ทดสอบ…. คาเฟอีนและน้ำตาล ในกาแฟปรุงสำเร็จพร้อมดื่ม 19 ยี่ห้อยอดนิยม





กาแฟปรุงสำเร็จรูปพร้อมดื่ม ทางเลือกสำหรับคอกาแฟที่รักความสะดวกรวดเร็ว เพียงเปิดกระป๋องปุ๊บก็ดื่มได้ทันที ซึ่งปัจจุบันมีหลายยี่ห้อและรสชาติให้ลิ้มลองในราคาสบายกระเป๋า ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้บริโภคหลายคนอร่อยเพลิน จนลืมไปว่ากาแฟกระป๋องเหล่านั้นอาจมีคาเฟอีนและน้ำตาลผสมอยู่ในปริมาณสูง โดยหากเราบริโภคมากเกินไป สามารถทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวานจากการได้รับน้ำตาลเกิน 24 กรัม/วัน หรืออาการติดคาเฟอีน (Caffeinism) จากการได้รับคาเฟอีนมากไปหรือเกินวันละ 200 มิลลิกรัม ซึ่งจะทำให้รู้สึกกระวนกระวาย หงุดหงิดง่าย ทำงานไม่ได้ จนกว่าจะเพิ่มปริมาณคาเฟอีนในกระแสเลือดก่อน นอกจากนี้ผลที่ตามมาคือสมองและหัวใจจะถูกกระตุ้นเกินกว่าปกติ ทำให้ปวดศีรษะ ใจเต้นเร็ว ใจสั่นและความดันโลหิตสูงได้

[ads]

 

เว็ปไซด์ฉลาดซื้อ(www.chaladsue.com)ได้นำเสนอผลเปรียบเทียบปริมาณคาเฟอีนและน้ำตาลในกาแฟปรุงสำเร็จพร้อมดื่มจำนวน 26 ตัวอย่างจาก 19 ยี่ห้อยอดนิยม ซึ่งเจ้าไหนจะมีน้ำตาลและคาเฟอีนสูงกว่ากัน ลองไปดูได้เลย

สัดส่วนการตลาดกาแฟพร้อมดื่มปี 2557

กาแฟสำเร็จรูปพร้อมดื่ม มีส่วนแบ่งเป็นอันดับ 2 ในตลาดกาแฟรวม ด้วยมูลค่า 10,000 ล้านบาท แบ่งเป็นกาแฟกระป๋อง 95% และแบบขวด PET 5% นอกจากนี้ยังมีอัตราเติบโตเฉลี่ยปีละประมาณ 6% โดยผู้นำตลาดคือ ยี่ห้อเบอร์ดี้ ครองส่วนแบ่งตลาดถึง 70%

ที่มา: http://marketeer.co.th/archives/31046

สรุปผลการทดสอบ

จากตัวอย่างกาแฟปรุงสำเร็จพร้อมดื่มทั้งหมด 26 ตัวอย่างจาก 19 ยี่ห้อที่นำมาทดสอบ พบว่า

1.ยี่ห้อที่มีปริมาณคาเฟอีนมากสุด คือ ดาว สูตรไอซ์ คลาสสิค เบลนด์ มีปริมาณคาเฟอีน 91.1 มิลลิกรัม/100 มิลลิลิตร เอาชนะยี่ห้อ คาราบาว สูตรเอสเปรสโซ ที่มีปริมาณคาเฟอีน 91 มิลลิกรัม/100 มิลลิลิตร ไปเพียง 0.1 มิลลิกรัมเท่านั้น และสำหรับยี่ห้อที่มีปริมาณคาเฟอีนน้อยที่สุด คือ สตาร์บัคส์ สูตรคอฟฟี่ แฟรบปูชิโน่ มีปริมาณคาเฟอีน 29 มิลลิกรัม/100 มิลลิลิตร

2. ยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลมากที่สุด คือ โคฟี่ กาแฟสำเร็จ มีปริมาณน้ำตาลถึง 49 กรัม/ หน่วยบริโภค ส่วนยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยที่สุดมี 2 ยี่ห้อ คือ วีสลิม สูตรเอสเปรสโซและเนสกาแฟ สูตรเอ็กซตร้า ริช มีปริมาณน้ำตาล 14 กรัม/หน่วยบริโภคเท่ากัน ทั้งนี้สำหรับยี่ห้อ เพรียว คอฟฟี่ มีปริมาณน้ำตาล 0 กรัม/ หน่วยบริโภค เนื่องจากเป็นสูตรไม่มีน้ำตาล(รสหวานจากน้ำตาลเทียม)

3. มี 10 ยี่ห้อที่ไม่สามารถตรวจสอบปริมาณน้ำตาลได้ เนื่องจากไม่มีฉลากโภชนาการ ได้แก่ 1.มง ปาซิญง (MON PASSION) สูตรคาเฟ่ มอคค่า 2.อาฮ่า (A-Ha) สูตรคาปูชิโนผสมช็อกโกแลต 3.อาราบัส สูตรลาเต้ 4.ไอวี่ กาแฟสูตรโบราณ 5.ยูเอฟซี สูตรกาแฟเย็น เข้มข้นรสกาแฟแท้ 6.เบอร์ดี้ สูตรคลาสสิกและสูตรบาริสต้า เอสเปรสโซ ช็อต 7.เทอร์บัสต้า แมกซ์ สูตรออริจินอล 8.ดาวแมกซ์ คอฟฟี่ และดาว สูตรไอซ์ คลาสสิค เบลนด์ 9.ซูซูกิ โกเมท์ สูตรไอซ์ คอฟฟี่ และ 10.คาราบาว สูตรบัสต้าและสูตรเอสเปรสโซ

4. มี 4 ยี่ห้อที่ไม่มีฉลากภาษาไทยกำกับ ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบทั้งปริมาณคาเฟอีนและน้ำตาลได้ คือ 1.ยูซีซี สูตรเอสเพรสโซ่พรีเมี่ยม 2. WONDA WONDERFUL COFFEE 3.FIRE 4.TULLY’S COFFEE BARISTA’S

ข้อสังเกต

– การแสดงฉลาก

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 367) พ.ศ.2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ กำหนดไว้ว่า การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุที่ผลิตเพื่อจำหน่าย นำเข้าเพื่อจำหน่ายหรือที่จำหน่าย ต้องแสดงข้อความเป็นภาษาไทย และอย่างน้อยจะต้องมีข้อความแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (เว้นแต่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะยกเว้นให้ไม่ต้องระบุข้อความหนึ่งข้อความใด) 1.ชื่ออาหาร 2.เลขสารบบอาหาร 3.ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุหรือผู้นำเข้า หรือสำนักงานใหญ่

ขอบคุณเนื้อหาจาก[Online]www.chaladsue.com

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: