ว่าอาจจะมีการส่งเสริมให้เด็กได้ทำกิจกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ เพื่อทดแทนการเล่นเกมได้ ฝากเรื่องนี้ไว้เตือนสำหรับครอบครัวต่างๆ ได้คิดให้มากหากจะปล่อยเด็กกับการเล่นเกม

อย่างไรก็ตาม เบื้องต้น ทางกรมสุขภาพจิตได้จัดทำแบบประเมินการติดเกมเอาไว้สามารถเข้าไปรับการประเมินได้ที่เว็บไซต์ของกรมได้ แต่หลักๆ คือหากเล่นเดิมมากกว่า 2 ชั่วโมงและสูญเสียการทำหน้าที่ประจำวันไปแล้วควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย ปรับพฤติกรรม” นพ.ยงยุทธ กล่าว

ขอบคุณข้อมูลจาก : นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: