รู้จักหรือยัง? “ยาเลิกเหล้า”





เหล้าหรือสุราเป็นสารเสพติดที่ทำลายร่างกายและสมองของผู้ดื่มในระยะยาว ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนมากมาย ผู้ที่ดื่มเหล้าจนติดนั้น มักจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการดื่ม ทำให้ความรับผิดชอบหน้าที่ต่างๆบกพร่องไป เช่น การงานหรือครอบครัว และไม่สามารถควบคุมการดื่มทั้ง ปริมาณ ความถี่ หรือไม่สามารถหยุดดื่มได้

 

 

[ads]

 

ในปัจจุบันได้มีวิธีรักษาโรคติดสุรา ด้วยยาได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด ได้แก่

 

ยา acamprosate (ACP) ยังไม่มีใช้ในประเทศไทย มีชื่อทางการค้าว่า Campral ยาชนิดนี้จะไปออกฤทธิ์กับระบบสารสื่อประสาทชนิดกลูตาเมท (glutamate) และ GABA แต่ยังไม่ทราบกลไกการออกฤทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับสุรา

 

ยา extended-release injectable naltrexone (ERIN) เป็นยาฉีดออกฤทธิ์ยาวที่ยังไม่มีใช้ในประเทศไทยเช่นกัน มีชื่อทางการค้าว่า Vivitrol ออกฤทธิ์เช่นเดียวกับยา naltrexone แต่จะออกฤทธิ์ได้นาน 30 วัน

 

alcohol-poisoning

 

ยา naltrexone (NTX) มีชื่อทางการค้าว่า Revia / Depade ยาชนิดนี้ยังไม่มีใช้ในประเทศไทย เป็นยาที่ออกฤทธิ์โดยการไปปิดกั้นตัวรับชนิดโอปิออยด์ (opioid receptors) ซึ่งมีผลทำให้สามารถลดความอยากและความพอใจจากการดื่มลง

 

ยา disulfiram (DSF) เป็นยาที่ประเทศไทยนำมาใช้ในการเลิกเหล้า เมื่อผู้ป่วยดื่มสุรา ยาจะออกฤทธิ์ไปยับยั้งการสลายแอลกอฮอล์ ทำให้ระดับ acetaldehyde ในเลือดสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการวูบวาบ คลื่นไส้ หัวใจเต้นเร็ว และเหงื่อออก

 


     อย่างไรก็ตาม ยาที่เหมาะสมและปลอดภัยกับตัวผู้ดื่มมากที่สุดคือยาที่ได้รับจากแพทย์ แนะนำว่าหากต้องการที่จะได้ยา ควรพาผู้ดื่มไปพบจิตแพทย์ เพราะจิตแพทย์จะตรวจประเมินระดับอาการของผู้ดื่ม และจ่ายยาให้ผู้ดื่มในขนาดยาที่เหมาะสม หรือหากจิตแพทย์เห็นว่ามียาตัวอื่นที่เหมาะสมกับอาการของผู้ดื่มมากกว่า ก็จะจ่ายยาให้ตามสมควร

ซึ่งไม่ว่าจะเป็นยาอะไรก็ตาม การรับยาจากจิตแพทย์ถือว่าปลอดภัยที่สุด และเพิ่มโอกาสสูงที่จะทำให้สามารถเลิกสุราได้สำเร็จ yes

 

consult-with-your-doctor-when-taking-supplements

 

[ads=center]

เรียบเรียงข้อมูลโดย ThaiJobsGov.com

Illustration & Reference by:

[online] www.1413.in.th

[online] http://sevenstarsfitness.com

[online]www.pbinstitute.com

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: