นักวิชาการชี้ มาตรการ ‘คุมรถวันคู่-คี่’ ส่อมลพิษแย่กว่าเดิม ยกตัวอย่างเม็กซิโก-จีนเทียบให้เห็น

Advertisement   Advertisement วันที่ 2 ม.ค. 62 ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ส่งต่อข้อความจากโพสต์เฟซบุ๊ก Witsanu Attavanich ของ รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ โดยได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ มาตรการคุมรถวันคู่-คี่ ที่รัฐบาลอาจจะนำมาใช้แก้ปัญหาวิกฤติฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดยโพสต์ดังกล่าวระบุว่า หลายคนคงได้ยินว่ารัฐบาลอาจพิจารณานำ “มาตรการคุมรถวันคู่-คี่” มาใช้ หากฝุ่นพิษเข้าขั้นวิกฤติ แล้วมาตรการนี้จะสามารถลดฝุ่นพิษได้จริงหรือไม่? ลองมาดูงานวิจัยในต่างประเทศที่เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของมาตรการในลักษณะนี้ในการลดมลพิษทางอากาศ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับทุกคนและผู้กำหนดนโยบายนะครับ ผลปรากฏว่า… “มาตรการคุมรถวันคู่-คี่” ไม่สามารถลดมลพิษได้เสมอไป แต่อาจจะทำให้มลพิษยิ่งแย่กว่าเดิม!! ขออนุญาตยกตัวอย่างงานศึกษาของ Davis (2008) (อ้างอิงที่ 1) ซึ่งได้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Political Economy ซึ่งเป็นวารสารชื่อดังทางเศรษฐศาสตร์ งานนี้ได้ทำการประเมินผลของ “มาตรการคุมรถโดยใช้เลขทะเบียนรถหลักสุดท้าย” ในประเทศเม็กซิโก หรือที่เรียกเป็นภาษาเม็กซิกันว่า มาตรการ “Hoy No Circula” มาตรการนี้ถูกนำมาใช้ในกรุงเม็กซิโกซิตี้ ซึ่งเป็นเมืองหลวง และถูกจัดว่าเป็นเมืองที่มีปัญหารถติดเป็นอันดับที่ 16 ของโลก ขณะที่กรุงเทพฯ ของเราอยู่อันดับที่ 11 ของโลก […]

error: