รู้จักยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) ยารักษาโควิด 19 จาก Pfizer

Advertisement มารู้จักยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) ที่พัฒนามาเพื่อให้เป็นตัวเปลี่ยนเกม และเป็นความหวังสำคัญในการเอาชนะโควิดที่ทำคนทั่วโลกบอบช้ำมานาน Advertisement นับเป็นข่าวดีเมื่อโลกกำลังจะมียารักษาโควิดตัวที่ 2 ชื่อว่า ยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) ที่ทางบริษัทไฟเซอร์เคลมว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโควิด 19 ในระดับที่น่าพึงพอใจ และยังมีผลข้างเคียงน้อยอีกด้วย เอาเป็นว่าเราลองมาดูข้อมูลยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) กันเลยดีกว่า ยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) คืออะไร ยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) คือ ยาเม็ดรักษาโควิด 19 จากบริษัทไฟเซอร์ Pfizer ซึ่งนับเป็นยารักษาโควิดตัวที่ 2 ของโลก ถัดจากยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) ของบริษัทเมอร์ค (Merck) โดยยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี 2563 จากยาเดิมที่ใช้รักษาโรคซาร์ส (SARS) ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสตระกูลโคโรนาเช่นเดียวกับโควิด 19 แต่เป็นคนละสายพันธุ์กัน โดยยาจะทำหน้าที่ยับยั้งเอนไซม์ ทำให้ไวรัสเพิ่มจำนวนไม่ได้ และยังเป็นยาในกลุ่มที่ได้ผลดีในการต้านไวรัส HIV อีกด้วย ยาแพกซ์โลวิด กับ ยาโมลนูพิราเวียร์ ต่างกันอย่างไร ต้องอธิบายก่อนว่า ยาที่ใช้รักษาโควิด […]

ข่าวดี ! ไฟเซอร์ทำสำเร็จ เปิดตัวยาเม็ด Paxlovid ต้านโควิด 19 ลดเสียชีวิตได้ 89%

ซีอีโอบริษัทยาไฟเซอร์ ประกาศข่าวดี ประสบความสำเร็จ เปิดตัวยาเม็ด Paxlovid ต้านโควิด 19 ลดอัตราป่วยหนัก-เสียชีวิตได้ 89 เปอร์เซ็นต์ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 เว็บไซต์รอยเตอร์ส และ เอ็นบีซีนิวส์ รายงานว่า บริษัทไฟเซอร์ (Pfizer Inc.) บริษัทยาในสหรัฐอเมริกา ได้แถลงความสำเร็จเกี่ยวกับผลการทดลองยาเม็ดสำหรับรักษาโรคโควิด 19 ชื่อว่า แพกซ์โลวิด (Paxlovid) ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงสามารถ ลดอัตราการป่วยหนักหรือเสียชีวิตได้ถึง 89 เปอร์เซ็นต์ โดยจะมีการยื่นเรื่องขออนุมัติการใช้งานจากสำนักงานอาหารและยาสหรัฐฯ หรือ FDA เพื่อใช้ฉุกเฉินโดยเร็วที่สุด อัลเบิร์ต บัวร์ลา ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทไฟเซอร์ Pfizer เปิดเผยว่า ยาแพกซ์โลวิด ได้รับการพัฒนามาเกือบ 2 ปีแล้ว โดยจะมีส่วนประกอบของยาต้านไวรัส HIV ที่เรียกว่า ริโทนาเวียร์ (Ritonavir) ในระดับต่ำ โดยการทำงานของยาดังกล่าวจะไปจับกับเอนไซม์ที่เรียกว่า โปรตีเอส (Protease) เพื่อหยุดเชื้อไวรัสไม่ให้ผลิตตัวเองซ้ำขึ้นมา โดยคอร์สหนึ่งจะใช้ปริมาณ […]

เปรียบเทียบ ซิโนฟาร์ม VS ไฟเซอร์ นักเรียนเลือกฉีดวัคซีนโควิดตัวไหนดี ?

วัคซีนโควิด 19 สามารถฉีดกับเด็กนักเรียนอายุ 12 ปีขึ้นไปได้แล้ว แต่จะเลือกฉีดวัคซีน ซิโนฟาร์ม (Sinopharm) หรือ ไฟเซอร์ (Pfizer) ลองมาเปรียบเทียบกัน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนใหม่ เด็กนักเรียนอายุ 12-17 ปี หรืออยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 หรือเทียบเท่า จะได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ยี่ห้อ Pfizer ซึ่งได้รับการอนุมัติจากองค์การอนามัยโลกแล้วว่าให้ฉีดในเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปได้ ขณะเดียวกันทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ก็ได้จัดโครงการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มสำหรับนักเรียนอายุ 10-18 ปีเช่นกัน จึงทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองลังเลใจว่า ควรให้ลูกฉีดวัคซีน ไฟเซอร์ หรือ ซิโนฟาร์ม ดีกว่า ถ้าอย่างนั้นเราลองมาดูข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณา วัคซีนซิโนฟาร์ม (Sinopharm) ชนิดของวัคซีน เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated Vaccine) โดยนำไวรัส COVID-19 มาเพาะเลี้ยงแล้วทำให้อ่อนแรง จากนั้นใช้สารเคมีฆ่าเชื้อให้ตาย แล้วฉีดเข้าสู่ร่างกายเพื่อกระตุ้นร่างกายให้เกิดภูมิคุ้มกัน มีความปลอดภัยสูง เพราะเป็นวัคซีนที่ใช้กระบวนการผลิตเหมือนกับวัคซีนชนิดอื่น ๆ ที่เคยผลิตมาอย่างแพร่หลาย เช่น วัคซีนตับอักเสบเอ วัคซีนโปลิโอ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ […]

เริ่มวันนี้! นนทบุรีเปิดให้นักเรียนอายุ 12-18 ปีลงทะเบียนฉีดวัคซีน ‘ไฟเซอร์’

เริ่มวันนี้! นนทบุรีเปิดให้นักเรียนอายุ 12-18 ปีลงทะเบียนฉีดวัคซีน ‘ไฟเซอร์’ เมื่อวันที่ 17 กันยายน นายแพทย์สฤษดิ์เดช เจริญไชย รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด(สสจ.)นนทบุรี เปิดเผยว่า สสจ.นนทบุรี “นนท์ Student” เปิดลงทะเบียนฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) สำหรับนักเรียน อายุ 12-18 ปี เฉพาะนักเรียนที่ศึกษาอยู่ ในสถานศึกษาจังหวัดนนทบุรี และยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนเท่านั้น ลงทะเบียน ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 20 กย. 2564 ภายในเวลา 24.00 น. ที่ https://forms.gle/qq1J2SDuP5VFAzwX7 โดยสนามฉีดคือที่ Impact Arena เมืองทองธานี สำหรับวันเวลานัดหมายในการฉีดวัคซีนจะเเจ้งให้ทราบภายหลัง เมื่อจังหวัดได้รับการจัดสรรวัคซีน ซึ่งการฉีดวัคซีนจะต้องได้รับการยินยอมและอนุญาตจากผู้ปกครอง   ข่าวจาก : มติชน

รัฐบาลพลิกแผนใหม่ จัดซื้อวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เพิ่มเป็น 121 ล้านโดส

รัฐบาลขยายแผนสั่งซื้อ “แอสตร้าเซนเนก้า” เป็น 121 ล้านโดส รวม 2.6 หมื่นล้านบาท  วันที่ 24 สิงหาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ท่ามกลางการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด-19) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ตั้งเป้าที่จะฉีดวัคซีน ให้ครบ 100 ล้านโดส ครอบคุลมคนไทย 50 ล้านคน หรือ 70% ของจำนวนประชากร ภายในปี 2564 นายกรัฐมนตรี ได้ย้ำกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการเร่งจัดหาวัคซีนโควิด-19 ให้เพียงพอ ทั้งในส่วนที่รัฐบาลจัดหาเพื่อฉีดให้ประชาชนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย และวัคซีนทางเลือก โดยให้จัดหาให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ 100 ล้านโดสในปี 2564  รวมถึงเป้าหมายปี 2565 ตามมติของคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติที่ได้เห็นชอบให้ปรับกรอบการจัดหาวัคซีนโควิด-19 เป็น 120 ล้านโดส ปัจจุบัน รัฐบาลได้มีการจัดวัคซีน โดยคณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดหาวัคซีนโควิด-19 เพื่อประชาชนไทย จาก 3 ยี่ห้อ จำนวน 122.1 […]

‘ทูลกระหม่อม’ ทรงย้ำ เร่งจองวัคซีนเจน 2 ด่วน แนะรีบสั่ง-อย่าช้าอีก

‘ทูลกระหม่อม’ ทรงย้ำ เร่งจองวัคซีนเจน 2 ด่วน ทั้งโนวาแวกซ์ ไฟเซอร์ แอสตร้า โมเดอร์นา แนะรีบสั่งอย่าช้าอีก ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน เพราะเราเป็นกำลังใจให้กัน หลังจากสถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาดหนัก ทำให้มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นจำนวนมาก อีกทางรอดสำคัญที่หลายฝ่ายเห็นตรงกันคือ วัคซีนที่มีคุณภาพ เพื่อช่วยสร้างภูมิคุ้มกันสู้โควิด ล่าสุดวันที่ 25 ก.ค.64 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงโพสต์อินสตราแกรม โดยระบุว่า “สวัสดีวันเข้าพรรษา แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ทำบุญใส่บาตรทุกวัน สวดมนต์ภาวนาขอให้สถานการณ์การระบาดโควิดคลี่คลายซะที ขอบอกอีกครั้งว่าเราต้องรีบจองวัคซีน generation 2 ด่วน ซึ่งนอกจาก Novavax ที่ดิฉันเขียนถึงเมื่อวันก่อน Pfizer, Moderna , AstraZeneca เขาก็กำลังทำวัคซีน generation 2 อยู่เช่นกัน ซึ่งจะป้องกันเชื้อ Variants ได้ดีกว่าวัคซีนที่มีตอนนี้ รีบจองอย่าช้าอีกล่ะคะ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน #เพราะเราเป็นกำลังใจให้กัน #ไม่ว่างไม่ใช่ไม่สวย” […]

หมอยง เผยเหตุผลรับรองวัคซีนบางตัว มีเรื่องการเมืองเกี่ยวข้องด้วย

หมอยง เผยเหตุผลรับรองวัคซีนบางตัว มีเรื่องการเมืองเกี่ยวข้องด้วย ชี้ไทยต้องการใช้มาก เปิดเหตุไฟเซอร์ ยังไม่ขึ้นทะเบียนในไทย วันที่ 18 มิ.ย.64 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความรู้เรื่อง วัคซีนโควิด 19 ความว่า โควิด 19 วัคซีน เหตุผลอะไร ที่บางประเทศรับรองวัคซีนบางตัว แต่ยังไม่รับรองบางตัว เป็นคำถามที่น่าสนใจมาก มีเหตุผลหลายอย่างด้วยกัน วัคซีนที่องค์การอนามัยโลกรับรอง โดยมีกฎเกณฑ์ว่าต้องสามารถป้องกันลดความรุนแรงของโรคลงได้ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ปัจจุบันนี้มีวัคซีนมากกว่า 13 ชนิดที่ผ่านระยะที่ 3 และใช้ในมนุษย์ ในภาวะฉุกเฉิน มีวัคซีนหลายตัวหรือเรียกว่าเกือบครึ่งหนึ่ง ที่องค์การอนามัยโลกรับรอง เช่น Pfizer, Moderna, Johnson & Johnson, AstraZeneca, Sinovac, Sinopharm และมีอีกหลายตัวที่องค์การอนามัยโลกยังอยู่ระหว่างการพิจารณารับรอง แต่ได้มีการใช้อย่างกว้างขวางเป็นจำนวนมาก โดยมากจะผ่านการศึกษาในระยะที่ 3 แล้ว และมีการรับรอง ให้ใช้ในหลายประเทศ เหตุผลที่กล่าวว่าบางประเทศไม่รับรอง อาจจะเป็นไปได้ว่าบริษัทวัคซีนนั้นไม่ได้ไปขอขึ้นทะเบียนกับประเทศนั้นๆ […]

เครือ CP ย้ำจุดยืน สนับสนุนเอกชนซื้อวัคซีนทางเลือก เพื่อจัดฉีดให้กับพนักงาน

เครือ CP ย้ำจุดยืน สนับสนุนเอกชนซื้อวัคซีนทางเลือก Sinopharm, Pfizer, Moderna และอื่นๆ เพื่อจัดฉีดให้กับพนักงานและครอบครัว ช่วยแบ่งเบาภาระภาครัฐ เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ เครือ CP ได้ออกแถลงการณ์ถึงการย้ำจุดยืนที่สนับสนุนเอกชนให้ซื้อวัคซีนทางเลือก ไม่ว่าจะเป็น Sinopharm, Pfizer, Moderna และอื่นๆ เพื่อจัดฉีดให้กับพนักงานและครอบครัว โดยมองว่าจะเป็นการเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระภาครัฐ ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ความชัดเจนของการนำเข้าวัคซีนทางเลือกมีมากขึ้น โดยเฉพาะหลังจากวัคซีน Moderna ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เมื่อกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และล่าสุด ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ แถลงความคืบหน้าเตรียมนำเข้าวัคซีนทางเลือกของ Sinopharm จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศทางดังกล่าวทำให้เห็นโอกาสในการนำเข้าวัคซีนทางเลือก ซึ่งเครือเจริญโภคภัณฑ์เห็นด้วยและสนับสนุนแนวทางดังกล่าว โดยถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเปิดโอกาสให้มีวัคซีนทางเลือก และเป็นโมเดลที่ดีที่มีหน่วยงานเป็นตัวแทนภาครัฐจัดซื้อวัคซีนทางเลือก เพื่อให้ภาคเอกชนที่มีกำลังซื้อเข้ามาดีลและดำเนินการตามข้อกำหนด “ขณะนี้วัคซีนโควิด-19 ยังเป็นการใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งการขยายวิธีการนำเข้าวัคซีนชนิดอื่นในลักษณะนี้จะเพิ่มโอกาสให้คนไทยเข้าถึงวัคซีนที่หลากหลายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และทำให้การกระจายวัคซีนวัคซีนของประเทศไทยมีความยืดหยุ่นกว่าการมีวัคซีนหลักเพียง 2 ชนิดคือ AstraZeneca และ Sinovac เท่านั้น” ปัจจุบันจากสถานการณ์ความต้องการวัคซีนทั่วโลกที่มากขึ้น […]

error: