เริ่มแล้ว! บัตรประชาชนทางดิจิทัล ใช้แทนบัตรจริงได้

Advertisement นับตั้งแต่วันนี้ไป คนไทยสามารถใช้ บัตรประชาชนทางดิจิทัล (Digital ID) ซึ่งสามารถแสดงต่อเจ้าหน้าที่ได้โดยไม่ต้องพกบัตรตัวจริง นั่นหมายความว่าสามารถออกจากบ้านด้วยตัวและโทรศัพท์มือถือเพียงเครื่องเดียวได้แล้ว ไม่ต้องพกแม้กระทั่งบัตรประจำตัวประชาชน Advertisement กฎหมายบังคับให้คนไทยพกบัตรประชาชนติดตัว ตามกฎหมาย พระราชบัญญัติบัตรประจําตัวประชาชน พ.ศ.2526 มาตรา 5 กำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทยที่อายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์ และมีชื่ออาศัยอยู่ในทะเบียนบ้านต้องมีบัตรประชาชนตามที่กําหนด อีกทั้งในมาตรา 17 ของกฎหมายดังกล่าว กำหนดไว้ว่า “ผู้ถือบัตรหรือใบรับหรือใบแทนใบรับซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบห้าปีขึ้นไป ผู้ใดไม่สามารถแสดงบัตรหรือใบรับหรือใบแทนใบรับเมื่อเจ้าพนักงานตรวจบัตรขอตรวจ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท” ดังนั้น ตามกฎหมายแล้ว ผู้ที่ถือบัตรประจำตัวประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป มีหน้าที่ต้องพกบัตรประชาชนติดไว้กับตัวเสมอ และแสดงบัตรประจำตัวกับเจ้าพนักงานตรวจบัตรเมื่อถูกขอตรวจ มิเช่นนั้นจะมีโทษปรับ 200 บาท โดยถือว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของ “เจ้าพนักงานตรวจบัตร” ที่สามารถขอตรวจได้ตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม กับกรณีที่เด็กอายุ 7-14 ปี สามารถทำบัตรประชาชนได้ ซึ่งเป็นการให้ทำไว้ก่อน แต่ไม่ได้บังคับให้ต้องพกติดตัวตามกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งโทษปรับ 200 บาทตามกฎหมายดังกล่าว ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นในปี พ.ศ.2542 […]

error: