กลเม็ดจัดการ “ภาษีสังคม”ที่ให้คุณได้ใช้ และได้เก็บในสูตรเดียว





ยุคนี้ ใครบ้างที่วัน ๆ จะทำงานแล้วกลับบ้าน โดยไม่มีการสังสรรค์ ทำบุญ หรือซื้อของขวัญให้บุคคลสำคัญในโอกาสต่าง ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เรียกว่า ภาษีสังคม คุณเคยคิดหรือเปล่า? ว่าในแต่ละเดือน คุณหมดเงินไปกับภาษีสังคมเหล่านี้เป็นจำนวนเท่าไหร่?  สิ่งนี้ก็เหมือนเงาตามตัว  โดยคุณจะเลือกอันไหนดีล่ะ? ระหว่างเก็บเงินแบบไม่สังสรรค์ หรือสังสรรค์แบบไม่เก็บเงิน? แต่ไม่ต้องกังวลไป มีประโยคหนึ่งกล่าวไว้ว่า คนจนจะมีความคิดที่เลือกได้หนึ่งอย่างเท่านั้น ในขณะที่คนรวยจะมีทัศนคติที่สามารถเลือกได้ทุกอย่างตามที่ตนอยากได้ ดังนั้น วันนี้เรามีเคล็ดลับปรับทัศนคติที่ได้ทั้งเก็บ ได้ทั้งให้ กับกลเม็ดจัดการภาษีสังคมโดยที่คุณคาดไม่ถึง ดังต่อไปนี้

 

[ads]

 

11077e2

1. ภาษีสังคมที่เกี่ยวข้องกับที่ทำงาน

   ไม่ว่าจะเป็น งานเลี้ยงฉลองปิดโปรเจกต์ งานสังสรรค์ทีมฉลองปีใหม่ หรือจะครบรอบวันเกิดของเพื่อน ๆ ในบริษัท เราลองตรวจสอบกับทางบริษัทดูว่า มีงบประมาณในส่วนนี้ให้หรือเปล่า หรือหากกรณีที่คุณต้องเป็นเจ้าภาพ ทั้งเต็มใจ หรือสถานการณ์อวยให้ก็ตาม  อาจให้คุณลองหางานเลี้ยงที่งบไม่บานตามที่เราคาดเอาไว้ก็ได้ เช่น การจัดเลี้ยงมื้อกลางวัน ซึ่งจะถูกกว่าฉลองมื้อเย็น นอกจากจะมีเวลาจำกัดที่ต้องกลับมาทำงานตอนบ่ายแล้ว ยังไม่มีแอลกอฮอล์ร่วมอีกด้วย การเลือกไปฉลองด้วยอาหารบุฟเฟ่ต์ที่มีราคา fix ต่อหัว จะช่วยให้จำกัดงบได้อีกหนึ่งวิธีเลยทีเดียว  หรือจะเป็นการสั่งอาหารมากินที่ออฟฟิศร่วมกันก็เป็นอีกทางเลือกที่ดีเช่นกัน  เพราะอย่าลืมว่าจุดประสงค์หลัก คือ การสังสรรค์ การมีกิจกรรมร่วมกันในทีม ถึงแม้คุณจะเป็นหัวหน้างาน ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้ามือทุกงานก็ได้

 

2. ภาษีสังคมเรื่องงานบุญ

   สภาวะหน้าที่การงานอันหนักหน่วง อาจต้องแสวงหาที่พึ่งทางใจอย่างงานบุญต่าง ๆ อาทิ งานกฐิน ผ้าป่า งานแต่ง งานศพ งานขึ้นบ้านใหม่ ฯลฯ อาจมีหลายครั้งที่เงินเป็นอุปสรรค์ขัดขวางทางบุญ ซึ่งเราต้องสร้างเป้าหมายก่อนที่จะใส่ซองงานบุญเอาไว้ว่า งานนี้เราทำบุญกับพระ หรืองานนี้เราทำบุญกับคน โดยการทำบุญพระนั่นหมายถึง การทำบุญโดยใช้ใจ เราสามารถออกแรงเป็นอาสาสมัครรวบรวม บอกบุญ หรือเดินทางไปเจริญบุญก็ได้ รวมทั้งจำนวนของปัจจัยนั้น ไม่ใช่ปัญหาในการคำนวณผลบุญ แต่ในขณะเดียวกัน การทำบุญกับคน โดยเฉพาะคนที่เป็นหัวหน้าแล้ว ทุกเม็ดทุกบาท จะส่งผลต่อความสัมพันธ์ของกันและกันเลยทีเดียว ดังนั้นเราอาจใช้หลักการสืบเสาะประมาณการว่าคนอื่นทำบุญกันเท่าไร จากนั้นเพิ่มขึ้นนิดหน่อยให้ไม่น่าเกลียด ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดีเช่นกัน

 

3. ภาษีสังคมกับเพื่อนร่วมแก๊งค์

   นาน ๆ ได้เจอที หรือเจอทุกวี่ทุกวัน ก็ไม่มีปัญหา แม้กระทั่งเมื่อเพื่อนของคุณอยู่ในกลุ่มเพื่อนติดหรูก็ตาม เพราะเราต้องมองที่วัตถุประสงค์หลักว่า เรามาเจอกันทำไม? การกินอาหารหรู ๆ อาจทำได้แต่ไม่ใช่ทุกรอบ เพราะนอกจากจะเอาเงินมาละลายให้หายไปภายในไม่กี่ชั่วโมงแล้ว ยังทำให้คุณอ้วนขึ้นอีกด้วย ดังนั้นเปลี่ยนจากการกินหรูมาเป็นการนั่งร้านกาแฟ ร้องคาราโอเกะ หรือนั่งตามบาร์ที่สามารถชมบรรยากาศสวย ๆ ในช่วงสุดสัปดาห์ ดูจะเป็นการผ่อนคลายในด้านของการพบเจอเพื่อน ผ่อนคลายอารมณ์ และผ่อนคลายความเครียดที่ช่วยรักษาเงินในกระเป่าให้อยู่จนถึงสิ้นเดือนได้อย่างดีเลยทีเดียว

 

จากการวิจัยทางจิตวิทยามีผลออกมาว่า การที่เรานำเงินมาช่วยเหลือคนอื่น หรือเติมเต็มความสุขของคนอื่น จะทำให้เรามีความสุขเพิ่มขึ้น ดังนั้น เงินที่เราหามาได้ และรู้จักให้ จะช่วยให้เงินนั้น สร้างมูลค่าความสุขให้เราเอง การให้โดยที่ไม่มีข้อข้องใจแม้กระทั่งเรื่องเงิน จะทำให้คุณสามารถให้คนอื่นได้อย่างเต็มใจมากขึ้น และเมื่อคุณเห็นรอยยิ้มของคนที่คุณให้ คุณก็จะมีหัวใจที่เติมเต็ม ด้วยเหตุนี้ คนรวยหลาย ๆ ท่าน จึงมักจะแบ่งเงินจำนวน 5 เปอร์เซ็นต์จากรายได้เอามาเป็นค่าภาษีสังคมต่าง ๆ และช่วยต่อยอดให้ผู้ด้อยโอกาสได้มีชีวิตที่ดีขึ้นนั่นเอง 

 

[ads=center]

 

ขอบคุณเนื้อหาจาก:ธนาคารกรุงศรีอยุธยา [online]www.krungsri.com

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: