หยุดแชร์กันได้แล้ว ‘ยา-มาม่าแว็กซ์’ เพจดัง-นักวิทย์-อย. คอนเฟิร์มแล้วว่าข้อมูลมั่ว-ล้าสมัย!!





12494977_10153955282383291_2890526641875072713_n

ภาพประกอบจาก Drama-addict

 

จากที่มีการแชร์ข้อมูลในกรุ๊ปไลน์-เฟซบุ๊กเกี่ยวกับมาม่าที่เป็นแว็กซ์และยาที่เป็นอันตราย ทั้งเพจดังอย่างDrama-Addict ซึ่งแอดมินเป็นแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์อย่าง อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ต่างก็ลงความเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่า นี่คือข้อมูลที่มั่วสิ้นดี !
 

โดยเพจ Drama-Addict ได้อ้างอิงประกาศ อย. ถึงเรื่องยา จากลิ้งค์ http://pr.moph.go.th/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=69974 ซึ่งประกาศในลิ้งค์ดังกล่าวมีใจความดังนี้


—————————

อย.เผยเพิกถอนยาที่มีส่วนผสมของ PPA แล้วตั้งแต่ปี 2544 เตือนอย่าหลงเชื่อข้อมูลทาง Social media

 

phpw2k3qfqrz

อย.แจงกรณีข้อความส่งต่อทาง Line เกี่ยวกับการเพิกถอนยาฟีนิลโปรปาโนลามีน (PPA) เผยเป็น เรื่องเก่า เพราะมีการประกาศเพิกถอนทะเบียนยาทุกตำรับที่มีส่วนผสมของ PPA ไปแล้วตั้งแต่ ปี 2544 เนื่องจาก ยา PPA อาจเป็นสาเหตุทำให้ผู้ใช้ยาเกิดภาวะเลือดออกในสมอง ผู้ที่ได้รับยานี้อาจไม่ได้รับความ ปลอดภัยจากการใช้ยา ยืนยันไม่มีตำรับยาที่มีส่วนผสมของยาฟีนิลโปรปาโนลามีนอยู่เลยในประเทศไทย เป็นเวลากว่า 13 ปีแล้ว เตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อข้อมูลที่มีการส่งต่อผ่านทาง Social media

 

ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า จาก กรณีที่มีการส่งต่อข้อมูลผ่านทาง Line ข้อความ “ประกาศเพิกถอนยา ขณะนี้อนุกรรมการควบคุมอันตราย จากการใช้ยา ได้มีมติในรอบแรกว่าให้เพิกถอนยาที่มีส่วนผสมของยาฟีนิลโปรปาโนลามีน (PPA) ซึ่งมีผลทำให้ เลือดออกในสมองได้ ซึ่งมีรายชื่อดังต่อไปนี้ 1.ทิฟฟี่ 2.ดีคอลเจน 3.นูต้า 4.นูต้าโคล 5.ทิพทอพ 6.ฟาโคเจน 7.โคลัยซาล 8.ไดมีเท็ป”นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอแจ้งว่าข้อความดังกล่าวเป็นเรื่อง เก่า โดยในปี พ.ศ. 2543   อย.พบรายงานอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาฟีนิลโปรปาโนลามีน หรือ PPA ว่า อาจเป็นสาเหตุทำให้ผู้ใช้ยาเกิดภาวะเลือดออกในสมองได้ ซึ่งเป็นอาการอันไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรง เมื่อเกิดขึ้น แล้วไม่สามารถแก้ไขให้คืนดีดังเดิมได้ จึงได้สั่งให้ผู้ผลิตยา และผู้นำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักรแก้ไข ทะเบียนตำรับยาที่มีส่วนผสมของตัวยาฟีนิลโปรปาโนลามีน หรือ เกลือของฟีนิลโปรปาโนลามีน โดยตัดออก จากตำรับยาทุกตำรับ ให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน ตามคำสั่งกระทรวงสาธารณสุขที่ 1140/2543 เรื่อง แก้ไข ทะเบียนตำรับซึ่งมียาฟีนิลโปรปาโนลามีน สั่ง ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2543 โดยเมื่อพ้นกำหนดเวลา ดังกล่าวแล้วทะเบียนตำรับยาที่ไม่ได้ตัดตัวยาฟีนิลโปรปาโนลามีนออกจากสูตรตำรับ อย. ได้ดำเนินการ เพิกถอนทะเบียนตำรับแล้ว ซึ่งมีผลยกเลิกทะเบียนตำรับยาตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2544

 

สำหรับตัวยาที่มีการจำหน่ายตามท้องตลาดอยู่ในขณะนี้ได้มีการปรับสูตรยาให้เป็นตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขแล้ว และขอยืนยันว่าไม่มีตำรับยาที่มีส่วนผสมของยาฟีนิลโปรปาโนลามีนอยู่เลยในประเทศไทยเป็นเวลากว่า 13 ปี แล้ว ซึ่งรวมไปถึงตัวยาที่มีชื่อเผยแพร่ส่งต่อนั้นด้วย จึงขอให้ผู้บริโภควางใจ และ ขอเตือนอย่าได้หลงเชื่อข้อมูลที่มี การส่งต่อผ่านทาง Social media เพราะเป็นข้อมูลที่ไม่ปรากฏแหล่งที่มาและหลักฐานที่แน่ชัด

 

อย่างไรก็ตาม การเลือกซื้อยาทุกครั้งต้องดูเลขทะเบียนตำรับยาที่แสดงอยู่บนฉลาก ดูวันผลิตและวัน หมดอายุบนฉลาก ไม่ควรซื้อยาที่หมดอายุเพราะนอกจากใช้ไม่ได้ผลแล้ว อาจทำให้เกิดอันตรายได้อีกด้วย ควร ซื้อยาที่มีฉลาก และเอกสารกำกับยาครบถ้วน มีตัวหนังสืออ่านได้ชัดเจน ภาชนะบรรจุอยู่ในสภาพที่เรียบร้อย ยาที่บรรจุอยู่ก็ต้องมีสภาพดี สมบูรณ์

 

ทั้งนี้ หากผู้บริโภคพบเห็นการกระทำที่ผิดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ สุขภาพ หรือได้รับอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ขอให้ร้องเรียนมาได้ที่ สายด่วน อย.โทร. 1556 หรือ E-mail: [email protected] ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 และ ร้องเรียน ผ่าน Oryor Smart Application เพื่อ อย.จะดำเนินการปราบปราม และดำเนินคดีตามกฎหมายกับ ผู้กระทำผิดต่อไป รองเลขาธิการฯ อย.กล่าวในที่สุด

—————————-

 

ในขณะที่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่กุข่าวกันขึ้นมาว่าเคลือบแว็กซ์ อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ก็ได้ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวJessada Denduangboripant ว่า "เคยโพสต์หลายทีแล้วครับ ว่าเรื่องสารพิษในมาม่านั้นไม่จริง แว็กซ์ในถ้วยก็ไม่จริงเพราะมันเป็นพลาสติกคุณภาพสูงฉีดลงกระดาษ ไม่ใช่แว็กซ์ ส่วนเรื่องยา นั่นมันสูตรเก่า เลิกใช้สูตรนั้นไปหลายปีแล้วครับ สงสารมาม่านะ ยิ่งขายแย่ๆอยู่ เศรษฐกิจอย่างนี้"
 

และในโพสต์เดียวกันของ อ.เจษฎานี้เอง ก็มีชาวเน็ตแชร์ข้อมูลสนับสนุน อ.เจษฎาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะข้อสงสัยที่ว่าเส้นบะหมี่กรอบๆ แท้จริงแล้วไม่ใช่การเคลือบแว็กแต่อย่างใด มันคือหมี่ที่ผ่านการใส่น้ำซุป(จึงมีรสชาติเค็มนิดๆ) และทอดด้วยน้ำมันปาล์มต่างหาก ดังในคลิปรายการ กบนอกกะลา คลิปนี้ ตั้งแต่นาทีที่ 13.00 เป็นต้นไป
 

https://youtu.be/nMXdXwJJDxM?t=13m
ขอบคุณคลิปโดย nobei66

 

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่ายาอันตรายที่แชร์กันอยู่นี้ไม่เป็นจริง เพราะสูตรยาไม่มีตำรับยาที่มีส่วนผสมของยาฟีนิลโปรปาโนลามีนอยู่เลยในประเทศไทย เป็นเวลากว่า 13 ปีแล้ว ในขณะที่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็วางใจได้ว่าไม่มีการเคลือบแว็กซ์แต่อย่างใด ก้อนบะหมี่ก็เป็นแป้งที่ผ่านกระบวนการทอดเพื่อให้กรอบเป็นธรรมดา ภาชนะบรรจุก็เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ไม่มีอันตรายต่อสุขภาพแต่อย่างใด ข้อมูลสุขภาพใดๆ ก็ตาม อย่าเพิ่งเชื่อแล้วแชร์ ตรวจสอบให้ดี มันอาจะเป็นข้อมูลมั่วที่กุขึ้นมาเฉยๆ ไม่มีข้อเท็จจริงมารองรับ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: