รองโฆษกนายกฯ ระบุ ‘อนุทิน’ เผยในที่ประชุมโลก ไทยสนใจบริจาควัคซีนให้แอฟริกา

Advertisement “รองโฆษก นายกฯ” เผยหลัง “รองนายกฯ อนุทิน” เข้าร่วมประชุมบนเวทีโลก ระบุ ไทยสนใจบริจาควัคซีนให้ “แอฟริกา” ผ่านโครงการ AVAT น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 64 เวลา 18.00น . ตามเวลาท้องถิ่น นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส หลังการเข้าร่วมประชุม สมัชชาอนามัยโลก สมัยพิเศษ ณ สำนักงานใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เป็นวันที่ 2 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุขได้พบหารือทวิภาคีกับ นาย Tedros Adhanom Ghebreyesus ผู้อำนวยการใหญ่ WHO ในประเด็นที่ให้ประเทศไทยเข้าร่วมใน BioHub System ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาระบบสากลในการแบ่งปันเชื้อไวรัส สำหรับการพัฒนามาตรการป้องกันการระบาดของโรคต่างๆ ที่รวดเร็ว มีการตอบสนองทางการแพทย์อย่างทันท่วงที Advertisement รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี […]

ทัวร์ลง “โบว์ ณัฏฐา” แนะนำไทยควรปฏิเสธวัคซีนแบ่งปันจากสหรัฐ

เป็นเรื่องดราม่าทันที ภายหลังสหรัฐเตรียมแบ่งปันวัคซีนต้านโควิดให้ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย จำนวน 7 ล้านโดส ภายใต้โครงการ COVAX ขององค์การอนามัยโลก หนึ่งในนั้นมีชื่อประเทศไทยรวมอยู่ด้วย แม้จะไม่ได้เข้าร่วมโครงการ COVAX ซึ่งทาง “โบว์” ณัฏฐา มหัทธนา นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ทวีตข้อความถึงเรื่องดังกล่าวว่า “ตัวเลข 7 ล้านโดสจากสหรัฐสำหรับแบ่งกันในเอเชียกว่า 16 ประเทศ รวมประเทศที่เจ็บหนักอย่างอินเดีย ไม่ได้มีนัยยะสำคัญอะไรกับไทยเลยค่ะ ควรปฏิเสธ และยืนยันศักยภาพของประเทศที่กำลังจะพึ่งตัวเองได้ โดยเฉพาะเมื่อเรากำลังจะมีแบรนด์วัคซีนไทยจากจุฬาฯ” “ลองคำนวณจำนวนที่จะได้ กับเวลาที่จะมาถึงดูค่ะ วัคซีนสหรัฐจะมาในจำนวนน้อยนิด เพราะต้องหารตามสัดส่วนประชากร และความจำเป็นของแต่ละประเทศ และจะมาถึงในวันที่ไทยไม่ขาดวัคซีนแล้ว เพราะทุกตัวอยู่ใน pipeline แต่การยืนยันศักยภาพในฐานะประเทศที่เป็นฐานการผลิต และสละส่วนแบ่งให้กับประเทศที่เดือดร้อนกว่ามาก จะให้ผลดีหลายประการกับประเทศในระยะยาว” หลังทวิตดังกล่าวถูกเผยแพร่ มีสมาชิกโซเชีบลจำนวนมาก เข้ามาแสดงความเห็นหลากหลาย ทั้งแบบมีหลักการ และไม่มีหลักการ แต่ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับข้อแนะนำ และบางคนถึงขั้นตำหนิ “โบว์” ว่าเป็นพวก “หิวแสง”   ข่าวจาก : Microsoft News

สหรัฐ เปิดแผนแบ่งปันวัคซีนโควิด ผ่าน COVAX ไทยได้รับด้วย แม้ไม่ได้เข้าร่วม

สหรัฐ เปิดแผนแบ่งปันวัคซีนโควิด ผ่าน COVAX ไทยได้รับด้วย แม้ไม่ได้เข้าร่วม เว็บไซต์ทำเนียบขาวสหรัฐอเมริกา เปิดเผยเอกสารข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแผนกุลยุทธการแบ่งปันวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาคมโลก โดยจะมีการแบ่งปันวัคซีนจำนวน 25 ล้านโดสแรกไปทั่วโลก ผ่านโครงการ COVAX โดยเอกสารดังกล่าวพบว่า มีประเทศไทยอยู่ในรายชื่อประเทศที่จะได้รับการแบ่งปันวัคซีนด้วย แม้ไทยจะไม่ได้เข้าร่วมโครงการ COVAX ก็ตาม เอกสารดังกล่าว รัฐบาลสหรัฐเปิดเผยกรอบการแบ่งปันวัคซีนโดยจะมีวัคซีนที่จะแบ่งปันออกไปจำนวน 80 ล้านโดส โดยในจำนวนนี้ 75 เปอร์เซ็นต์ จะถูกจัดสรรให้โครงการ COVAX ขององค์การอนามัยโลก ขณะที่อีก 25 เปอร์เซ็นต์จะเตรียมไว้สำหรับประเทศที่เกิดการแพร่ระบาดที่ต้องรับความช่วยเหลือในทันที และประเทศที่ต้องการความช่วยเหลื่อจากสหรัฐโดยตรง เอกสารดังกล่าวเปิดเผยว่า สหรัฐจะแบ่งปันวัคซีนจำนวน 25 ล้านโดสแรกก่อน โดยในจำนวนนี้ 19 ล้านโดส จะถูกแบ่งปันผ่านกรอบความร่วมมือ COVAX โดยใน 19 ล้านโดสนี้แบ่งเป็ฯ 6 ล้านโดส สำหรับภูมิภาคอเมริกากลางและอเมริกาใต้ อย่างบราซิล อาร์เจนตินา โคลอมเบีย คอสตาริกา เปรู เอกวาดอร์ ปารากวัย […]

ชมรมแพทย์ชนบท เปิดเบื้องหลัง ทำไม “ซิโนแวค” จึงกลายเป็นวัคซีนหลักของไทย

ชมรมแพทย์ชนบท เปิดเบื้องหลัง ทำไม ‘ซิโนแวค’ จึงกลายเป็นวัคซีนหลักของไทย หลังพลาดชะล่าใจ แทงม้าตัวเดียว จนเกิดระบาดระลอกสอง วันที่ 2 มิ.ย.64 เฟซบุ๊กเพจ ชมรมแพทย์ชนบท โพสต์ข้อความเรื่องวัคซีนโควิด ความว่า ลับลวงพราง วัคซีนโควิด ตอน 5 เบื้องหลัง ทำไม “ซิโนแวค” ถึงกลายเป็นวัคซีนหลักของไทยไปได้ วันที่ 1 มิถุนายน 2564 องค์การอนามัยโลก WHO ได้แถลงว่า “วัคซีนซิโนแวค ได้รับการรับรองจาก WHO สำหรับการใช้ในภาวะฉุกเฉิน (emergency use) แล้ว” นับเป็นข่าวดีของหลายประเทศที่ฉีด sinovac เป็นวัคซีนหลัก รวมทั้งประเทศไทย ทั้งนี้ในรายงานของรอยเตอร์ระบุว่า การอนุมัติของ WHO ได้ปูทางให้กับการใช้วัคซีนซิโนแวคในประเทศยากจนทั่วโลก ทั้งในลาตินอเมริกา แอฟริกาและเอเชีย และทำให้ซิโนแวคเข้าไปเป็นหนึ่งในวัคซีนของโปรแกรม COVAX เพื่อประเทศยากจนได้ เพราะการประสบปัญหาขาดแคลนวัคซีนที่ผลิตจากอินเดียที่จะเข้าสนับสนุน COVAX เบื้องลึกเบื้องหลังที่น่าสนใจคือ ทำไมไทยจึงใช้ ซิโนแวค […]

error: