แพทย์แนะวิธีปฏิบัติตัว หากเผลอเสริมซิลิโคนเถื่อนไปแล้ว อย่าตระหนก

Advertisement 18 ม.ค.2566 นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ กรรมการแพทยสภา ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีประชาชนที่รับบริการ “กรวินคลินิก” ที่มีการตรวจสอบพบการสั่งซื้อซิลิโคนที่ผลิตจากโรงงานเถื่อน โดยมีผู้รับบริการหลักพันคน ทำให้รู้สึกไม่มั่นใจ ควรปฏิบัติตัวอย่างไร ว่า ตามปกติแล้วการจะใส่ซิลิโคนเข้าไปในร่างกายจะต้องมีการตรวจสอบก่อนว่า เป็นซิลิโคนระดับไหน ซึ่ง “ซิลิโคน” มีทั้งแบบฟู้ดเกรด ที่นำมาทำอะไรที่ไม่ต้องเข้าไปในร่างกาย Advertisement นพ.สัมพันธ์ กล่าวต่อว่า เช่น ภาชนะ Couple Wear ทำสายน้ำเหลือ เป็นต้น, แบบเมดิคัล เกรด ก็จะดีขึ้นมาหน่อย ส่วนใหญ่ที่เอามาใช้จะอยู่ในระดับนี้ และยังมีที่ดีที่สุดคือ ซิลิโคนแบบสำหรับปลูกฝังในร่างกาย (Implant Grade) ที่มีการทดสอบว่าฝังในร่างกายแล้วเป็นอย่างไร มีปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อหรือไม่ มีสารก่อภูมิแพ้ในระยะยาวหรือสารก่อมะเร็งหรือไม่ มีผลที่เป็นพิษต่อเซลล์หรือไม่ (Cytotoxic) เป็นต้น ก็แล้วแต่ว่าสิ่งที่ใช้ไปเป็นเกรดไหน “ส่วนใหญ่ต้องระมัดระวัง ถ้าราคาถูกมาก ๆ จะเป็นพวกฟู้ดเกรดระดับต่ำสุด แต่ไม่ได้บอกว่าถ้าใช้ระดับฟู้ดเกรดแล้วจะเกิดปัญหาทุกราย ดังนั้น ขอแนะนำว่าผู้ที่ไปรับบริการจากคลินิกดังกล่าวตามที่เป็นข่าว แล้วอาจจะไม่มั่นใจหรือกังวลใจ เบื้องต้นแนะนำว่า อย่าเพิ่งตื่นตระหนก ยังไม่ต้องทำอะไรหรือยังไม่ต้องรีบไปเอาออก ขอให้ติดตามไปก่อนว่า […]

แพทยสภาแจงแล้ว ปมใบรับรองแพทย์ ตร.หญิง ยืนยันออกก่อน1-2วันได้

จากกรณีอดีตทหารหญิง เข้าแจ้งความที่สภ.เมืองราชบุรี เอาผิดส.ต.ท.หญิง อ้างเป็นเมียส.ว. บังคับใช้แรงงานดูแลรับใช้ และทำร้ายร่างกาย ทั้งถูกตบตีตามร่างกาย ถูกเครื่องชอร์ตไฟฟ้าตามร่างกาย ใช้ไม้หน้าสามตีที่ใบหน้า ต่อมาพบว่าตำรวจหญิงคนดังกล่าวคือ ส.ต.ท.หญิง กรศศีร์ บัวแย้ม อายุ 43 ปี ผบ.หมู่ กก.4 บก.ส.1 บช.สันติบาล จากนั้นส.ต.ท.หญิง กรศศีร์ เข้ามอบตัว พร้อมใบรับรองแพทย์ ก่อนเปิดใจทั้งน้ำตาอ้างว่าไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ ตามที่เคยเสนอข่าวไปแล้วนั้น สำหรับความคืบหน้า เมื่อวันที่ 22 ส.ค.65 พลอากาศตรี นายแพทย์อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา ชี้แจงในรายการเที่ยงวันทันเหตุการณ์ ถึงประเด็นใบรับรองแพทย์ที่ระบุตำรวจหญิงไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ ออกเพียง 2 วันก่อนนำมามอบให้พนักงานสอบสวนและไม่ใช่หมอที่ทำการรักษาว่า ตามหลักการของโรงพยาบาล แพทย์เจ้าของไข้ต้องออกใบรับรองแพทย์เท่านั้น แต่เมื่อผู้ป่วยมีเหตุผลจำเป็นต้องใช้ แพทย์คนอื่นสามารถออกความเห็นและใบรับรองแพทย์ได้ แต่ผู้ป่วยต้องมีประวัติการรักษาบันทึกไว้ในเวชทะเบียนที่รักษาของโรงพยาบาลไว้อย่างชัดเจน ส่วนจะออกใบรับรองแพทย์ก่อน 1 หรือ 2 วันนั้น สามารถทำได้ แต่ต้องสอดคล้องกับข้อเท็จจริงการรักษา โดยประเด็นนี้แพทยสภาจะเข้าไปตรวจสอบได้ ต่อเมื่อมีผู้ร้องเรียนเท่านั้น แต่ตำรวจก็สามารถตรวจสอบกับโรงพยาบาลได้เช่นกัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า […]

แพทยสภาพัฒนาระบบใหม่ เปิดโอกาสให้ตรวจสอบหมอปลอมในโซเชียลฯ เฟซบุ๊กได้ง่ายๆ

  แพทยสภา-เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ  เลขาธิการแพทยสภา  กล่าวว่า ขณะนี้แพทยสภา ได้มีการพัฒนาโปรแกรมเช็กชื่อ นามสกุล แพทย์ จากเดิมประชาชนที่ต้องการเช็กชื่อนามสกุลแพทย์ ว่าเป็นแพทย์จริงหรือไม่ จะทำได้แค่ชื่อนามสกุล ภาษาไทยเท่านั้น แต่ก็พบว่าที่ผ่านมา มีการร้องเรียนเข้ามาว่า พบแพทย์บางคนมีการประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชียลมีเดีย โดยใช้ชื่อภาษาอังกฤษ ทำให้ตรวจสอบยาก ล่าสุดแพทยสภาจึงอัพเดตโปรแกรมเป็นเวอร์ชั่นใหม่ v2.0e ซึ่งสามารถเช็กตัวตนแพทย์ได้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ  ซึ่งจะตอบโจทย์หน่วยงานและหน่วยราชการที่ ถามชื่อภาษาอังกฤษ ว่าเป็นหมอหรือไม่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือหน่วยงานคดีอื่นๆ เช็กผ่านทางเฟซบุ๊กได้ เป็นแพทย์จริงหรือไม่ โดยเฉพาะกรณีขายของออนไลน์ ส่วนใหญ่เป็นหมอเถื่อน  ก็จะแก้ปัญหาตรงนี้ โดยสามารถตรวจสอบได้ผ่าน https://www.tmc.or.th/check_md/ “นอกจากนี้ จะมีการพัฒนาระบบในเรื่องของภาพถ่ายของแพทย์แต่ละท่าน ให้เป็นปัจจุบัน เพราะหลายคนเข้าไปสืบค้นข้อมูลยังพบว่า แพทย์บางท่านมีภาพของตนเอง แต่บางท่านไม่มี หรือมีแต่เก่ามาก ไม่เป็นปัจจุบัน แต่จากนี้จะทำให้ครอบคลุมทั้งหมด คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน ขณะเดียวกันในส่วนของชาวต่างชาติที่มารับบริการทางการแพทย์ในประเทศไทย และอยากทราบว่า แพทย์เป็นแพทย์จริงหรือไม่ ก็เข้ามาสืบค้นได้ โดยเราจะทำระบบเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดในเวอร์ชั่น 3 คาดว่าจะเสร็จภายใน 2 เดือน” […]

error: