หมอ รพ.ประจวบฯ ยกเคส “ปวดหลังร้าวลงขา” เตือนรู้ตัวช้าเสี่ยงขาอ่อนแรง

Advertisement จากข่าวแพทย์โพสต์เตือน! กรณีศึกษาผู้ป่วยที่น่าสนใจของอาการปวดเอวร้าวลงขา หลังพบคุณลุงวัย 50 ปี ปวดมานานจนไม่สามารถทำกิจวัตรตามปกติได้ ตรวจพบก้อนเนื้อกดเบียดทับเส้นประสาท “เสี่ยงขาอ่อนแรง” ในเพจเฟซบุ๊ก โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ ระบุข้อความว่า Advertisement “กรณีศึกษาผู้ป่วยที่น่าสนใจ ผู้ป่วยชายอายุ 50 ปีเศษ ให้ประวัติปวดหลัง ปวดสะโพกด้านซ้าย เสียวลงไปขา กินยาแก้ปวด หาหมอบีบหมอนวด ไม่ดีขึ้น อาการเป็นมากขึ้นจนประกอบกิจวัตรประจำวันปกติไม่ได้ ถ้านั่งจะดีขึ้น เดินไปนานๆ จะปวดมาก จึงได้มาปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ ส่งพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์ระบบประสาท ตรวจอาการเบื้องต้น สงสัยเส้นประสาทถูกกดทับ ระดับกระดูกสันหลังข้อที่ 4 ได้ส่งตรวจวินิจฉัยโรคเพิ่มเติม ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(MRI) จากภาพรังสี เห็นเป็นก้อนเนื้อไปกดเบียดทับเส้นประสาทอย่างชัดเจน จึงแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัด การผ่าตัดระบบประสาทสมอง ไขสันหลังต้องใช้ทักษะของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์ระบบประสาท ผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง เพื่อตัดเอาส่วนที่เป็นก้อนเนื้องอกออก โดยไม่ให้มีผลกระทบต่อเส้นประสาทและไขสันหลัง ใช้เวลาผ่าตัดกว่า 1 ชั่วโมง ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ติดตามอาการผู้ป่วยหลังผ่าตัด ดีขึ้นอย่างชัดเจน หากทิ้งไว้เนิ่นนาน อาการรุนแรง ทำให้ขาอ่อนแรงตามมาได้ ปวดเอว ปวดสะโพก ปวดร้าวไปขาอย่าละเลย […]

ผมร่วง-ปวดหลังเป็นอาการของ “ออฟฟิศซินโดรม” จริงหรือ?

ตามที่มีข้อมูลในสังคมออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องผมร่วงและปวดหลังเป็นอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีผู้โพสต์ระบุว่า ผมร่วงและปวดหลังเป็นอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม ทางสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า อาการผมร่วง มีทั้งลักษณะที่ร่วงทั่วทั้งศีรษะหรือผมร่วงเป็นหย่อม และผมร่วงแบบไม่มีแผลเป็น หรือผมร่วงแบบมีแผลเป็นบนหนังศีรษะ ทั้งนี้อาการผมร่วงอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ตามหลังการเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ หลังการคลอดบุตร หลังการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ภาวะเครียด และโรคไทรอยด์ เกิดได้ทั้งจากภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ที่สูงหรือต่ำเกินไป โรคทางผิวหนังบางชนิด เช่น โรคผมร่วงเป็นหย่อม โรคแพ้ภูมิตัวเอง (Systemic Lupus Erythematosus, SLE) การติดเชื้อรา ไวรัส หรือแบคทีเรีย การได้รับยาหรือสารเคมีบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัด รวมถึงโรคทางพันธุกรรมบางชนิดที่ทำให้เกิดความผิดปกติของเส้นผมและผมร่วงได้ เป็นต้น ดังนั้นเมื่อพบมีภาวะผมร่วง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุ และให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป โรคออฟฟิศซินโดรม เกิดจากการทำงานบางอย่างในท่าทางเดิม ๆ ที่ไม่เหมาะสม ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน และอาจมีสภาพร่างกาย หรือสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสมร่วมด้วย ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อเฉพาะบางส่วนของร่างกายได้ที่พบบ่อย ได้แก่ คอ บ่า ไหล่ […]

error: