ไขปริศนา“กล่องดำ” ทำจากอะไร? ทำไมถึงได้ทนทานนัก และมีความสำคัญอย่างไร?เวลาเครื่องบินตก





   ความลึกลับของกล่องดำที่ทุกคนอยากจะรู้นั้น ก็คือข้อมูลที่ถูกบันทึกอยู่ภายในกล่องเสียมากกว่า เพราะจริงๆ แล้ว 'กล่องดำ' นั้น มีสีส้มสดใสและสะท้อนแสงเด่นสะดุดตา เพื่อให้หน่วยกู้ภัยสามารถค้นหาได้ง่ายยิ่งขึ้นในกองซากเครื่องบิน

 

[ads]

      

       กล่องดำ (black box) บรรจุอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยในการลำดับเหตุการณ์ของอุบัติเหตุทางการบิน มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ "Flight Data Recorder (FDR)" เป็นแบบที่บันทึกรูปแบบการบินในขณะทำการบินเป็นค่าของตัวแปรต่างๆ เช่น เพดานบิน ความเร็ว ความเร็วลม เป็นต้น และ "Cockpit Voice Recorder (CVR)" เป็นแบบที่บันทึกเสียงและสัญญาณวิทยุภายในห้องนักบิน เช่น เสียงสนทนาของนักบิน เสียงสัญญาณเตือนภัย เสียงเครื่องยนต์ เป็นต้น

image

       อุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งบนเครื่องบิน โดยกล่องดำจะอยู่ส่วนปลายของเครื่อง

       

fdr-and-cvr-of-aircrafts-9-638

   กล่องดำทั้ง 2 แบบจะมีเครื่องระบุตำแหน่งเพื่อการค้นหาใต้น้ำ เรียกว่า "Underwater Locator Beacon (ULB)" อยู่ด้วย เพื่อใช้สำหรับในกรณีที่เครื่องบินเกิดอุบัติเหตุเหนือน้ำ และตกลงไปในน้ำ อุปกรณ์ที่เรียกว่า "pinger" จะส่งคลื่นเสียงความถี่ 37.5 กิโลเฮิรตซ์ เพื่อแจ้งตำแหน่งไปยังอุปกรณ์ค้นหาสัญญาณที่เรียกว่า "Pinger Locator System (PLS)" อุปกรณ์นี้สามารถส่งสัญญาณได้จากความลึกมากถึง 14,000 ฟุตและส่งสัญญาณได้นานถึง 30 วันเลยทีเดียว      

       กล่องดำรอดจากอุบัติเหตุมาได้อย่างไรนั้นต้องยกนิ้วให้ "Crash-Survivable Memory Units (CSMUs)" ซึ่งห่อหุ้มอุปกรณ์บันทึกข้อมูล FDR และ CVR ไว้ได้อย่างดีเยี่ยม มีความทนทานต่อความร้อนสูง ทนการกระแทกอย่างรุนแรง และทนต่อแรงกดดันได้มหาศาล ในสภาวะที่เครื่องบินเกิดอุบัติเหตุตกกระแทกพื้นหรือการระเบิด

        โครงสร้างของกล่อง CSMUs ประกอบด้วยวัสดุ 3 ชั้น คือชั้นในสุดทำจากแผ่นอลูมิเนียมบางๆ ห่อหุ้มอุปกรณ์บันทึกข้อมูล (memory cards) ไว้ ชั้นที่สองเป็นฉนวนที่ทนอุณหภูมิสูงมากทำจากซิลิกา มีความหนาประมาณ 1 นิ้ว ช่วยป้องกันความร้อนจากไฟไหม้หลังจากเกิดอุบัติเหตุ และชั้นที่สามทำด้วยเหล็กกล้าไร้สนิมทนความร้อนสูง มีความหนา 0.25 นิ้ว ซึ่งบางบริษัทผู้ผลิตได้ใช้วัสดุไททาเนียมแทนก็มี

     

       CSMUs ต้องได้รับการทดสอบหลายขั้นตอนตามมาตรฐานก่อนที่จะถูกนำมาติดตั้งไว้ที่บริเวณหางของเครื่องบิน เช่น ทดสอบการยิงและการกระแทก (Crash impact) ทดสอบการทะลุทะลวง (Pin drop) ทดสอบการทนไฟ (Fire test) ทดสอบความกดดันใต้ทะเลลึก (Deep-sea submersion) ทดสอบความทนทานในระยะเวลานานๆ ในสภาพน้ำเค็มจัด (Salt-water submersion) ทดสอบการทนต่อสารเหลว เช่น น้ำมัน สารหล่อลื่นเครื่องยนต์ สารเคมีดับเพลิง เป็นต้น

blackbox_airasia_infografis_detiknews

 

[ads=center]

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: