ส.ภัตตาคาร ค้านขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ492 ชี้ผู้ประกอบการแบกหนักเกินไป

Advertisement ส.ภัตตาคาร ค้านขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 492 บาท เจอโควิดไม่ทันได้โงหัว ให้แบกทุนเพิ่มอีก ย้ำเป็นการซ้ำเติมธุรกิจมากขึ้น คนที่ได้ประโยชน์คือแรงงานต่างด้าว 27 เม.ย. 2565 – นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย เปิดเผยถึงกรณีที่สหภาคแรงงานต้องการให้มีการทำหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อทวงถามการปรับขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำทั่วประเทศในปีนี้ เป็น 492 บาท Advertisement นางฐนิวรรณ กล่าวว่า สมาคมไม่เห็นด้วย ที่จะมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 492 บาท เพราะจะกระทบต่อธุรกิจร้านอาหารมากกว่า ต้นทุนการขนส่งและวัตถุดิบที่จะสูงขึ้น ะหากปรับขึ้นต้องปรับขึ้นทั้งร้าน และคนที่ได้ประโยชน์คือแรงงานต่างด้าว Advertisement ค่าแรงเป็นอะไรที่หนีไม่ออก เพราะเมื่อขยับค่าแรงขั้นต่ำ ต้องขยับให้เท่ากันทั้งร้าน ผู้ประกอบการฟังแล้วขนหัวลุกเลย แบบนี้ไม่ขึ้นค่าอาหารยังจะดีกว่า ฝากรัฐบาลให้ทำความเข้าใจกับสหภาพแรงงานว่า เจ้าของธุรกิจช่วงที่เจอวิกฤตโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ยังต้องลำบาก ดูแลพนักงาน รักษาการจ้างงาน ยังไม่ทันได้โงหัว จู่ ๆ จะมาขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ขณะที่ค่าครองชีพไปดักรออยู่ข้างหน้าแล้ว เท่ากับเป็นการซ้ำเติมธุรกิจมากขึ้น […]

เยียวยาร้านอาหาร ด่วน! สมาคมภัตตาคารไทย ทำหนังสือจี้นายกฯ ชี้วิกฤติแล้ว

สมาคมภัตตาคารไทย จี้นายกฯ เยียวยาร้านอาหาร หลังเจอวิกฤติจากมาตรการห้ามนั่งทานในร้าน พร้อมระบุ 2 ข้อเสนอ เมื่อวันที่ 8 พ.ค.64 เฟซบุ๊ก สมาคมภัตตาคารไทย – Thai Restaurant Association ได้มีการเผยแพร่หนังสือ ซึ่งระบุว่า จดหมายจากนายกสมาคมภัตตาคารไทยถึงนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะผู้อำนวยการ ศบค. พร้อมเสนอมาตรการเร่งด่วนเพื่อพิจารณาช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหารให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน หลังได้รับผลกระทบจากมาตรการห้ามนั่งกินในร้าน โดยมีใจความว่า ภาคธุรกิจร้านอาหารได้ปฏิบัติตามคำสั่ง ศบค.เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2564 เพื่อมีส่วนร่วมช่วยหยุดยั้งการแพร่ระบาดอีกครั้ง ตามคำสั่งที่ห้ามนั่งรับประทานในร้านเป็นเวลา 14 วัน ทั้งนี้ ร้านอาหารไม่สามารถที่จะมีสายป่านยาวเกินกว่านี้ได้อีกแล้วจึงขอความชัดเจนว่า จะสามารถเปิดให้นั่งรับประทานอาหารที่ร้านได้อย่างแน่นอน หากสถานการณ์ยังรุนแรงต่อไป ท่านนายกรัฐมนตรีจะมีความชัดเจนในการเยียวยาพวกเราหรือไม่ เนื่องจากมาตรการที่ออกมาเยียวยาประขาชนทั้งประเทศตามมติ ครม.เมื่อวันพุธที่ 5 พ.ค.ที่ผ่านมา นั้น มิได้ตรงกับสิ่งที่ร้องขอไป ทั้งที่ร้านอาหารมีผลต่อภาพรวมต่อเศรษฐกิจมหภาค และมีผลต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องไม่ต่ำกว่า 10 ล้านคน ด้วยเหตุที่รายได้หลักสำคัญของกิจการร้านอาหารคือรายได้จากการนั่งรับประทานในร้าน รายได้จากการขายเดลิเวอรี่ยังไม่สามารถทดแทนรายได้หลักได้ในเวลานี้ ดังนั้นเมื่อรายได้หายไปจึงเกิดผลกระทบหนักต่อผู้ประกอบการร้านอาหารตามมา ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่อยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการปิดกิจการ ซึ่งหากไม่รีบช่วยเหลือก็จะส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมตามมา […]

error: