จีนจัดงานศพแบบใหม่ สร้าง AI ผู้เสียชีวิต ให้ญาติคุยครั้งสุดท้ายก่อนจากลา





กวางโจวเดลีรายงาน บริษัทจัดงานศพกำลังเสนอบริการดิจิทัลร้างอวตาร AI ที่สามารถเลียนแบบรูปลักษณ์และเสียงของบุคคลได้ ด้วยเหตุนี้ ครอบครัวจึงสามารถ ‘สื่อสาร’ และหวนนึกถึงช่วงเวลาร่วมกับบุคคลอันเป็นที่รักที่ล่วงลับไปแล้วได้ผ่านทางอวตารเหล่านี้

หนึ่งในนั้นคือ Shanghai Fushouyun Life Information Technology Co., Ltd. ซึ่งจัดงานศพ AI ครั้งแรกในเดือนมกราคม 2565 งานศพจัดขึ้นสำหรับศัลยแพทย์ชื่อดัง อู๋ เมิ่งเฉา ซึ่งด้วยความช่วยเหลือจาก AI โฮโลแกรมของนพ.อู๋ เมิ่งเฉา ได้มีการพูดคุยด้วยเสียงของเขา ซึ่งทำให้คนเหล่านั้นน้ำตาไหล

มีรายงานว่า รูปลักษณ์ของเขาดูมีสุขภาพแข็งแรงแพร้อมมีน้ำเสียงที่สดใสและชัดเจน เมื่อการสนทนาจบลงนพ.อู๋ เมิ่งเฉากล่าวอำลาภายใต้แสงเทียนที่จัดขึ้น ซึ่งครอบครัวของนพ.อู๋ และเพื่อนร่วมงานได้กล่าวขอบคุณ หยู ห่าว ซีอีโอของบริษัท Shanghai Fushouyun ที่ให้โอกาสเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ และนักเรียนของเขากล่าวคำอำลาเป็นครั้งสุดท้าย

นอกจากบริษัทจัดงานศพแล้ว บุคคลต่าง ๆ ยังพบวิธีสื่อสารกับบุคคลอันเป็นที่รักที่ล่วงลับไปแล้ว หนึ่งในนั้นคือผู้สร้างอู๋ อู๋หลิว ซึ่งโพสต์ ‘การสนทนา’ กับคุณยายผู้ล่วงลับของเขาไปยังเว็บไซต์ Bilibili ชายคนนั้นแสดงภาพอวตารที่สร้างขึ้นโดย AI ของคุณยายของเขา พร้อมการสนทนาของพวกเขา

ในวิดีโอ อู๋ อู๋หลิวยังแสดงให้เห็นว่าเขาใช้ ChatGPT , Midjourney และ AI ร่วมกันอย่างไรเพื่อทำให้อวาตาร์มีชีวิตขึ้นมา อธิบายว่าแรงบันดาลใจ คือ การที่เขาไม่สามารถพบคุณย่าเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่เธอจะจากไป ด้วยเหตุนี้ เขาจึงตัดสินใจใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อหาทางยุติและชดเชยความรู้สึกเสียใจที่เขารู้สึก

เรื่องราวของเขาสะท้อนถึงนักประดิษฐ์อีกรายที่ช่วยเพื่อน ‘สร้าง’ คุณตาอันเป็นที่รักของเขาขึ้นมาใหม่ด้วย Midjourney รูปภาพ และคลิปเสียง WeChat แม้ว่าเสียงของอวาตาร์จะผิดเพี้ยนและขาดความสามารถในการสนทนาแบบจริง ๆ แต่เรื่องราวเบื้องหลังอวตารยังคงจับใจชาวเน็ต

บริษัทจัดงานศพยังคงต้องพิจารณาเรื่องกฎหมายและจริยธรรม ในขณะเดียวกัน ประเทศจีนยังมีบริษัทจัดงานศพไม่มากนักที่ให้บริการดังกล่าว แม้ว่าแง่มุมทางเทคโนโลยีจะไม่ท้าทายเกินไป แต่ก็มีประเด็นอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณา เช่น ปัญหาลิขสิทธิ์ภาพบุคคลดิจิทัล ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา และข้อกังวลด้านจริยธรรม

ตราบใดที่ปัญญาประดิษฐ์จะช่วยให้ผู้คนสามารถสื่อสารกับบุคคลอันเป็นที่รักที่ล่วงลับและให้พวกเขาได้ทดแทนความคิดถึงกัน สุดท้ายก็ต้องอำลาอยู่ดี นอกจากนี้ เขายังย้ำด้วยว่า ‘การฟื้นฟูจิตใจ’ ของผู้คนผ่านปัญญาประดิษฐ์ควรเป็นหนทางเยียวยาจากความสูญเสียแทนที่จะป้องกันไม่ให้ผู้คนเดินหน้าต่อไป

อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับเทคโนโลยีในรูปแบบอื่น ๆ เทคโนโลยีนี้สามารถนำมาใช้เพื่อสร้างผลเสียมากกว่าผลดี หากบริษัทจัดงานศพในสิงคโปร์ตัดสินใจให้บริการดังกล่าวในอนาคต เราหวังว่า AI จะถูกนำมาใช้อย่างมีจริยธรรมและมีความรับผิดชอบ

 

ข่าวจาก : ข่าวสด

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: