ข้าราชการโปรดทราบ!! ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาแล้ว!! ผู้บังคับบัญชาสั่งงาน ทางวาจา ไลน์ โทรศัพท์ ฯลฯ ถือเป็นคำสั่งโดยชอบ!!

Advertisement   Advertisement ออกคําสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรและด้วยวาจา … เจ้าหน้าที่ตามคําสั่งใด ? ต้องรับผิด ! นางสาวฐิติพร ป่านไหม พนักงานคดีปกครองชํานาญการ กลุ่มเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการและวารสาร สํานักวิจัยและวิชาการ สํานักงานศาลปกครอง ในทางปฏิบัติของการจัดทําภารกิจของหน่วยงานทางปกครอง ไม่ว่าจะเป็นการจัดทํา บริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคนั้น หน่วยงานทางปกครองจะมีการมอบหมายหรือแต่งตั้งให้ เจ้าหน้าที่คนหนึ่งคนใดเป็นผู้ควบคุมดูแลหรือดําเนินการเพื่อให้ภารกิจดังกล่าวบรรลุผลสําเร็จ ซึ่งโดยทั่วไปหน่วยงานทางปกครองหรือผู้มีอํานาจเลือกที่จะใช้รูปแบบการออกคําสั่งเป็นหนังสือหรือ เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้เกิดความชัดเจน แต่ในบางกรณีหน่วยงานทางปกครองหรือผู้มีอํานาจอาจเลือก ที่จะใช้รูปแบบการออกคําสั่งด้วยวาจามอบหมายให้เจ้าหน้าที่คนหนึ่งคนใดปฏิบัติหน้าที่ ถ้ากิจการงาน ที่มอบหมายนั้นเป็นเรื่องเร่งด่วนหรือมีความจําเป็น โดยกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องนั้นไม่ได้กําหนด รูปแบบไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าจะต้องออกคําสั่งโดยทําเป็นหนังสือหรือเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งกรณีเช่นนี้ หน่วยงานทางปกครองย่อมสามารถที่จะออกคําสั่งทางปกครองโดยถือปฏิบัติตามรูปแบบที่พระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ กําหนดไว้กล่าวคือ การออกคําสั่งทางปกครองอาจทําเป็น หนังสือหรือด้วยวาจาหรือโดยการสื่อความหมายในรูปแบบอื่นก็ได้แต่ต้องมีข้อความหรือความหมาย ที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ (มาตรา ๓๔) และในกรณีที่คําสั่งทางปกครองเป็นคําสั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับ คําสั่งร้องขอและการร้องขอได้กระทําโดยมีเหตุอันสมควรภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีคําสั่ง เจ้าหน้าที่ ผู้ออกคําสั่งต้องยืนยันคําสั่งนั้นเป็นหนังสือ (มาตรา ๓๕) และคําสั่งทางปกครองนั้นย่อมมีผลตราบเท่าที่ ยังไม่มีการเพิกถอนหรือสิ้นผลลงโดยเงื่อนเวลาหรือโดยเหตุอื่น (มาตรา ๔๒ วรรคสอง) อย่างไรก็ดีในเรื่องนี้อาจเกิดประเด็นปัญหาว่า ถ้าแต่เดิมผู้มีอํานาจได้ออกคําสั่ง มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว แต่ต่อมาผู้มีอํานาจได้ออกคําสั่งด้วยวาจา […]

error: