นายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมฯ ชงฟันวินัย “ครูก่อหนี้ฟุ่มเฟือย” แนะออกระเบียบคุมเข้ม

Advertisement 20 ก.ย.2566 นายณรินทร์ ชำนาญดู ผู้อำนวยการโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ในฐานะนายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (ส.บ.ม.ท.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันที่ครูทั้งระบบกว่า 9 แสนคน ยอดหนี้รวมกว่า 1.4 ล้านล้านบาท โดยเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดคือ สหกรณ์ออมทรัพย์ครู ยอดหนี้รวม 8.9 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 64 ของยอดหนี้ทั้งหมด อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 5.64 Advertisement รองลงมาคือ ธนาคารออมสิน 3.9 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 28 ของยอดหนี้ทั้งหมด อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.9 ตามมาด้วย ธนาคารกรุงไทย 6.3 หมื่นล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4 ของยอดหนี้ทั้งหมด อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 7.12 และ ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) 6.1 หมื่นล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4 ของยอดหนี้ทั้งหมด อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.4 […]

ตามหาคู่รักวัย20ต้นๆ ทิ้งลูก3เดือนให้ทวดวัย81เลี้ยง สร้างสารพัดหนี้ หากสิ้นเดือนไม่มา จะแจ้ง ตร.

จากกรณีที่เพจเฟซบุ๊ก “อยากดังเดี๋ยวจัดให้ รีเทริน์ part 6” ประกาศ ตามหาพ่อแม่เด็กน้อยวัย 3 เดือน ที่หายตัวไป ทิ้งลูกให้อยู่กับยายวัย 80 ปีเลี้ยงดูเพียงลำพัง พร้อมแนบภาพคู่รัก ซึ่งเป็นพ่อแม่เด็กให้โลกโซเชียลร่วมกันตามหานั้น เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผู้สื่อข่าวตรวจสอบข้อมูลจนทราบว่าเรื่องดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ จ.นครสวรรค์ ซึ่งทารกน้อยวัย 3 เดือนที่ถูกพ่อแม่ทิ้งไว้อยู่ในความดูและของ ยายลา อายุ 81 ปี พักอยู่ที่หมู่ 8 ต.ทับกฤช อ.ชุมแสง จึงเดินทางไปตรวจสอบ พบว่าบ้านของยายลาเป็นบ้านของหลานสาว เปิดเป็นร้านคาร์แคร์เล็กๆ ส่วนยายลา ทราบว่าหลานสาวให้มาอาศัยด้วย โดยยายลาอาศัยอยู่ในห้องพักของอดีตพนักงานบริเวณข้างบ้าน กำลังเลี้ยงดูหลานชายวัย 3 เดือน ที่กำลังนอนหลับอยู่ภายในมุ้งเด็ก ยายลาให้ข้อมูลว่า หลานชายวัย 3 เดือน เป็นลูกที่เกิดกับ น.ส.เยาวเรศ อายุ 21 ปี ซึ่งมีศักดิ์เป็น “ลูกเลี้ยง” ที่ตนขอรับลูกจากสามีเก่าซึ่งไปมีภรรยาใหม่มาเลี้ยงดูไว้ ได้ส่งเสีย น.ส.เยาวเรศ ให้เรียนหนังสือก่อนเขาจะไปมีสามีชื่อ นายสรนัส […]

สภาพัฒน์เผยคนไทยเบี้ยวหนี้ 1ล้านล้าน หนี้ครัวเรือนพุ่ง14.90ล้านล้าน

2 มี.ค. 2566 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงภาวะสังคมไทยไตรมาส 4/2565 และปี 2565 ว่า หนี้สินภาคครัวเรือนมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยหนี้ครัวเรือนไตรมาส 3/2565 อยู่ที่ 14.90 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.9% จากไตรมาสก่อนที่ 3.5% เป็นการปรับเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและตลาดแรงงานที่ปรับตัวดีขึ้น ขณะที่สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) อยู่ที่ 86.8% ดังนั้น จึงต้องพยายามต้องสนับสนุนการส่งออกให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น เพื่อจะได้รักษาระดับการจ้างงาน และรายได้ต่อไปรวมทั้งระมัดระวังค่าใช้จ่ายจากค่าครองชีพ ปรับตัวสูงขึ้นจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ หนี้ครัวเรือนขยายตัวในทุกประเภทสินเชื่อ โดยสินเชื่อที่มีการขยายตัวในอัตราสูง ได้แก่ สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่ขยายตัวถึง 11.8% และ 21.4% โดยสินเชื่อบัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชนที่ลดการใช้เงินสดมากขึ้น ขณะที่การขยายตัวของสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ซึ่งเป็นสินเชื่อที่เข้าถึงได้ง่าย มีเงื่อนไขการสมัครไม่มากและไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน สะท้อนให้เห็นว่าครัวเรือนโดยเฉพาะกลุ่มรายได้น้อยยังมีปัญหาสภาพคล่องจึงมีการใช้บริการสินเชื่อประเภทนี้เพิ่มขึ้น นายดนุชา กล่าวต่อว่า ไตรมาส 3/2565 มียอดคงค้างหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) […]

กยศ.วิกฤต ลูกหนี้จ่ายหนี้ลดลง12% สมัครใจจ่ายไปหายไปอีก28%

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงภาพรวมการชำระหนี้ของลูกหนี้ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ในปีนี้มีการชะลอลงบ้าง แต่ยังไม่กระทบกับสภาพคล่องโดยรวมของกองทุน โดยภาพรวมการชำระหนี้ลดลงไปกว่า 12% เฉพาะช่วงวันที่ 15 กันยายน-30 พฤศจิกายน 2565 การชำระหนี้แบบสมัครใจ ลดลงไปกว่า 28% ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากลูกหนี้ยังรอความชัดเจนเรื่องการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่..) พ.ศ… หรือร่าง พ.ร.บ. กยศ. สำหรับความคืบหน้าของการแก้ไขร่าง พ.ร.บ. กยศ. นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างรอบรรจุวาระเข้าสู่การประชุมของวุฒิสภาเพื่อพิจารณาต่อไป ส่วนกรณีที่กรรมาธิการวุฒิสภา ได้มีการปรับแก้ไขเรื่องอัตราดอกเบี้ยให้คิดได้ไม่เกิน 1% ต่อปี ขณะที่การผิดนัดชำระหนี้ ผู้กู้ยืมต้องเสียเบี้ยปรับ ไม่เกิน 0.5% ต่อปี เว้นแต่คณะกรรมการจะยกเว้นหรือลดหย่อนให้ จากเดิมที่ ร่าง พ.ร.บ. กยศ. ที่สภาเห็นชอบนั้น กำหนดให้ปลอดดอกเบี้ยและไม่คิดค่าปรับนั้น มองว่า ไม่น่าจะมีผลกระทบกับการดำเนินงานของกองทุน และอาจเป็นการเพิ่มแรงจูงใจให้กับผู้กู้ยืมมาชำระหนี้เพิ่มขึ้น เพราะดอกเบี้ยและเบี้ยปรับอยู่ในระดับต่ำมาก อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าสถานะของ กยศ. ในปัจจุบันอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาผู้กู้ยืมจะชะลอการชำระหนี้ไปบ้าง แต่ยังไม่ส่งผลกระทบอะไร […]

สกสค. เร่งสางหนี้1.4ล้านล้าน แจก2พัน ครูเปราะบาง สร้างขวัญกำลังใจ

9 ก.ย. 65 – น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวตอนหนึ่ง ในการเป็นประธานเปิดงานวันสถาปนาสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ครบรอบ 19 ปี ว่า ครูถือเป็นบุคลากรสำคัญในการขับเคลื่อนการศึกษา ซึ่งถือเป็นหัวใจในการสร้างชาติ สร้างเยาวชน ดังนั้นขวัญกำลังใจของครูจึงมีความสำคัญ ในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษา ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ที่มามากกว่า 1.4 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ที่ผ่านมาศธ. พยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเจรจากับสหกรณ์ออมทรัพย์ครู และสถาบันการเงิน เพื่อลดดอกเบี้ย ซึ่งเดิมอยู่ที่ ร้อยละ 5-10 กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน และขณะนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ฯ หลายแห่งทยอยลดดอกเบี้ยลงแล้ว ขณะเดียวกันได้กำชับกับผู้บริหารองค์กรหลักของศธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ดูแลโดยให้ครูมีเงินเหลือ หลังการชำระหนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 รัฐมนตรีว่าการศธ. กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังจัดแบ่งประเภทครูที่ได้รับความเดือดร้อน เพื่อให้ความช่วยเหลือได้ตรงจุด ขณะเดียวกันยังเจรจากับสถาบันการเงิน เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วกว่า 4,000 คน ทั้งหมดนี้เป็นความพยายามในการแก้ปัญหา ขณะเดียวกันยังเดินหน้าพัฒนาครูใหม่ อบรมให้ความรู้ วางแผนการใช้เงิน ใช้ชีวิตที่ถูกต้อง […]

ไขข้อข้องใจ พระสงฆ์สามารถทำสัญญากู้เงินได้หรือไม่

กูรูด้านกฎหมายและการเมือง เผยพระสงฆ์สามารถทำสัญญากู้เงินได้ หากเจ้าหนี้ยอมให้กู้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและการเมือง เคยตอบคำถามผู้ตั้งกระทู้ผ่านเว็บไซต์ meechaithailand ถึงกรณีที่พระสงฆ์สามารถทำสัญญากู้เงินจากสถาบันการเงินได้หรือไม่ สัญญาที่เกิดขึ้นจะเป็นโมฆะหรือไม่ หาดูว่าการกู้เงินไม่ใช่กิจของสงฆ์ ว่าในสายตาทางกฎหมาย พระสงค์ก็เป็นบุคคลเหมือนคนทั่วไป ย่อมมีสิทธิเหมือนกับคนอื่น เว้นแต่ในส่วนที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นเป็นการเฉพาะ เช่น ในเรื่องมรดก เพราะฉะนั้นถ้าพระจะกู้เงิน และเจ้าหนี้เขายอมให้กู้ ก็ไม่มีปัญหาอะไร ข้อมูลจากส่วนนิติการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ระบุถึงผู้ที่มีความสามารถของบุคคลในการทำนิติกรรมโดยหลักทั่วไป บุคคลย่อมมีความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา แต่มีข้อยกเว้นคือ บุคคลบางประเภทกฎหมายถือว่าหย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา เช่น ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ และบุคคลล้มละลาย สำหรับผู้เยาว์จะทำนิติกรรมได้ต้องรับความยินยอมจาก ผู้แทนโดยชอบธรรมต้องแสดงออก ปกติแล้ว บุคคลทุกคนต่างมีสิทธิในการทำนิติกรรมสัญญา แต่ยังมีบุคคลบางประเภทที่เป็นผู้หย่อนความสามารถ กฎหมายจึงต้องเข้าดูแลคุ้มครองบุคคลเหล่านี้ ไม่ให้ได้รับความเสียหายในการกำหนดเงื่อนไขในการเข้าทำนิติกรรมของผู้นั้น ผู้หย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา ผู้เยาว์ (Minor) บุคคลวิกลจริต (Unsound Mind) คนไร้ความสามารถ (Incompetent) คนเสมือนไร้ความสามารถ (Quasi-Incompetent) ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย สามีและภริยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน ส่วนผู้ทำนิติกรรมแทน ได้แก่ ผู้อนุบาล (guardian) […]

หอการค้าไทยเผยผลสำรวจ คนไทยเป็นหนี้ท่วมหัว ปี’61 หนี้นอกระบบหั่นดอกสู้แบงก์-คนหันเล่นแชร์มากขึ้น!!

  คนไทยเป็นหนี้ท่วมหัว ปี’61 พุ่ง 3.16 แสนบาทต่อครัวเรือน ชี้นายทุนนอกระบบหั่นดอกเบี้ยสู้แบงก์-คนหันเล่นแชร์ ดันสัดส่วนหนี้นอกระบบเพิ่ม นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจสถานภาพหนี้ครัวเรือนไทยว่า ในปี 2561 ครัวเรือนไทยมีหนี้เฉลี่ย 316,623 บาทต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 5.8% แบ่งเป็นสัดส่วนหนี้ในระบบ 64.7% และหนี้นอกระบบ 35.3% ส่วนใหญ่เป็นการกู้เงินมาใช้จ่ายทั่วไปมากที่สุด รองลงมาเป็นการกู้มาชำระหนี้เก่า, ลงทุนประกอบธุรกิจหรือประกอบอาชีพ, จ่ายบัตรเครดิต, การศึกษา, ซื้อบ้าน, เสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ, ซื้อทรัพย์สิน (รถยนต์), ในการเกษตร, รักษาพยาบาล และเล่นพนัน โดยเฉพาะฟุตบอล เป็นต้น ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้ปริมาณหนี้สินเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัวโดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้ไม่สูงหรือไม่เกิน 30,000 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน รวมถึงราคาสินค้าเกษตรหลายตัว เช่น ยางพารา และปาล์มน้ำมัน อยู่ในระดับต่ำ, ค่าครองชีพสูง และที่สำคัญรัฐบาลมีมาตรการในการช่วยเหลือชาวบ้านให้ถึงแหล่งทุนในระบบด้วยการผลักดันสินเชื่อรายย่อยหรือฟิโก้ไฟแนนซ์เพื่อแก้ปัญหาการเข้าไปกู้หนี้นอกระบบในอัตราดอกเบี้ยที่แพง รวมถึงการสนับสนุนโครงการต่างๆ ให้เข้าถึงแหล่งการขอสินเชื่อของสถาบันเฉพาะกิจของรัฐในอัตราดอกเบี้ยถูก เป็นต้น     อย่างไรก็ตาม […]

error: