นักเศรษฐศาสตร์ ห่วงโครงสร้างการเลี้ยงหมูจะเปลี่ยน ผู้เลี้ยงหมูรายย่อยจะหายไป

Advertisement นักเศรษฐศาสตร์ ห่วงโครงสร้างการเลี้ยงหมูจะเปลี่ยนไปมาก ผู้เลี้ยงหมูรายย่อยจะหายไป ดร.เดชรัต สุขกำเนิด ผอ.ศูนย์นโยบายเพื่ออนาคต หรือ Think Forward Center อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขียนบทความแสดงความเห็นถึงสถานการณ์หมูแพงในขณะนี้ โดย ระบุว่า Advertisement ห่วงหมู สิ่งที่ผมเป็นห่วงเกี่ยวกับ สถานการณ์หมูแพง นอกเหนือจากราคาเนื้อหมูที่เพิ่มสูงขึ้นแล้ว ผมก็เป็นห่วงเรื่องโครงสร้างของการเลี้ยงหมูที่อาจเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก หลังจากเผชิญโรคระบาดครั้งใหญ่ (ซึ่งระหว่างผู้เลี้ยงกับกรมปศุสัตว์ยังบอกไม่ตรงกันว่าเป็นโรคอะไร? แต่ผมคิดว่า น่าจะเป็นโรคอหิวาต์สุกรแอฟริกัน) เพราะผมทราบจากญาติมิตรที่เลี้ยงหมูว่า ฟาร์มหมูรายย่อยจำนวนมาก ได้หยุดดำเนินการ เพราะไม่อาจจะสู้กับความเสี่ยงของโรคระบาด และต้นทุนการเลี้ยงหมูที่เพิ่มขึ้นได้ จริงๆแล้ว การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเลี้ยงหมูเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้ แต่โรคระบาดในครั้งนี้ อาจซ้ำเติมให้ผู้เลี้ยงย่อยต้องล่มหายตายจากไปกระบวนการผลิตหมู ยิ่งขึ้นไปอีก เราลองมาดูข้อมูลเดิมกันก่อน ข้อมูลจากรายงานการสำรวจความเปลี่ยนแปลงทางการเกษตร ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2551 และ 2561 พบว่าจำนวนผู้เลี้ยงหมูของไทย ในปี 2551 มีเท่ากับ 285,533 ราย แต่พอถึงปี 2561 จำนวนผู้เลี้ยงหมู กลับเหลือเพียง 82,769 […]

error: