“สุชาติ สวัสดิ์ศรี” ซัด “ประธานสภา” อ่อนแอ หลังที่ประชุมรัฐสภามีมติไม่โหวตชื่อพิธา ซ้ำรอบ 2

Advertisement จากกรณีที่ประชุมรัฐสภา มีมติไม่โหวตชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) เป็นนายกรัฐมนตรีซ้ำเป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 นั้น Advertisement เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม หลังการประชุมรัฐสภา นายสุชาติ สวัสดิ์ศรี หรือสิงห์สนามหลวง อดีตศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ.2554 โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า “ผมไม่มีความรู้เรื่องกฎหมายเลย แต่เหมือนจะรู้สึกว่า เรื่อง ‘พิธา’ ในวันนี้นั้น ต้องขอบอกว่า ‘ประธานสภา’ อ่อนแอมาก” Advertisement   ข่าวจาก : มติชน

“พล.ท.พงศกร” ชี้ ถ้าประธานสภาไม่ใช่ก้าวไกล จะโหวตพิธาได้รอบเดียว

1 กรกฎาคม 2566 พล.ท.พงศกร รอดชมภู อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก มีความว่า วันพรุ่งนี้ไม่ว่าการเจรจาระหว่างสองพรรคใหญ่จะออกมาอย่างไร ขอให้คิดไว้เสมอว่าที่ประชาชนลงคะแนนให้จนชนะฝ่าย 2 ลุงมาได้อย่างเด็ดขาดนั้น ก็เพื่อให้มาช่วยกันถอนราก ถอนโคน เครื่องมือ กลไก ในการครองอำนาจของฝ่ายอำนาจนิยม พรรคการเมืองที่อนุรักษ์นิยมจนออกนอกหน้าแทบไม่มีใครเลือก ไม่มีผู้แทนเข้ามาได้เลยเป็นส่วนใหญ่ พรรคการเมืองฝ่ายอำนาจนิยมสนับสนุน คสช.หรือเป็นนั่งร้านให้แทบหมดจากเวทีการเมือง เรื่องนี้เป็นเจตจำนงของประชาชน ควรเอาตรงนี้เป็นตัวตั้ง และเข้าใจความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกัน แม้นโยบายและแนวทางของสองพรรคจะแตกต่างกันเป็นฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย ก็ควรมาแข่งกันในการเลือกตั้งรอบหน้า รอบนี้เอาประชาชนก่อน ในส่วนของพิธา ถ้าประธานสภาไม่ใช่ของก้าวไกล คงมีโอกาสเสนอเพียงครั้งเดียว ไม่มีโอกาสที่ประชาชนจะแสดงเจตจำนงที่หนักแน่นสนับสนุนจน ส.ว.เปลี่ยนใจได้เพราะยังไม่มีเหตุ ซึ่งเข้าใจได้ถึงการชิงเหลี่ยมทางการเมืองแบบคนเก๋าเกมส์เขาทำกันในการเมืองแบบที่ผ่าน ๆ มา คำถามคือ ประชาชนอยู่ตรงไหน เพราะโพลที่ถามว่าคนไม่เอาพิธามีน้อยที่สุด และต้องการพิธาก็มาอันดับหนึ่ง ปล่อยไปตามครรลองจะดีกว่าไหม เพราะไม่ว่าใครจะมาแทนพิธาก็จะปกครองด้วยความยากลำบากทั้งนั้น ในฝั่งของพี่ป้อมถ้ารวบรวมเสียงได้ ก็ต้องเอาจากฝั่งที่ประชาชนเลือกให้มาเลิกระบอบ คสช.หากฝืนเข้ามาจะอลหม่านหนัก ในฝั่งกันเอง ถ้าให้พิธารอบเดียว ในเวลานั้นหากบังเอิญพี่ป้อมยังไม่ผ่านซึ่งเป็นไปได้ยาก ขั้นที่สามนี้จะกลับมาที่ฝั่ง 8 พรรคก็ต้องเป็นเพื่อไทย เกิดทางผู้มีอำนาจต้องการทำลายพรรคเพื่อไทยก็ง่าย แค่ให้ ส.ว.และ บางส่วนในพรรคฝ่ายรัฐบาลที่เป็นของ […]

เปิดประวัติศาสตร์ รู้หรือไม่? ไทยเคยมีประธานสภาอายุน้อยที่สุด36ปี

ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือ ประธานสภา ถือเป็นตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายนิติบัญญัติในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาและเป็นผู้นำของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หน้าที่คือ เป็นประธานของที่ประชุม ต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ กำกับดูแลการดำเนินกิจการของสภา ควบคุมการรักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุม ตลอดถึงบริเวณสภา เช่น การยุติการอภิปรายของสมาชิก ส.ส. มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรก เมื่อปีพุทธศักราช 2475 ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวรวมจำนวน 25 คน ดังนี้ 1.เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) 13. นายอุทัย พิมพ์ใจชน 2. เจ้าพระยาพิชัยญาติ 14. นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ 3. พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (พลเรือ ตรีกระแส ประวาหะนาวิน) 15. นายชวน หลีกภัย 4. เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิต ณ สงขลา) 16. นายปัญจะ เกสรทอง 5. พระยามานวราชเสวี (วิเชียร ณ สงขลา) […]

error: