เป็นแม่มันเหนื่อย! รัฐขยายสิทธิลาคลอดเป็น 6 เดือน คาดปีหน้าได้ใช้





แม่ ไม่ใช่อาชีพ แต่เป็นภาระความรับผิดชอบที่หนักหน่วง และเหนื่อยกว่าการรับภาระอื่นๆ เพราะนอกจากจะต้องอุ้มท้องลูกแล้ว เมื่อคลอดออกมาก็ยังต้องเลี้ยงดูอยู่ไม่ห่าง

และด้วยเหตุผลนี้ รัฐจึงรู้สึกว่าคนที่เป็นแม่จำเป็นต้องได้รับการดูแล และรับสิทธิในการลาคลอดที่มากกว่าที่เคยเป็นอยู่ โดยเสนอสิทธิใหม่ ดังนี้

 

เมื่อวันที่ 15 ก.ย.ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ครั้งที่ 5/2560 พร้อมเปิดเผยภายหลังว่า …
 

ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอแนวทางการส่งเสริมการลงทุนสาธารณสุขเพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ทั้งด้านแพทย์แผนไทย ศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง สถานพยาบาล การลำเลียงขนส่งทางการแพทย์ รับทราบการลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อระบบสุขภาพของประเทศ พร้อมรับทราบความคืบหน้าการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ประเด็นการควบคุมกลยุทธ์การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พร้อมมีข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเด็นการกำกับและบังคับใช้กฎหมาย ในเรื่องการส่งเสริมการให้นมแม่ในสังคมไทย รวมถึงการหารือกับภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในประเด็นการขยายสิทธิการลาคลอดเป็น 180 วัน หรือ 6 เดือน

 

 

“การลาคลอดนั้น เราส่งเสริมคุณแม่ควรจะให้นมลูกอย่างน้อยเป็นเวลา 6 เดือน แล้วหลังจากนั้นอาจจะมีอาหารเข้ามาเสริมได้บ้าง แต่ที่ผ่านมาเรามีกฎหมายอนุญาตให้ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน อนุญาตให้คุณแม่ลาคลอดได้จำนวน 90 วัน ดังนั้น รัฐควรออกกฎหมาย โดยอาจอนุญาตให้คุณแม่สามารถลาคลอดได้ 180 วัน หรือ 6 เดือน ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ โดยจะมีการรับฟังความคิดเห็นในช่วงเดือน ตุลาคมนี้ คาดว่าจะออกประกาศได้ภายในเดือน มี.ค. 2561”

 

 

สำหรับการควบคุมกลยุทธ์การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กนั้น รัฐบาลได้ออก พ.ร.บ.ควบคุมการส่งเริมการตลาดของอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก และมีผลประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 8 ก.ย.ที่ผ่านมา

มีสาระสำคัญคือ

1.ห้ามโฆษณาประชาสัมพันธ์อาหารทารกและเด็กเล็ก ทั้งทางทีวี หนังสือพิมพ์ วิทยุ นิตยสาร หรือ สื่อออนไลน์แต่ ไม่ได้ห้ามขาย

2.ห้ามแจกตัวอย่างสินค้าและของขวัญฟรีแก่แม่ทั้งทางตรงและทางอ้อม

3.ห้ามพนักงานการตลาดติดต่อหญิงตั้งครรภ์ แม่ และครอบครัว

4.ห้ามใช้สถานบริการสาธารณสุขเป็นที่สาธิต โฆษณา ประชาสัมพันธ์ สินค้า

5.ห้ามให้ของขวัญหรือตัวอย่างสินค้าแก่บุคลากรสาธารณสุข

6.การให้ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการอาหารทารก ต้องได้รับอนุญาตจากกรมอนามัย เพื่อป้องกันการให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ข้อมูลในเชิงโฆษณา

7.ข้อมูลที่ให้แก่บุคลาการสาธารณสุขต้องมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และเป็นจริง และฉลาก ต้องไม่แสดงรูปภาพของทารกหรือข้อความชักจูงให้เกิดความเข้าใจผิด

 

 

พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าวว่า

…หลังจากกฎหมายประกาศใช้แล้ว ได้รับการชี้แจงจากทางคณะกรรมการอาการและยา (อย.) ว่ายังพบการลักลอบโฆษณาอยู่ อย่างไรก็ตามจะมีการประชุมร่วมกันระหว่างกรมอนามัยกับ อย. ในวันที่ 18 ก.ย.นี้ เพื่อวางแนวทางระบบและกระบวนการรองรับ โดยเฉพาะการตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกระดับทั้งระดับเขต จังหวัด และอำเภอ เพื่อเฝ้าระวังการละเมิดกฎหมาย รวมถึงเปิดช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนจากภาคประชาชน ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ที่แต่งตั้งขึ้นจะมีอำนาจในการนำเสนอบทลงโทษได้ทันที

 

 

หวังว่าคนเป็นแม่จะมีเวลาพักมากขึ้น และจะได้เลี้ยงดูลูกหลานของเราได้ดีกว่าเดิม

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_510226

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: