สศช.ห่วงสถานะ “กองทุนประกันสังคม” ทรุด รายรับ-จ่าย เริ่มมีปัญหา

Advertisement สถานการณ์ของ “กองทุนประกันสังคม” นับเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญสำหรับคุ้มครองดูแลผู้ประกันตนและลูกจ้างให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนด แต่ล่าสุดดูเหมือนว่ากองทุนกำลังประสบปัญหา เห็นได้จากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานภาวะสังคมไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2567 พบว่า กองทุนฯ มีแนวโน้มที่จะต้องจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญให้แก่ผู้ประกันตนที่เกษียณอายุ ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอนาคต Advertisement สวนทางกับแนวโน้มจำนวนแรงงานรุ่นใหม่ ที่จะมีบทบาทในการส่งเงินสมทบเข้าสู่กองทุนฯ ที่ลดลง โดยข้อมูลจากผลการศึกษางบประมาณด้านการคุ้มครองทางสังคมของประเทศไทย (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2566) พบว่า ช่องว่างระหว่างรายรับและรายจ่ายของกองทุนประกันสังคมมาตรา 33 และมาตรา 39 มีแนวโน้มลดลงอย่างมาก โดยในปี 2556 สัดส่วนรายจ่ายต่อรายรับอยู่ที่ 34.6% เพิ่มขึ้นเป็น 73.4% ในปี 2564 ถ้าพิจารณาถึงเงินรายรับและรายจ่าย ย้อนหลังไป 3 ปี ตั้งแต่ปี 2562 – 2564 จะพบว่าช่องว่างเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2565 รายรับอยู่ที่ 3 แสนล้านบาท ส่วนรายจ่ายอยู่ที่ 1.1 แสนล้านบาท ก่อนจะลดลงมาในปี 2563 […]

ประกันสังคม กำลังเสี่ยง เงินบำนาญชราภาพ มีคนรับมากกว่าคนจ่าย

จำนวนผู้ประกันตน ประกันสังคม ข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม(สปส.) ระบุว่า ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมทั่วประเทศ ณ เดือนเม.ย. 2567 จำนวนทั้งสิ้น 24,602,082 คน  แยกเป็น ผู้ประกันตนมาตรา 33 ลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป มีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ อายุไม่เกิน 60 ปี บริบูรณ์ โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์คุ้มครอง 7 กรณี คือ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ ว่างงาน จำนวน 11,857,864 คน ผู้ประกันตนมาตรา 39 ลูกจ้างที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครอง 6 กรณี คือ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย […]

สปส. แจงเรียกคืนเงินเยียวยาโควิด ม.40 เกิดจากการซับซ้อนสิทธิ

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน – Social Security Office ระบุ จากกรณีที่สื่อมวลชนนำเสนอข่าวเกี่ยวกับการเรียกคืนเงินตามโครงการเยียวยาบรรเทาความเดือดร้อนให้ผู้ประกอบอาชีพอิสระ (ผู้ประกันตนมาตรา 40) ในช่วงวิกฤตโควิด นางนิยดา เสนีย์มโนมัย โฆษกสำนักงานประกันสังคม ขอเรียนชี้แจงว่าการพิจารณาจ่ายเงินเยียวยาให้ผู้ประกันตนต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ได้รับอนุมัติเงินจากรัฐบาล ในส่วนของการเยียวยาผู้ประกันตนตามมาตรา 40 มีเงื่อนไขสำคัญที่จะต้องพิจารณาได้แก่ สถานะความเป็นผู้ประกันตนในช่วงที่มีการอนุมัติโครงการ พื้นที่ที่ประกอบอาชีพหรือพักอาศัยอยู่ในขณะนั้น ต้องอยู่ในพื้นที่สีแดงตามประกาศของรัฐ ซึ่งมีการทยอยประกาศเป็นระลอก รวมทั้งสิ้น 29 จังหวัด การจ่ายเงินสมทบต้องอยู่ในช่วงระยะเวลาตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการ สำนักงานประกันสังคมได้เร่งดำเนินการจ่ายเงินเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ประกันตน แต่เนื่องจากเงื่อนไขการได้รับสิทธิที่ซับซ้อนดังกล่าว ประกอบกับจำนวนผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้เพิ่มขึ้นจากจำนวน 3.6 ล้านคน เป็น 9.6 ล้านคน และในช่วงที่เปิดโอกาสให้ผู้สมัคร ม.40 รายใหม่รับสิทธิเยียวยาได้ จึงจำเป็นต้องใช้ระบบ IT ในการประมวลผลตรวจสอบสิทธิ์ เพื่อโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารให้ผู้ประกันตนได้อย่างรวดเร็วบรรเทาความเดือดร้อนได้ทันการณ์ แต่เนื่องจากงบประมาณที่ใช้ดำเนินการมาจากโครงการเงินกู้ของรัฐบาลดังนั้นเมื่อเสร็จสิ้นโครงการเยียวยา จะต้องตรวจสอบและรายงานผลการดำเนินงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากการสอบทานข้อมูลการดำเนินงานโดยละเอียด พบว่าเงื่อนไขการเกิดสิทธิที่ซับซ้อนทำให้มีการจ่ายเงินเกินสิทธิให้กับผู้ประกันตน จึงจำเป็นต้องแจ้งผู้ประกันตนให้ดำเนินการส่งคืนเงินดังกล่าว หากผู้ประกันตนไม่สามารถส่งคืนเงินได้ในคราวเดียวสามารถดำเนินการขอผ่อนชำระเป็นรายงวดได้ โดยขอให้ติดต่อสำนักงานประกันสังคมพื้นที่ /จังหวัด/สาขา ที่รับผิดชอบต่อไป   ข่าวจาก : […]

ผู้ประกันตน ม.33 39 40 ส่งเงินสมทบประกันสังคม สามารถนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่กรมสรรพกรเปิดให้ผู้มีรายได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทางเอกสาร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 – 31 มีนาคม 2567 และทางออนไลน์ สามารถยื่นได้ถึง 9 เมษายน 2567 นั้น ซึ่งผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน สามารถนำเงินสมทบมาคำนวณลดหย่อนภาษีได้ รายละเอียดมีดังนี้ ผู้ประกันตนมาตรา 33 สามารถนำเงินสมทบมาลดหย่อนภาษีตามยอดจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท ผู้ประกันตนมาตรา 39 สามารถนำเงินสมทบมาลดหย่อนภาษีตามยอดจริง สูงสุดไม่เกิน 5,184 บาท ผู้ประกันตนมาตรา 40 สามารถนำเงินสมทบมาลดหย่อนภาษีตามยอดจริง สูงสุดไม่เกิน 3,600 บาท โดยผู้ประกันตนมาตรา 33 สามารถขอหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย 50 ทวิ […]

ผู้ประกันตน ม.33 ,39 ยืนยันตัวตนบริการทำทันตกรรม เริ่ม 1 มี.ค.67

ผู้ประกันตนมาตรา 33 , 39 ยืนยันตัวตน สำนักงานประกันสังคม ได้แจ้งสิทธิสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ มาตรา 39 เข้ารับบริการทางการแพทย์ (กรณีทันตกรรม) สถานพยาบาลที่ทำความตกลงสำนักงานประกันสังคม ยืนยันตัวตน กรณีผู้ประกันตนสัญชาติไทย ขอให้พกบัตรประชาชน (ตัวจริง) เพื่อยืนยันการใช้สิทธิกรณีทันตกรรม ณ สถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคม กรณีผู้ประกันตนที่ไม่มีสัญชาติไทย  ขอให้พกโทรศัพท์มือถือ เพื่อยืนยันการใช้สิทธิกรณีทันตกรรม โดยรับรหัสผ่านแบบใช้ครั้งเดี่ยวในการใช้สิทธิ (OTP) 1 เบอร์ 1 สิทธิ ณ สถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคม เริ่ม 1 มีนาคม 2567   ข่าวจาก : ฐานเศรษฐกิจ

“ประกันสังคม” สรุปการขอรับประโยชน์ทดแทนผ่านออนไลน์ 6 ขั้นตอน

สำนักงานประกันสังคม อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกันตนมาตรา 33 และ มาตรา 39 ด้วยบริการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนอิเล็กทรอนิกส์ e-Self Service เพื่อให้ผู้ประกันตนยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนผ่านทางเว็บไซต์ได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยสามารถยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนได้ด้วยตนเองในกรณีต่าง ๆ อาทิ กรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และกรณีว่างงาน ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ e-Self Service ง่าย ๆ ใน 6 ขั้นตอน ประโยชน์ทดแทนที่ยื่นได้ 1.ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย 2.คลอดบุตร 3.ทุพพลภาพ 4.เสียชีวิต 5.สงเคราะห์บุตร 6.ชราภาพ 7.ว่างงาน ขั้นการขอรับประโยชน์ทดแทนแบบออนไลน์ ขั้นตอนที่ 1 เข้าเว็บไซต์ประกันสังคม www.sso.go.th เข้าสู่ระบบผู้ประกันตน ขั้นตอนที่ 2 สมัครสมาชิก หรือ ใส่รหัสเพื่อเข้าสู่ระบบกรณีเคยสมัครสมาชิกแล้ว ขั้นตอนที่ 3 เลือกเมนู บริการด้วยตนเองผ่าน “ระบบ e-Self Service” ขั้นตอนที่ 4 เลือกเมนู […]

เปิดหน้าที่ “บอร์ดประกันสังคม” หลังได้ชุดใหม่จากการเลือกตั้ง

เปิดหน้าที่ “บอร์ดประกันสังคม” หรือคณะกรรมการประกันสังคม หลังได้ชุดใหม่จากการเลือกตั้งครั้งแรกของประเทศ เปิดหน้าที่ “บอร์ดประกันสังคม” 1. เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรี เกี่ยวกับโยบายและมาตรการในการประกันสังคม 2. พิจารณาให้ความเห็นต่อรัฐมนตรีในการตรา พ.ร.ก.การออกกฎกระทรวงและระเบียบต่างๆ 3. วางระเบียบโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินของกองทุน 4. วางระเบียบโดยความเห็นของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุน 5. พิจารณางบดุลและรายการรับเงินของกองทุน และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของสำนักงาน ในส่วนที่เกี่ยวกับการประกันสังคม 6. ให้คำปรึกษาและแนะนำแก่คณะกรรมการอื่นหรือสำนักงาน 7. ปฏิบัติการอื่นใด ตามที่กฎหมายหรือตามที่รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานมอบหมาย กองทุนประกันสังคม มีเงินสะสมอยู่ที่ 2.3 ล้านล้านบาท คือ กองทุนที่รัฐบาลไทยจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตให้แก่ลูกจ้างที่มีรายได้ในประเทศ ใช้บังคับกับสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ซึ่งนายจ้าง และลูกจ้างต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนฝ่ายละเท่า ๆ กัน โดยเงินสมทบที่ได้มาจะถูกนำไปจัดตั้งเป็นกองทุนและจ่ายเป็นผลประโยชน์ทดแทน หรือให้ความคุ้มครองความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลและมีการทดแทนรายได้อย่างต่อเนื่อง ศาสตราจารย์ ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น […]

ผลการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม อย่างไม่เป็นทางการ ครบ100%

การเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ดประกันสังคม) ครั้งแรกของประเทศไทย ในวันที่ 24 ธันวาคม 2566 เพื่อสรรหาผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนเป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม โดยได้เริ่มมาตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.00 น. ซึ่งเป็นการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้าง 7 คน และผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน 7 คน เพื่อเป็นกรรมการในบอร์ดประกันสังคม ที่จะเข้าไปดูแลงบประมาณ และร่วมตัดสินใจนโยบายการประกันสังคมของประเทศ หลังปิดหีบ ในเวลา 16.00 น. พบว่า มีนายจ้างมาใช้สิทธิ จำนวน 1,465 คน จากผู้ลงทะเบียน จำนวน 3,129 คน คิดเป็นร้อยละ 46.82 และผู้ประกันตนมาใช้สิทธิ จำนวน 156,870 คน จากผู้ลงทะเบียน จำนวน 854,414 คน คิดเป็นร้อยละ 18.36 สำหรับ ผลการนับคะแนนเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ดประกันสังคม) อย่างไม่เป็นทางการ การนับคะแนนผู้แทนฝ่ายนายจ้าง นับแล้วร้อยละ 100 ณ […]

ประกันสังคมมาตรา 33 ปี 67 จ่ายเงินสมทบอัตราใหม่กี่บาท

ปัจจุบันกองทุนประกันสังคมได้กำหนดค่าจ้างขั้นสูงไว้สำหรับคำนวณเงินสมทบทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนมาตรา 33 (ม.33) ไว้ไม่เกิน 15,000 บาท ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 และกำหนดให้ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบสูงสุดที่ 750 บาท/เดือน การจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ม. 33 ปัจจุบัน เงินเดือน 5,000 บาท จ่ายเงินสมทบ 250 บาท เงินเดือน 10,000 บาท จ่ายเงินสมทบ 500 บาท เงินเดือน 15,000 บาท จ่ายเงินสมทบ 750 บาท เงินเดือนมากกว่า 15,000 บาท จ่ายเงินสมทบ 750บาท ทั้งนี้ หลังจากที่ กระทรวงแรงงาน ได้ออกร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ……โดยสาระสำคัญของร่างกฎหมายเป็นการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ….มีการปรับฐานค่าจ้างขั้นสูงจาก 15,000 ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567- 31 ธันวาคม 2569 จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ […]

ผู้ประกันตน ‘ม.33-39’ รักษามะเร็งฟรี ถ้าใช้เคมีบำบัด-ฉายรังสี เบิกได้ 5 หมื่นต่อปี

9 พ.ย. 2566 นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน ให้การคุ้มครองด้านการรักษาโรคมะเร็งแก่ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 โดยไม่มีค่าใช้จ่ายจนสิ้นสุดการรักษาหากเข้ารับการรักษาตามแนวทางที่กำหนด (Protocol) อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ไม่สามารถรักษาตามแนวทางที่กำหนด และมีความจำเป็นที่ต้องให้การรักษาด้วยยารักษาโรคมะเร็งและหรือเคมีบำบัดและหรือรังสีรักษา ให้สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกิน 50,000 บาทต่อรายต่อปี นายคารม กล่าวอีกว่า สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 ที่ตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็ง สามารถเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งได้ 20 ชนิด ประกอบด้วย 1. โรคมะเร็งเต้านม 2. โรคมะเร็งปากมดลูก 3. โรคมะเร็งรังไข่ 4. โรคมะเร็งมดลูก 5. โรคมะเร็งโพรงหลังจมูก 6. โรคมะเร็งปอด 7. โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ใหญ่ตรง 8. โรคมะเร็งหลอดอาหาร 9. โรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี 10. โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ 11. โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก […]

1 2
error: