กรมกิจการผู้สูงอายุเผย ข่าวเพิ่มเบี้ยชรา3พัน ไม่เป็นความจริง ยังคงดำเนินการจ่ายตามระเบียบ มท.

Advertisement จากที่มีผู้โพสต์ให้ข้อมูลว่า ผู้สูงอายุเตรียมรับเงินเบี้ยยังชีพเพิ่ม รายละ 3,000 บาท เริ่ม 10 ก.ย. 66 ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย ทางกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ทางกรมกิจการผู้สูงอายุไม่มีการเพิ่มเบี้ยยังชีพดังที่ถูกกล่าวอ้างแก่กลุ่มผู้สูงอายุ Advertisement ปัจจุบันยังมีการจ่ายเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุเป็นรายเดือนตามช่วงอายุ ดังนี้ – อายุ 60-69 ปี จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 600 บาท/คน/เดือน – อายุ 70-79 ปี จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 700 บาท/คน/เดือน – อายุ 80-89 ปี จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 800 บาท/คน/เดือน – อายุ 90 ปี ขึ้นไป จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 1,000 บาท/คน/เดือน Advertisement ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง […]

“ประยุทธ์” ลั่น “ไม่เคยเป็นรัฐบาลแต่ชอบวิจารณ์” ปมเบี้ยผู้สูงอายุ แจงบริหารตามงบ-คนชราเพิ่ม

15 ส.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า วันนี้เป็นการประชุมตามปกติซึ่งมีเรื่องเข้าพิจารณาหลายเรื่องด้วยกัน ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่จะต้องประชุมกับต่างประเทศ ส่วนภายในเป็นเรื่องการแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งเป็นไปตามวาระทั้งหมดไม่มีอะไรที่ทำให้เกิดปัญหากับอนาคต อันนี้เป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนต้องทำจนกว่าจะมีนายกรัฐมนตรีและครม.ใหม่ถวายสัตย์ปฏิญาณ ผู้สื่อข่าวถามถึงเสียงวิจารณ์การปรับหลักเกณฑ์เบี้ยผู้สูงอายุ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ได้ชี้แจงไปแล้ว ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์หลักการที่มาจากคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติที่มีหน้าที่ตรงนั้นอยู่ ข้อสำคัญจากประเด็นดังกล่าวอาจจะยังไม่เข้าใจหรือไม่เข้าใจและแกล้งไม่เข้าใจก็ไม่ทราบเหมือนกัน ทั้งนี้คนที่เคยได้รับอยู่แล้วก็ยังได้รับเหมือนเดิม ขณะเดียวกันวันนี้เป็นการเตรียมการสู่อนาคตว่าจะใช้งบประมาณอย่างไรให้เพียงพอในวันข้างหน้าซึ่งเป็นเรื่องของรัฐบาลหน้าสามารถดำเนินการได้ต่อไป ถ้ามีเม็ดเงินงบประมาณที่เพียงพอ แต่สิ่งที่เราทำมันจำเป็นต้องทำเพราะผู้สูงวัยมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ บางคนสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่บางคนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ดังนั้นเราต้องมาดูว่ามีเงินมากน้อยแค่ไหน จริงๆแล้วเรียกว่าเป็นการเผื่อแผ่แบ่งปันซึ่งกันและกันเราว่าอย่างนั้น คนที่มีรายได้สูงเขาได้เสียสละมาในการที่จะดูแล อันนี้ไม่ได้ไปให้โดยตรงอยู่แล้ว ให้ผ่านทางภาษีอะไรก็ว่ากันไป “ฉะนั้นอย่าไปฟังหลายๆอย่างมาจากคนที่ไม่เคยทำและไม่เคยเป็นรัฐบาลมาแล้วนำมาพูด ผมไม่อยากจะมาตอบโต้ตรงนี้” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว   ข่าวจาก : ข่าวสด

พม.ยืนยัน ผู้สูงอายุเดิมยังได้รับ “เบี้ยยังชีพ” หลังปรับหลักเกณฑ์ใหม่ เตรียมหารือ มท.เพื่อประโยชน์สูงสุด

จากกรณีกระทรวงมหาดไทยได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2566 นั้น ล่าสุด นางสาวแรมรุ้ง วรวัธ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยถึง ระเบียบกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2566 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เนื่องจากมีการปรับปรุงในเรื่องคุณสมบัติผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ข้อ 6(4) เป็นผู้ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด ทั้งนี้ ระเบียบใหม่ได้กำหนดบทเฉพาะกาล ข้อ 17 วรรค 1 บรรดาผู้สูงอายุที่ได้ขึ้นทะเบียนและรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อยู่ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับให้ยังมีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นต่อไป และ ข้อ 18 ในระหว่างที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุ ยังมิได้มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ ตามข้อ 6(4) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้คุณสมบัติผู้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติมไปพลางก่อน นางสาวแรมรุ้ง กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับประเด็นของการปรับปรุงระเบียบดังกล่าว ซึ่งเป็นอำนาจของกระทรวงมหาดไทยนั้น ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุที่รับเบี้ยยังชีพเดิม และยังคงสิทธิรับเบี้ยยังชีพจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกระทรวงมหาดไทยจะชี้แจงในรายละเอียดต่อไป […]

มท.1 แจงปมปรับเบี้ยชรา ยังไม่มีข้อสรุป รอ พม.เคาะเกณฑ์ ย้อนถามคนอย่างผมมีบำนาญ6หมื่นกว่า ควรได้ไหม?

(14 ส.ค.2566) พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการมหาดไทย ชี้แจงถึงกรณีการเปลี่ยนหลักเกณฑ์จ่ายเงินเบี้ยผู้สูงอายุ ว่า เรื่องเงินดูแลผู้สูงอายุ จริง ๆ แล้ว เป็นเรื่องของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ที่เป็นเจ้าของเรื่อง โดยมีคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ เป็นผู้พิจารณาในเรื่องนี้ตามหลักเกณฑ์ แต่งบประมาณส่วนนี้ นำมาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จ่าย จึงเกี่ยวข้องกับกระทรวงมหาดไทย เป็นที่มาว่าโดยกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะจ่ายได้นั้น กระทรวงมหาดไทยจะต้องออกระเบียบเพื่อที่ให้ดำเนินการได้ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า เคยมีปัญหาเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็จ่ายเงินตามปกติให้กับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่ลงทะเบียนแล้ว แต่เกิดประเด็นว่ากรมบัญชีกลางท้วงคนที่มีรายได้ส่วนอื่นจากของรัฐ จะรับอีกไม่ได้ ในช่วงนั้นก็มีการแก้ไขปัญหากัน สรุปว่าที่จ่ายไปแล้วก็ไม่เรียกคืน ที่เรียกคืนไปแล้วเราก็ไปจ่ายเงินคืนให้เหมือนเดิม “ตอนนี้จะจ่ายอย่างไรนั้น จึงอยู่ที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติเป็นคนกำหนด หลังจากนั้นมหาดไทยก็จะไปออกให้สอดคล้องกับที่กำหนดมา ขณะนี้ก็จะต้องบอกไป เพราะไม่ฉะนั้นเขาจะทำตัวไม่ถูก บอกว่าให้จ่าย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องรอเกณฑ์ต่าง ๆ จากคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ” พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ส่วนที่บางคนไปเข้าใจผิดว่าตัดหรือไม่ตัดเบี้ยนั่นไม่ใช่ แต่บอกไปเพื่อที่จะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้จ่ายได้ ส่วนจะจ่ายได้อย่างไรนั้นต้องรอดูจากคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ซึ่งเรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวกับเงื่อนไขเวลา แต่อยู่ที่ว่าคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติจะกำหนดออกมาเมื่อใดอย่างไร ส่วนกรณีโซเชียลมีดรามาถึงการพิสูจน์ความจนนั้น พล.อ.อนุพงษ์ ระบุว่า มีวิธีคิดได้หลายแบบ ก่อนจะย้อนถามว่าถ้าคนอย่างผมได้ด้วยเนี้ยคุณว่ายุติธรรมหรือไม่ […]

กรมบัญชีกลาง พร้อมจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษผู้สูงอายุ เริ่มจ่าย19ก.ค. 65

นางสาววารี แว่นแก้ว รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 อนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2565 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อแก้ไขเยียวยาความเดือนร้อนเสียหายในบางกรณี การจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษผู้สูงอายุ จำนวน 10.94 ล้านคน วงเงิน 8,382.20 ล้านบาท เพื่อบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ โดยผู้สูงอายุที่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จะได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษผู้สูงอายุ 100 – 250 บาท/คน/เดือน เป็นเวลา 6 เดือน (เมษายน – กันยายน 2565) กรมบัญชีกลางในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณดังกล่าว เพื่อโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงินโดยตรงแทนกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยจะจ่ายเงินรอบแรกในวันที่ 19 กรกฎาคม 2565 รวม 4 เดือน (เมษายน – กรกฎาคม 2565) รอบถัดไปในวันที่ 19 สิงหาคม 2565 และ […]

จับตา! เบี้ยผู้สูงอายุถอยหลังลงคลอง ส่อแววจ่ายเฉพาะคนจน ไม่แจกถ้วนหน้า

เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ (Welfare Watch Network) อ้างอิงการเปิดเผยของแหล่งข่าวคนหนึ่ง ระบุว่า ภาครัฐอาจจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้เฉพาะกลุ่มคนยากจนเท่านั้นในอนาคต ไม่จ่ายแบบถ้วนหน้าอย่างในปัจจุบัน แหล่งข่าวคนดังกล่าว ให้ข้อมูลว่าการสาเหตุของเรื่องนี้ว่าเป็นเพราะที่ผ่านมามีการเรียกเก็บเงินยังชีพผู้สูงอายุคืน พร้อมดอกเบี้ย จากการได้รับบำนาญพิเศษตกทอดมาจากบุตร จึงไม่อยากให้เกิดการจ่ายเบี้ยยังชีพซ้ำซ้อน ดังนั้นจึงไม่พบว่าจำเป็นต้องจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบถ้วนหน้า แหล่งข่าวเผยอีกว่า กรมกิจการผู้สูงอายุจึงประชุมเพื่อหารือกับคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ เพื่อกำหนดแนวทางการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับกลุ่มเป้าหมายแทนการจ่ายแบบถ้วนหน้า การประชุมดังกล่าว ที่เกิดขึ้นเมื่อวันอังคาร (14 ก.ย.) ที่ผ่านมา มีนายแพทย์ วิชัย โชควิวัฒน รองประธานอนุกรรมการกำหนดนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ (ใหม่) เป็นประธานการประชุม ทั้งยังมีนางอภิญญา ชมภูมาศ รองอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ, นางศิริลักษณ์ มีมาก ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ, ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง, ผู้อำนวยการกอง/กลุ่ม, ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกรมกิจการผู้สูงอายุ เข้าประชุมด้วย นางสาวสุรีรัตน์ ตรีมรรคา ตัวแทนจาก Welfare Watch Network ให้ความเห็นว่า หากมีมติออกมาเป็นเช่นนั้นจริง ยิ่งตอกย้ำว่าการจ่ายเบี้ยยังชีพ ที่ดำเนินการด้วยนโยบายภายใต้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ผู้สูงอายุ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ในขณะที่ภาคประชาชนเสนอให้จัดทำ พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติ ที่เน้นการยืนยันสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ […]

1 2 3
error: