“ครม.เศรษฐา” อนุมัติก่อหนี้ใหม่เพิ่ม 1.94แสนล้านบาท ยันอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลัง ไม่เกิน70% ต่อจีดีพี

Advertisement (26 ก.ย. 66) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติ แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2567 เฉพาะในส่วนที่ ครม. ได้มีมติอนุมัติแล้ว Advertisement การบริหารหนี้ที่ครบกำหนด และการชำระหนี้ที่ประกอบด้วย 1.แผนการก่อหนี้ใหม่ วงเงินรวม 194,434.53 ล้านบาท 2.แผนการบริหารหนี้เดิม วงเงินรวม 1,621,135.22 ล้านบาท 3.แผนการชำระหนี้ วงเงินรวม 390,538.63 ล้านบาท ทั้งนี้ การดำเนินงานตามแผนฯ หน่วยงานภายใต้แผนฯ จะต้องดำเนินการตามกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย สาระสำคัญของแผนฯ ประจำปีงบประมาณ 2567 มี 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.แผนการก่อหนี้ใหม่ ประกอบด้วย (1) การก่อหนี้ใหม่ของรัฐบาล ส่วนใหญ่เป็นการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณปี 2566 ที่มีการขยายเวลากู้เงินออกไปภายหลังจากวันสิ้นปีงบประมาณสำหรับการเบิกจ่ายกันเหลื่อมปีวงเงิน 40,000 ล้านบาท และการกู้เงินเพื่อดำเนิโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (2) […]

“หอการค้าไทย” ชี้ “เงินดิจิทัล” ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสูงสุด1.5ล้านล้าน คุ้มกับงบ5แสนล้าน

(27 ส.ค. 66) นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า นโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท รวม 5 แสนล้านบาท ทำได้แน่นอน และช่วยหมุนเวียนเศรษฐกิจ 2-3 รอบ คิดเป็น 1-1.5 ล้านล้านบาท โดยรัฐอาจจะออกแบบการใช้ แบ่งเป็นล็อต ล็อตละ 3,000 บาท เพื่อกระจายให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นระยะเวลา และกำหนดเงื่อนไขให้ใช้ในการซื้อสินค้าไทย เพื่อให้เม็ดเงินกระจายในประเทศ และจะทำให้เงินหมุนหลายรอบ หากไม่กำหนดก็เสี่ยงจะรั่วไหลออกไปกับสินค้าต่างประเทศได้ ส่วนความเป็นห่วงเรื่องหนี้สาธารณะนั้น มองว่า ไม่น่าจะกระทบ เพราะสำนักงบประมาณ มีการวางกรอบการขาดดุลไว้ไม่เกิน 4% ซึ่งจากสถานะทางการเงินตอนนี้อาจจะขาดดุลงบ เพิ่มได้อีกเล็กน้อย ไม่สูงเกินไป โดยขณะนี้ เพดานหนี้สาธารณะ อยู่ที่ 60% แต่สามารถ ขยายได้ 70% ดังนั้นไม่ต้องกู้เพิ่ม อย่างไรก็ตาม อาจจะมีการพิจารณาเรื่องการใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ซึ่งส่วนนี้ ไม่เพียงจะทำให้ได้เงินเพิ่ม 30,000-35,000 ล้านบาท แต่ยังจะได้ภาษีบุคคลและนิติบุคคลเพิ่ม […]

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ ขยายเพดานหนี้สาธารณะเป็น 70% มีผลบังคับใช้แล้ว

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ ปรับกรอบการบริหาร หนี้สาธารณะ สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ต้องไม่เกินร้อยละ 70 (จากเดิมไม่เกินร้อยละ 60) มีผลบังคับใช้แล้ว วันที่ 28 กันยายน 2564 เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ เรื่อง กำหนดกรอบในการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 ลงนามโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (4) ประกอบมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 และมติคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐในการประชุม ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 20 กันยายน2564 จึงยกเลิกความใน (1)ของประกาศคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ เรื่อง กำหนดกรอบในการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ.2561 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน “(1) สัดส่วนหนี้สาธารณะ ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ต้องไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบ” ทั้งนี้ […]

คลังเผยตัวเลขหนี้สาธารณะสิ้นปี’61 เฉียด7ล้านล้าน เป็นหนี้รัฐบาล5.5ล้านล้าน

  คลังกางตัวเลขหนี้สาธารณะสิ้นปี’61 เฉียด 7 ล้านล้าน เป็นหนี้รัฐบาล 5.5 ล้านล้าน โดยกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและการบริหารหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 22,600 ล้านบาท นายธีรัชย์ อัตนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ เปิดเผยว่า สถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2561 มีจำนวน 6,833,645.93 ล้านบาท หรือคิดเป็น 41.80% ของจีดีพี แบ่งออกเป็น หนี้ในประเทศ 6,578,857.80 ล้านบาท หรือ 96.27% และหนี้ต่างประเทศ 254,788.13 ล้านบาท (ประมาณ 7,778.38 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือ 3.73% ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด และหนี้สาธารณะคงค้างแบ่งตามอายุคงเหลือ สามารถแบ่งออกเป็นหนี้ระยะยาว 5,970,360.85 ล้านบาท หรือ 87.37% และหนี้ระยะสั้น 863,285.08 ล้านบาท หรือ 12.63% ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด และแบ่งเป็นหนี้รัฐบาล […]

error: