สินเชื่อแก้หนี้นอกระบบธนาคารออมสิน-ธ.ก.ส เช็คเงื่อนไข คุณสมบัติที่นี่





หลังจากรัฐบาลเดินหน้าแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยถือเป็นวาระแห่งชาติที่รัฐฯพยายามจะช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ซึ่งในวันที่ 1 ธันวาคมเป็นต้นไป จะเปิดให้”ลงทะเบียนแก้หนี้นอกระบบ” โดยลูกหนี้สามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ (คลิกที่นี่) หรือ โทรไปที่ศูนย์ดำรงธรรม หรือ ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบในอำเภอต่างๆ หรือ ตามสำนักงานเขตทุกแห่งในกทม.

หลังจากลูกหนี้ลงทะเบียนแก้หนี้นอกระบบแล้ว รัฐฯจะเป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ยระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ และจะมีการทำสัญญาที่เป็นธรรมถูกต้องตามกฎหมายและจะมีฐานข้อมูลกลาง แทรคกิ้งไอดีติดตามผลได้ ขณะเดียวกันกระทรวงการคลังก็จะมาดูแลต่อหลังจากไกล่เกลี่ยกันเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตามหากลูกหนี้ต้องการแก้หนี้นอกระบบก็สามารถที่จะเข้าไปศึกษาข้อมูลหรือขอสินเชื่อจากธนาคารของรัฐฯทั้ง 2 แห่งอย่าง ธนาคารออมสินและ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธ.ก.ส. โดยมีโครงการต่างๆที่น่าสนใจดังนี้

ธนาคารออมสิน

ชื่อโครงการ

  • สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชนเพื่อแก้ไขหนี้นอกระบบ

วัตถุประสงค์

  • เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบที่เกิดจากการประกอบอาชีพ หรือการอุปโภคบริโภค แต่ต้องไม่เป็นการนำไปชำระ (Re-Finance) หนี้ในระบบ

รายละเอียดสินเชื่อวงเงินกู้

  • ให้กู้ตามมูลหนี้นอกระบบจริง และตามความสามารถในการชำระหนี้ ไม่เกินรายละ 50,000 บาท
  • อัตราดอกเบี้ย
  • อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) ร้อยละ 1 ต่อเดือน
  • ค่าธรรมเนียม
  • 100 บาท ต่อสัญญา
  • ระยะเวลาการชำระ
  • ชำระคืนในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี

รายละเอียด-คุณสมบัติผู้สมัคร 

  • เป็นผู้ที่มีการประกอบอาชีพ มีรายได้
  • สัญชาติไทย มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป เมื่อรวมอายุของผู้กู้กับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ ต้องไม่เกิน 65 ปี
  • มีถิ่นที่อยู่แน่นอน มีสถานที่ประกอบอาชีพ สามารถติดต่อได้
  • เป็นผู้ลงทะเบียนหนี้นอกระบบ (นร.1) สามารถลงทะเบียนได้ในวันที่ขอกู้จากธนาคาร

หลักประกันเงินกู้

  • ใช้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นหลักประกันเงินกู้

เอกสารประกอบการขอกู้

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านผู้กู้ และผู้ค้ำประกันเอกสารแสดงรายได้ในการประกอบอาชีพ สมุดบัญชีเงินฝาก สลิปเงินเดือน (ถ้ามี)
  • เอกสารรายรับ/รายจ่าย (ถ้ามี)
  • รูปถ่ายสถานที่ประกอบอาชีพ
  • กรณีใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน นำสำเนาหลักทรัพย์ที่จะค้ำประกันไปด้วย​

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

ชื่อโครงการ

  • ระบบหนี้นอกบอก ธ.ก.ส.

เงื่อนไขการเข้าร่วม

  • หนี้ที่ต้องการรับความช่วยเหลือ ต้องเป็นเจ้าหนี้ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน
  • เป็นผู้ที่มีความสามารถสร้างรายได้ทางการเกษตรและหรือรายได้จากทางอื่นเพียงพอต่อการชำระหนี้
  • กรณีลูกค้าที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป กำหนดให้มีทายาทหรือ บุคคลในครัวเรือนอย่างน้อย 1 คน เป็นลูกหนี้ร่วม
  • หลังจากลงทะเบียนแล้วธนาคารจะติดต่อกลับตามช่องทางการติดต่อที่ได้ให้ไว้

ช่องทางการเข้าร่วม

อนึ่งนายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ในส่วนกระทรวงการคลัง นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงการคลังมาดูแลประชาชนที่เป็นลูกหนี้นอกระบบ หลังจากที่มีการปรับโครงสร้าง และไกล่เกลี่ยกันเรียบร้อยแล้ว โดยจะมาดูแลโดยธนาคารของรัฐ เช่น

ธนาคารออมสิน ซึ่งขณะนี้มีโครงการอยู่แล้ว ในเรื่องของการแก้ไขหนี้นอกระบบ โดยจะให้กู้ต่อรายไม่เกิน 50,000 บาท ระยะเวลา 5 ปี อีกส่วนหนึ่งจะเป็นโครงการสินเชื่อ สำหรับอาชีพอิสระ เพื่อรายย่อย เพื่อการส่งเสริมอาชีพ ซึ่งเป็นอีกโครงการหนึ่งที่ให้กู้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อราย ระยะเวลาสูงสุด 8 ปี ส่วนอัตราดอกเบี้ย เป็นไปตามความสามารถของลูกหนี้แต่ละราย

นอกจากนั้นธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ยังมีโครงการมารองรับ ในเรื่องของการที่นำที่ดินไปขายฝาก หรือติดจำนองกับทางหนี้นอกระบบและได้มีการแก้ไขแล้ว ธ.ก.ส. ก็มีวงเงินสำหรับเกษตรกรต่อรายไม่เกิน 2.5 ล้านบาท ในเรื่องของการแก้ไขที่ทำกิน ซึ่งตรงนี้เป็นส่วนในเรื่องของธนาคารของรัฐที่จะเข้ามาดูแลหลังจากที่มีการไกล่เกลี่ยกันเรียบร้อยแล้ว

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจจะดำเนินการให้ถูกกฎหมายทางรัฐก็มีช่องทางให้ดำเนินการขออนุญาตเรื่องของพิโกไฟแนนซ์ ซึ่งวันนี้มีผู้มาขออนุญาตไปแล้วพันกว่ารายทั่วประเทศ โดยต่อราย มีทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาทเท่านั้น แต่หลักการไม่ให้ฝากเงิน ให้ใช้เงินของท่านกู้เงินอย่างเดียว

 

ข่าวจาก : ฐานเศรษฐกิจ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: