ไม่ใช่เกษตรกรมืออาชีพก็ทำได้!! ขุดหลุมเลี้ยงกบแบบใหม่ ทำง่ายๆในพื้นที่จำกัด กำไรงาม!!





 

กบนับเป็นสัตว์เศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่ราคาดี มีความต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง แต่การจะเลี้ยงให้ได้ตัวใหญ่จนสามารถทำเงินได้นั้น ต้องอาศัยประสบการณ์พอสมควร วันนี้เพจเกษตรไทบ้านจึงได้หาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีเลี้ยงกบในหลุมแบบง่ายๆ และที่สำคัญใช้เงินลงทุนน้อยแต่ได้ผลตอบแทนที่แสนจะคุ้มค่า เรามาดูขั้นตอนการทำต่างๆกันได้เลยกบนับเป็นสัตว์เศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่ราคาดี มีความต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง แต่การจะเลี้ยงให้ได้ตัวใหญ่จนสามารถทำเงินได้นั้น ต้องอาศัยประสบการณ์พอสมควร วันนี้เพจเกษตรไทบ้านจึงได้หาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีเลี้ยงกบในหลุมแบบง่ายๆ และที่สำคัญใช้เงินลงทุนน้อยแต่ได้ผลตอบแทนที่แสนจะคุ้มค่า เรามาดูขั้นตอนการทำต่างๆกันได้เลย

 

 

การเตรียมบ่อ 
ปกติกบจะชอบอาศัยอยู่ในที่ร่ม และ พื้นดินที่ชื้นแฉะ เราจึงควรเลือกทำเลที่ตั้งของบ่อเลี้ยงกบให้อยู่ใต้ร่มไม้ และ เป็นพื้นที่สูงที่น้ำท่วมไม่ถึง

 

 

การล้อมรั้วและตาข่ายแบบง่ายๆ
ความสูงนั้นให้สูงแค่พอป้องกันกบกระโดดหนีและป้องกันสัตว์อื่นเข้าไปก็พอ นำกะละมังมาตั้งไว้เป็นบ่อน้ำ และขุดรูเพื่อต่อท่อ PVC ด้านล่างของทุกบ่อให้เชื่อมต่อกัน เพื่อให้ระดับน้ำจะได้สูงเท่ากันในทุกๆกะละมัง และต้องทำช่องระบายน้ำออกด้วย ควรใช้กะละมังแบบตื้นไม่ต้องลึกมาก แค่พอให้กบลงไปแช่น้ำได้มิดตัว อาจจะวางอิฐหรือหินเสริมลงไปในกะละมังเพื่อให้พื้นสูงขึ้น ก็ถือว่าเป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการเตรียมบ่อแล้ว

 

 

การคัดเลือกพันธุ์กบ 

การเลือกพันธุ์กบนั้น ควรเลือกซื้อพันธุ์กบที่มีอายุประมาณ 1-2 เดือน มาปล่อยเลี้ยง เพราะจะทำให้กบที่เลี้ยงมีอัตราการรอดที่สูงกว่า และยังเป็นกบที่สามารถให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปได้แล้ว ไม่ต้องนำมาอนุบาลให้ลำบากหรือเพาะเลี้ยงต่อให้ยุ่งยาก พันธุ์กบที่แนะนำให้เลี้ยงคือ กบนา เพราะเป็นกบที่โตเร็ว และขายได้ดีเพราะนิยมนำมาใช้บริโภค

 

 

ถ้าในท้องถิ่นอุดมสมบูรณ์มีกบเยอะ เราก็สามารถไปคัดเลือกพันธุ์กบจากแหล่งธรรมชาติเองได้ โดยนำพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์มาปล่อยในอัตรา 1:1 ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร ปกติกบจะขยายพันธุ์ในช่วงหน้าฝน ให้เราต่อสปริงเกอร์ไว้ใกล้ๆ สร้างบรรยากาศเหมือนฝนตก เพื่อเร่งให้กบขยายพันธุ์

 

 

พ่อพันธุ์ : เมื่อถึงฤดูขยายพันธุ์กบตัวผู้จะส่งเสียงร้องเสียงดังและใต้คางก็จะพอง ลำตัวจะมีสีเหลืองเข้ม เมื่อเราใช้นิ้วใส่เข้าไปที่ใต้ท้อง มันจะใช้ขาหน้ากอดรัดนิ้วเราไว้แน่น

 

 

แม่พันธุ์ : ตัวที่มีไข่ส่วนท้องจะขยายใหญ่ และจะมีปุ่มสากข้างลำตัวทั้ง 2 ข้าง เมื่อใช้นิ้วสัมผัสจะรู้สึกได้

 

 

ปล่อยกบลงไปแล้วจึงเปิดฝนเทียมเพื่อเป็นการกระตุ้นให้กบจับคู่ ในช่วงเวลา ประมาณ 17.00 น. – 22.00 น. กบจะจับคู่และจะปล่อยไข่ตอนเช้ามืด

 

 

การลำเลียงไข่กบจากบ่อผสมไปบ่ออนุบาล

1. หลังจากกบปล่อยไข่แล้วในตอนเช้า ต้องจับกบขึ้นไปไว้บนดิน จากนั้นจะค่อย ๆ ลดน้ำในบ่อลงและใช้สวิงผ้านิ่ม ๆ รองรับไข่ที่ไหลตามน้ำออกมา ในขณะที่น้ำลดนั้นต้องคอยใช้สายยางฉีดน้ำเบา ๆ ไล่ไข่ ขั้นตอนนี้ต้องทำด้วยความระมัดระวังไม่ให้ไข่แตก และจะต้องทำในตอนเช้าในขณะที่ไข่กบยังมีวุ้นเหนียวหุ้มอยู่

 

 

2. นำไข่ที่รวบรวมได้ไปใส่บ่ออนุบาลโดยใช้ถ้วยตวงตักไข่ โรยให้ทั่วๆ บ่อแต่ต้องระวังไม่ให้ไข่กบซ้อนทับกันมาก เพราะจะทำให้ไข่เสียและไม่ฟักเป็นตัว เนื่องจากขาดออกซิเจน

3. ระดับน้ำที่ใช้ในการฟักไข่ประมาณ 7-10 ซม. ไข่จะฟักเป็นตัวภายใน 24 ชม.

 

 

การอนุบาลและการให้อาหารลูกกบ

เมื่อไข่กบฟักออกเป็นตัวแล้วช่วงระยะ 2 วันยังไม่ต้องให้อาหาร เพราะลูกกบยังไม่ใช้ไข่แดง ที่ติดมาเลี้ยงตัวเองอยู่ หลังจากนั้นจึงเริ่มให้อาหาร เช่น ไรแดง ไข่ตุ๋น อาหารเม็ด ตามลำดับดังนี้

 

 

– อายุ 3 – 7 วัน ให้อาหาร 20 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว จำนวน 5 มื้อต่อวัน

– อายุ 7 – 21 วัน ให้อาหาร 10-15 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว จำนวน 5 มื้อต่อวัน

– อายุ 21 – 30 วัน ให้อาหาร 5-10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว จำนวน 4 มื้อต่อวัน

– อายุ 1 – 4 เดือน ให้อาหาร 4-5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว จำนวน 2 มื้อต่อวัน

 

 

การเปลี่ยนถ่ายน้ำ

1. เมื่อลูกอ๊อดฟักออกเป็นตัวจะต้องเพิ่มระดับน้ำในบ่อขึ้นเรื่อยๆ จนอยู่ที่ระดับความลึก 30 ซม.

2. ลูกอ๊อดอายุครบ 4 วัน จะต้องทำาการย้ายบ่อครั้งที่ 1 และระดับน้ำที่ใช้เลี้ยงควรอยู่ที่ระดับ 30 ซม.

3. เปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวันๆ ละ ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์

 

 

4. ทุกๆ 3-4 วัน ทำการย้ายบ่อพร้อมกับคัดขนาดลูกอ๊อด

5. เมื่อลูกอ๊อดเริ่มเข้าที่ขาหน้าเริ่มงอกต้องลดระดับน้ำในบ่อลงมาอยู่ที่ระดับความลึกประมาณ 5-10 ซม. และจะต้องใส่วัสดุที่ใช้สำหรับเกาะอาศัยลงไปในบ่อ เช่น ทางมะพร้าว แผ่นโฟม เป็นต้น

 

การคัดขนาดลูกกบ (ลูกอ๊อด)

เมื่อเลี้ยงไปได้ประมาณ 1 สัปดาห์หลังฟักออกจากไข่ ลูกอ๊อดจะเริ่มมีขนาดไม่เท่ากัน เนื่องจากการที่กบกินอาหารไม่ทันกัน ดังนั้นจึงต้องทำการคัดขนาดเมื่อลูกอ๊อดอายุได้ประมาณ 7 – 10 วัน โดยการใช้ตะแกรงคัดขนาดที่ทำจากตาข่ายพลาสติกที่มีขนาดของช่องตาขนาดต่างๆกัน ซึ่งเราสามารถเลือกซื้อตามขนาดของตัวอ๊อดระยะต่างๆ ได้

 

 

โดยให้ทำการคัดขนาดทุก ๆ 3-4 วันทำและแยกไปไว้ในแต่ละบ่อ ในระยะที่ลูกอ๊อดบางตัวเริ่มมีขาหน้างอกออกมาจะใช้ตะแกรงคัดขนาดไม่ได้แล้ว เนื่องจากลูกอ๊อดจะเกาะอยู่ที่ตะแกรงและไม่ลอดช่องลงไปจนต้องเปลี่ยนมาใช้กะละมังเติมน้ำให้เต็มแล้วคัดลูกกบที่มีครบ 4 ขาออกไปใส่บ่อเดียวกันไว้

 

เมื่อลูกกบอายุประมาณ 1 เดือนลูกกบจะเป็นตัวเต็มวัยไม่พร้อมกัน ลูกกบตัวที่หางยังครบก็จะอยู่ในน้ำ ส่วนลูกกบตัวที่หางหดเป็นตัวเต็มวัยแล้วก็จะอยู่บนบก จึงต้องคัดแยกลูกกบที่โตเต็มวัยออกไปใส่บ่ออื่น ๆ โดยในบ่อแต่ต่อจะแบ่งตามอายุลูกกบดังนี้

 

 

– อายุ 7 วัน อนุบาลและการปล่อยเลี้ยง 2,000 ตัว/ตร.ม.

– อายุ 8 – 14 วัน อนุบาลและการปล่อยเลี้ยง 1,500 ตัว/ตร.ม.

– อายุ 15 – 25 วัน อนุบาลและการปล่อยเลี้ยง 800 ตัว/ตร.ม.

– อายุ 26 – 30 วัน อนุบาลและการปล่อยเลี้ยง 500 ตัว/ตร.ม.

– อายุ 1 – 4 เดือน อนุบาลและการปล่อยเลี้ยง 100 – 150 ตัว/ตร.ม.

 

 

การดูแลและเลี้ยงกบเต็มวัยจนกบโต

การให้อาหารกบควรจะให้วันละ 2 ครั้ง คือ เวลา 07.00 น. และ 17.00 น. โดยให้ปริมาณอาหารเท่ากับ 10 % ของน้ำหนักกบ เช่น กบในบ่อมีน้ำหนักประมาณ 100 กิโลกรัม ควรให้อาหาร 10 กิโลกรัม เป็นต้น

 

 

อาหารของกบมีหลายอย่าง ขึ้นอยู่กับว่าผู้เลี้ยงสามารถหาอาหารแบบใดได้

1. ปลาสับ

2. ปลายข้าว 1 ส่วน ผักบุ้ง 2 ส่วน ต้มรวมกับ เนื้อปลา เนื้อหอยโข่ง หรือปู

3. เปิดไฟล่อให้แมลงมาเล่นไฟแล้วตกลงในบ่อเลี้ยง

ในการให้อาหารช่วงเช้า 07.00 น. ต้องมีการเก็บภาชนะไปล้างประมาณเวลา 10.00 น. เพื่อป้องกันอาหารบูด ส่วนอาหารเย็น 17.00 น.ไม่ต้องเก็บภาชนะไปล้าง เพราะว่ากลางคืนอาหารจะไม่บูดเสีย และธรรมชาติของกบจะหากินตอนกลางคืน ทำให้กบกินอาหารมือเย็นหมดตลอด

 

 

การจับ

จะต้องจับหมดทั้งบ่อในคราวเดียว เพราะบ่อเลี้ยงมีโคลนตม และ ต้องเก็บพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักตบชวา ขึ้นให้หมดก่อน และ ต้องไล่จับกบที่หลบซ่อนให้หมดในครั้งเดียว

 

 

การเลี้ยงกบควรจะคำนึงถึงฤดูต่าง ๆ ด้วย เนื่องจากฤดูฝนจะมีกบธรรมชาติออกมาขายค่อนข้างมาก จึงทำให้ราคากบในช่วงฤดูฝนต่ำกว่าฤดูอื่น ผู้เลี้ยงจึงต้องเผื่อระยะเวลาเพื่อให้กบโตพร้อมจะจับในช่วงฤดูร้อนหรือฤดูหนาว จึงจะขายได้ราคาคุ้มค่าการลงทุน และ การขนส่งกบควรจะมีภาชนะใส่น้ำเล็กน้อย และมีวัสดุให้กบเข้าไปหลบอาศัย เช่น ฟาง ผักบุ้ง ผักตบชวา

 

 

ต้นทุนการเลี้ยงกบนา

กบนามีการใช้น้ำไม่มาก และใช้พื้นที่น้อย บ่อดินขนาดประมาณ 6-12 ตารางเมตร ใน 1 บ่อมีจำนวนกบประมาณ 400-800 ตัว ใช้เวลาเลี้ยง 3-4 เดือนก็สามารถขายได้ เมื่อคิดแล้วต้นทุนจะอยู่ที่ประมาณ 25-30 บาท/กิโลกรัม แต่ราคาขายอยู่ที่ 80-100 บาท/กิโลกรัม

 

ขอบคุณภาพและข้อมูลดีๆจาก : https://esan108.com/

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: