กฎออกมาแล้ว! ลดวันเล่นน้ำสงกรานต์ ช่วยลดการใช้น้ำ เหลือให้เล่นแค่เท่านี้….?!





นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.)  กล่าวถึงเทศกาลสงกรานต์ 2559 หรือวันปีใหม่ไทย ว่า ช่วงวันสงกรานต์เป็นช่วงเวลาที่ประชาชนใช้น้ำสูงมาก เพราะนอกจากการรดน้ำขอพรผู้ใหญ่และสรงน้ำพระแล้ว ประชาชนยังนิยมเล่นสาดน้ำสงกรานต์ ซึ่งการเล่นน้ำสงกรานต์นี่เองที่เป็นตัวดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเล่นน้ำสงกรานต์ที่ประเทศไทยเป็นจำนวนมาก และในกรุงเทพฯ ก็มีสถานที่เล่นน้ำสงกรานต์ที่เป็นที่นิยม 2 แห่งด้วยกัน คือ ถนนข้าวสารและถนนสีลม 
 


ภาพจาก Gail Palethorpe / Shutterstock.com 


              แต่ด้วยสถานการณ์น้ำในปีนี้ที่ค่อนข้างวิกฤต เนื่องจากมีหลายพื้นที่ของไทยที่กำลังประสบภัยแล้ง ทั้งยังส่งผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนหลักค่อนข้างน้อย ซึ่งเรื่องดังกล่าวทำให้มีแนวคิดปรับลักษณะการจัดกิจกรรมเทศกาลสงกรานต์ในกรุงเทพฯ ให้ใช้น้ำน้อยที่สุด โดยอาจจัดกิจกรรมเพียง 3 วัน คือ วันที่ 13-15 เมษายน จากเดิมที่เริ่มจัดกิจกรรมตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน รวมถึงการร่วมจัดงานกับจังหวัดใกล้เคียงอย่างเช่น อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เป็นต้น

 

[ads]

              นอกจากนี้ จะมีการเสนอแนวทางให้ประชาชนเลือกร่วมงานที่ใดที่หนึ่ง โดยจะชี้ให้เห็นถึงความสำคัญที่ต้องประหยัดน้ำในปีนี้ ซึ่งแนวคิดนี้จะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการจัดงานเทศกาลสงกรานต์ 2559 เพื่อขอมติจากคณะกรรมการ ในการจัดหาแนวทางประหยัดน้ำที่เหมาะสมต่อไป 
 

 


               แต่อย่างไรก็ดี กรุงเทพฯ ได้สั่งการให้ทุกสำนักช่วยกันประหยัดน้ำ พร้อมกำชับให้สำนักงานเขต 50 เขต รณรงค์ให้ประชาชนประหยัดน้ำ เนื่องจากแต่ละวันในกรุงเทพฯ พบว่า ประชาชนมีการใช้น้ำประปาประมาณ 2 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวัน ซึ่งควรลดให้ได้ร้อยละ 20

              ขณะที่ นายอดิศักดิ์ ขันตี ที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. ในฐานะดูแลเรื่องการระบายน้ำ กล่าวว่า กรุงเทพฯ ได้ประสานการทำงานกับการประปานครหลวง (กปน.) อย่างใกล้ชิด ซึ่งทาง กปน. ได้เพิ่มการผลิตน้ำประปาในฝั่งแม่น้ำแม่กลองและจากคลองมหาสวัสดิ์เพิ่มขึ้น ประมาณวันละ 40 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อลดการสูบน้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ค่อนข้างไหลผ่านเข้าพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลในปริมาณน้อย ซึ่งแหล่งน้ำทั้ง 2 แห่ง ยังมีปริมาณน้ำมากเพียงพอต่อการผลิตน้ำประปาในช่วงเดือนเมษายนนี้

 

ขอบคุณที่มาจาก มติชนออนไลน์

 

[ads=center]

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: