เปรียบเทียบราคาค่าโดยสาร “รถไฟฟ้า-ใต้ดินไทย” ถูก-แพงแค่ไหนเมื่อเทียบกับประเทศอื่น





ปัจจุบัน รถไฟฟ้าจัดเป็นบริการขนส่งสาธารณะที่มีความสำคัญต่อคนกรุงเทพเป็นอย่างมาก เพราะบริการขนส่งนี้ทั้งรวดเร็ว ตรงเวลา และสะดวกสบาย แต่เมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายแล้ว มันคุ้มหรือไม่กับการต้องจ่ายเงินในราคาเท่านี้ อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าจึงเป็นประเด็นที่หลายคนสนใจว่ามันมากหรือน้อย ถูกหรือแพงแค่ไหน เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ วันนี้เราจะขอเปรียบเทียบค่ารถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดินของไทยกับประเทศอื่นๆ โดยแปรตามอัตราแลกเปลี่ยนและค่าครองชีพที่ทางเว็บไซต์ whereisthailand.info นำเสนอบทความเปรียบเทียบ มาดูกันว่าผลเป็นอย่างไร
การพิจารณาเปรียบเทียบค่าโดยสารรถไฟฟ้าทั่วโลกนั้นต้องอาศัยการเปรียบเทียบหลายปัจจัยและไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะกิจการรถไฟฟ้าในเมืองใหญ่ๆทั่วโลกมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก เช่น ชนิดของรถไฟที่ใช้ ความยาวของราง ระยะห่างระหว่างสถานี ปริมาณการใช้บริการของประชาชนในเมืองนั้นๆ รวมไปถึงความแตกต่างด้านการคิดราคาค่าโดยสาร เช่น ในลอนดอนคิดค่าโดยสารตามโซน ในขณะที่นิวยอร์กคิดแบบเหมาจ่ายราคาเดียว ส่วนประเทศไทยคิดราคาตามจำนวนสถานี เป็นต้น
 

[ads]


อย่างไรก็ตาม เราได้พยายามเลือกราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าในบางเมืองจาก 4 ประเทศที่สามารถเปรียบเทียบได้ ได้แก่ รถไฟสาย Tsuen Wan ของฮ่องกง, สาย North East ของสิงคโปร์, สาย 5 ในกรุงเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน และ Tokyo Metro Fukutoshin Line ของญี่ปุ่น มารวบรวมให้ทุกคนได้เห็น โดยใช้หลักการพิจารณาดังต่อไปนี้
1. คิดราคาตามสถานีแบบเมืองไทย
2. เลือกเส้นทางที่มีความยาวใกล้เคียงกัน
3. คิดเฉพาะตั๋วโดยสารเที่ยวเดียว ราคาเต็ม

 

เมื่อพิจารณาตามเงื่อนไขข้างต้น ก็จะพบกับผลลัพธ์ที่ว่า อัตราค่าโดยสารไทยแพงกว่าที่คุณคิดเอาไว้แน่นอน

185.1

ตารางเปรียบเทียบค่าโดยสารตามค่าเงินของแต่ละประเทศ

185.2

ตารางเปรียบเทียบค่าโดยสารตามค่าเงินของไทย (บาท)

185.3
แต่โดยหลักการแล้ว การที่เราจะเปรียบเทียบราคาสินค้าหรือบริการระหว่างประเทศ จำเป็นต้องนำ “ค่าครองชีพ” มาพิจารณาด้วย ดังนั้นจึงต้องใช้หลัก Purchasing Power Parity (PPP) เพื่อแปลงค่าโดยสารให้ “เสมือนเป็นเงินดอลล่าร์” โดยใช้ตัวเลข PPP conversion factor ของปี 2011 จากธนาคารโลก จะได้อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าออกมาเป็นหน่วย US Dollar (PPP-adjusted) ดังตาราง

185.4

เมื่อคิดแบบเทียบ “ค่าครองชีพ” (PPP-adjusted) จะพบว่า เซี่ยงไฮ้นั้นถูกมาก ฮ่องกงถูกกว่ากรุงเทพในทุกกรณี ส่วนสิงคโปร์และญี่ปุ่นจะแพงกว่าไทยหากเป็นการเดินทางระยะสั้นๆ แต่ถ้าเดินทางไกลจะถูกกว่า

หวังว่าในอนาคต เราจะมีโอกาสได้ใช้รถไฟฟ้าใต้ดินและบนดินที่มีราคาถูกลงกว่านี้บ้าง เผื่อว่าจะสามารถแก้ไขปัญหารถติดที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ได้

 

ขอบคุณข้อมูลจาก  prachachat.net

เรียบเรียงข้อมูลโดย ThaiJobsGov.com

 

[ads=center]

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: