สรรพากรแจงคืนภาษีช้า “ติดปัญหาพบทุจริต”

Advertisement 16 มี.ค.2567 นายวินิจ วิเศษสุวรรณภูมิ รองอธิบดีกรมสรรพากร รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาฐานภาษี ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร บอกว่า ช่วงนี้มีผู้ยื่นแบบเสียภาษีเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่กำลังการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลยังเท่าเดิม จึงกลายเป็นปัญหาคอขวด Advertisement ประกอบกับการเชื่อมต่อฐานข้อมูลยังไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้ระบบตรวจสอบของกรมสรรพากร เรียกตรวจเอกสารจริงจากผู้มีเงินได้ แม้มีข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ปรากฏบน My tax account ก็ตาม ส่งผลให้ กระบวนการตรวจสอบเอกสารหลักฐานนานขึ้น ซึ่งขณะนี้ สามารถคืนเงินภาษีไปแล้วมากกว่า 1,900,000 บาท จากจำนวนผู้ขอคืนเงินภาษี กว่า 2,900,000 บาท Advertisement ไม่เพียงปัญหาทางเทคนิค ผู้บริหารกรมสรรพากร กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีขบวนการมิจฉาชีพ เชิญชวนผู้มีเงินได้ ร่วมมือปลอมแปลงเอกสาร เพื่อสร้างหลักฐานรายได้เท็จ จากนั้น จะขอส่วนแบ่งจากเงินคืนภาษี จึงกระทบผู้ยื่นภาษีที่สุจริต อาจจะได้รับเงินคืนภาษีล่าช้าไปด้วย ทั้งนี้ ผู้มีเงินได้ สามารถยื่นแบบเสียภาษี หรือ ขอเงินคืนภาษีตามสิทธิ ผ่านช่องทางออนไลน์ ภายในเวลา 23.59 น. ของวันที่ […]

รายการลดหย่อนภาษี 2566 บุคคลธรรมดา มีอะไรบ้าง ต้องยื่นภายในวันไหน?

การศึกษารายการลดหย่อนภาษี 2566 ถือเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นหน้าที่ของพลเมืองไทยทุกคนที่มีรายได้พึงประเมินถึงเกณฑ์ขั้นต่ำ โดยเงื่อนไขในการขอลดหย่อนภาษีของแต่ละปีอาจแตกต่างกัน สำหรับบทความนี้ได้สรุปรายการลดหย่อนภาษี ประจำปีภาษี 2566 ที่ควรรู้มาฝากกัน สรุปรายการลดหย่อนภาษี 2566 ประเภทบุคคลธรรมดา มีอะไรบ้าง? รายการสำหรับขอลดหย่อนภาษี 2566 ของบุคคลธรรมดา แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ 1. สิทธิลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว ส่วนตัว 60,000 บาท คู่สมรสไม่มีเงินได้ 60,000 บาท บุตร คนละ 30,000 บาท บุตร คนที่ 2 เป็นต้นไป และเกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 คนละ 30,000 บาท ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร ครรภ์ละไม่เกิน 60,000 บาท อุปการะบิดามารดาตัวเอง คนละ 30,000 บาท อุปการะบิดามารดาคู่สมรสไม่มีเงินได้ คนละ 30,000 บาท อุปการะผู้พิการ/ทุพพลภาพ […]

ราชกิจจาฯ ประกาศขยายเวลายื่นเสียภาษีผ่านระบบอินเทอร์เน็ตออกไปอีก 8 วัน

6 กุมภาพันธ์ 2567 เว็บไซตราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงราย และชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ฉบับที่ ๒) เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนําส่งภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีตามประมวลรัษฎากรผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว จึงอาศัยอํานาจตามมาตรา ๓ อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร อนุมัติให้ขยายกําหนดเวลา การยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และการนําส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ บัญชีงบดุล บัญชีทําการ และบัญชี กําไรขาดทุน บัญชีรายรับ รายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา ๓ สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่กรณี และแบบรายงาน ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน และมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ตามประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ออกไปอีก ๘ วัน นับแต่วันพ้นกําหนดเวลาตามที่กฎหมายกําหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี […]

สรรพากรปิดช่องคนรวยเลี่ยงภาษี ประกาศให้เงินได้ที่นำเข้ามาในประเทศ “ต้องเสียภาษี”

17 กันยายน แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง แจ้งว่า เมื่อวันที่ 15 ก.ย.ที่ผ่านมา กรมสรรพากรได้ออกประกาศ เรื่อง แผนจัดเก็บภาษีเพิ่มเติมสำหรับคนที่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ ตามมาตรา 41 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร โดยคำสั่งดังกล่าวเป็นการสั่งให้บุคคลซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยตามมาตรา 41 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากรที่มีเงินได้พึงประเมินเนื่องจากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ ตามมาตรา 41 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากรในปีภาษีดังกล่าว และได้นำเงินได้พึงประเมินนั้นเข้าประเทศไทยในปีภาษีใดก็ตาม ให้บุคคลนั้นมีหน้าที่ต้องนำเงินได้พึงประเมินเหล่านี้มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษี ตามมาตรา 48 แห่งประมวลรัษฎากรในปีภาษีที่ได้นำเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศ แหล่งข่าวกล่าวว่า เดิมนั้นได้กำหนดว่า ผู้มีเงินได้ในต่างประเทศในปีใด หากนำเข้ามาในประเทศในปีนั้น จะต้องนำมาคำนวณภาระภาษี แต่หากนำเข้ามาในปีถัดไป หรือ ปีต่อๆไป จะไม่มีภาระภาษี จึงเกิดช่องโหว่ในการหลีกเลี่ยงภาระภาษี ดังนั้น กรมฯจึงต้องปิดช่องโหว่ดังกล่าว โดยจะเริ่มใช้สำหรับเงินได้ปี 2567 ถ้ากรณีเป็นบุคคลธรรมดาก็เสียภาษีในปี 2568 ส่วนเม็ดเงินภาษีที่จะได้นั้น ยังประเมินไม่ได้   ข่าวาก : มติชน

‘สรรพากร’ เดินหน้าพัฒนาAI ตรวจจับการหลบเลี่ยงภาษี เริ่มใช้ทันปีนี้!

  การรับฟังความเห็นจัดเก็บภาษี e-business ของกรมสรรพากร รอบ 2 ซึ่งยังไม่ผ่าน ทำให้อธิบดีกรมสรรพากรเตรียมผลักดันกฎหมายฉบับใหม่ โดยพร้อมนำระบบวิเคราะห์ข้อมูลดิจิทัล และ AI ตรวจจับการหลบเลี่ยงภาษี รวมถึงขยายผลการจัดเก็บไปยังผู้ค้าออนไลน์ที่อยู่ในต่างประเทศ การใช้เทคโนโลยีช่วยวิเคราะห์รายได้จากพฤติกรรมประชาชน เป็นหัวข้อส่วนหนึ่งที่ผู้เชี่ยวชาญบล็อกเชนเอกชนเข้าบรรยาย เพื่อให้ความรู้ผู้บริหารสรรพากรพื้นที่ นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร มอบนโยบายแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี กลางปีงบประมาณ 2561 กำชับให้สรรพากรพื้นที่เอาจริงเอาจังกับการดำเนินคดีผู้มีพฤติกรรมหลบเลี่ยงภาษี และเร่งพัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูลดิจิทัล หรือ big data analysis ซึ่งจัดระเบียบข้อมูลของกรมฯ เชื่อมกับหน่วยงานราชการอย่างเป็นระบบ ให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ รองรับการใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ช่วยตรวจจับการรายงานผู้เสียภาษี ที่อาจสำแดงรายการไม่ตรงความจริง พร้อมเตรียมผลักดันกฎหมายจัดเก็บภาษี e-commerce ฉบับใหม่ หลังการเปิดรับฟังความเห็นร่างกฎหมาย e-business รอบที่ 2 ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย ส่งผลให้การออกกฎหมายฉบับนี้ล่าช้า นอกจากนี้ ยังคงเป้าหมายจัดเก็บรายได้ปีนี้ ที่ 1.86 ล้านบาท แม้ 7 เดือนแรกของปีงบประมาณจะจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายกว่า 4.3 หมื่นล้านบาท ส่วนนโยบายการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT […]

ชงยกเลิกลดหย่อนภาษีคนซื้อ ‘แอลทีเอฟ’ หวังแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ-นำเงินไปช่วยคนจนเพิ่มขึ้น

  แนะรัฐยกเลิกลดหย่อนแอลทีเอฟ มีแต่คนรวยได้ประโยชน์ ชี้ยกเลิกแล้วช่วยดึงรายได้ 9,000 ล้าน กลับไปช่วยคนจนได้ น.ส.ดวงมณี เลาวกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยในงานเสวนาโครงการติดตามเศรษฐกิจไทย ครั้งที่ 13 “อัดฉีด เก็บภาษี ช่วยใคร?” ว่า อยากเสนอให้รัฐบาลยกเลิกมาตรการลดหย่อนภาษีค่าซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) เพราะคนที่ได้ประโยชน์มีเพียงกลุ่มผู้มีรายได้สูง จากข้อมูลวิจัยพบว่าสัดส่วนผู้ที่ใช้สิทธิลดหย่อนแอลทีเอฟอยู่ในกลุ่มคนรวยสุด คือรายได้มากกว่า 20 ล้านบาท ถึง 82% ไม่เป็นประโยชน์กับผู้มีรายได้น้อย คือรายได้ต่ำกว่า 5 แสนบาท ซึ่งกลุ่มนี้ใช้สิทธินี้แค่ 2% เท่านั้น ทั้งนี้ ที่ผ่านมารัฐต้องเสียรายได้จากการลดหย่อนแอลทีเอฟเกือบ 9,000 ล้านบาท หากยกเลิกลดหย่อนแอลทีเอฟรัฐก็สามารถนำรายได้ส่วนนี้ไปแก้ปัญหาความยากจน ทำประโยชน์ด้านอื่นได้มากขึ้น โดยที่การยกเลิกลดหย่อนแอลทีเอฟจะไม่กระทบการพัฒนาตลาดทุน เพราะปัจจุบันตลาดทุนพัฒนาไปมากแล้ว และมีทางเลือกลงทุนหลากหลาย ขณะที่การลดหย่อนภาษีกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) ซึ่งทำให้รัฐสูญเสียรายได้ปีละกว่า 3,700 ล้านบาท ยังสนับสนุนให้มีต่อไป เพราะเป็นการส่งเสริมโครงข่ายคุ้มครองทางสังคมระยะยาว สอดคล้องกับการเตรียมความพร้อมไทยที่ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ด้านการลดหย่อนจากการบริจาค โดยเฉพาะเพื่อการศึกษายังมีประโยชน์ควรคงไว้ โดยที่ผ่านมามียอดบริจาคหักลดหย่อนปีละกว่า […]

error: