แม่ค้าออนไลน์เตรียมควัก!! ร่าง พ.ร.บ.เก็บภาษีผู้ค้าออนไลน์ผ่านแล้ว รับโอน3,000ครั้งต่อปี ต้องโดนตรวจสอบ!!

  ผ่านแล้ว ร่าง พ.ร.บ.เก็บภาษีผู้ค้าออนไลน์ รับโอน 3 พันครั้งต่อปี ยอดเงิน 2 ล้านบาทต่อปี เจอสรรพากรสอบ สนช. ถกเครียด หวั่นถูกหางเลข ได้รับโอนมากกว่า 200 ครั้ง เจอกวาดรวมหมด วันที่ 4 ธันวาคม 2561 ผู้สื่อข่าวเดลินิวส์ออนไลน์ รายงานว่า ในการประชุมนิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ซึ่งทางคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยมีสาระสำคัญคือ ให้สถาบันการเงินต้องรายงานข้อมูลของบุคคล และนิติบุคคล ที่มีความเคลื่อนไหวทางบัญชีในการทำธุกรกรรม ดังนี้ – ฝาก หรือรับโอนเงินทุกบัญชี เดิน 3,000 ครั้งต่อปี – ฝากและรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 200 ครั้ง และยอดเงินตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไปต่อปี ส่งให้กรมสรรพากรตรวจสอบเพื่อประโยชน์ในการเก็บภาษีได้อย่างถูกต้อง โดยตั้งเป้าเก็บภาษีจากผู้ค้าออนไลน์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สนช. หลายคนได้ลุกขึ้นอภิปรายทักท้วง อาทิ นายวรพล โสคติยานุรักษ์ และนายตวง อันทะไชย […]

เตือนพ่อค้า-แม่ค้า ไลฟ์สดขายของผ่านออนไลน์ ระวังเข้าข่ายผิดกฎหมาย!!

  ประเทศไทยนั้น ถือเป็นประเทศลำดับต้นๆ ที่มีการใช้การไลฟ์ผ่านเฟซบุ๊กเพื่อขายของ ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋า รองเท้า อาหาร พ่อค้า แม่ค้า ล้วนแต่เลือกการไลฟ์มาเป็นช่องทางหนึ่งในการโฆษณาและขายของกันจำนวนมาก โดย น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) กล่าวว่า การไลฟ์สดขายสินค้าผ่านทางโซเชียลมีเดียด้วย เช่น เฟซบุ๊ก ยูทูป ซึ่งทุกวันนี้พบเห็นได้มากขึ้น และมีประเด็นที่น่าจับตา คือ เรื่องของการโฆษณาขณะการไลฟ์สดขายสินค้า โดยพบว่ากว่าร้อยละ 35-36 สินค้าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งตามหลักแล้วต้องมีการขออนุญาตโฆษณาอาหารจากทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก่อน ซึ่งควรมีการตรวจสอบว่า การไลฟ์สดและขายของเหล่านี้ที่มีการโฆษณาได้มีการขออนุญาต อย.แล้วหรือไม่ และโฆษณาเกินจริงหรือไม่ น.ส.สารีกล่าวว่า ขณะเดียวกันยังมีเรื่องของการโฆษณาว่า จะมีการชิงโชคแจกของรางวัลด้วยวิธีต่างๆ ตรงนี้ก็ต้องมีการขออนุญาตการชิงโชคจากทางกระทรวงมหาดไทยตาม พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 ด้วย มิเช่นนั้นถือว่าผิดกฎหมาย ซึ่ง มาตรา 12 กำหนดว่า ผู้ใดจัดให้มีการเล่น หรือทำอุบายล่อ ช่วยประกาศโฆษณาหรือชักชวนโดยทางตรงหรือทางอ้อม ให้ผู้อื่นเข้าเล่นหรือเข้าพนันในการเล่น ซึ่งมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานหรือรับอนุญาตแล้วแต่เล่นพลิกแพลง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปจนถึง […]

ร้านค้าออนไลน์มีหนาว!! สรรพากรเล็งออกกฎหมายเรียกเก็บภาษี คาดเริ่มปี2562

  จากร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่…) พ.ศ. ..เพื่อรองรับระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการ พื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Master Plan) ที่อยู่ระหว่างการจัดทำนั้น และคาดว่าจะประกาศใช้ในไม่ช้านี้ สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ ที่เกี่ยวกับ พ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ นั่นก็คือ กำหนดให้ธนาคาร จะต้องส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร  ในกรณีที่ – พบบุคคลที่มีบัญชี ที่มีรายการรับเงินเกิน 200 ครั้ง/ปี  และมียอดรวมของ ธุรกรรมฝากหรือรับโอนรวมกันตั้งแต่ 2,000,000 บาท ขึ้นไป – ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้ง โดยธนาคารจะต้องรายงาน กรมสรรพากร ภายในเดือนมีนาคม ของทุกปี เนืื่องจาก เข้าข่ายบัญชีของบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะพิเศษ (เพื่อการค้า) ถ้าธนาคารไม่ดำเนินการตามนี้ จะมีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาทตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ หรือจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง กฎหมายฉบับนี้ ยังกำหนดอีกว่า ธนาคารจะต้องรายงานข้อมูลดังกล่าวนี้ ครั้งแรกภายใน 31 มีนาคม […]

ร้านค้าออนไลน์เฮ! ขายของออนไลน์ยอดไม่ถึง1.8ล้าน/ปี ไม่ต้องจดทะเบียน!

  นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ถือว่าเป็นตลาดแบบตรง พ.ศ. …. และร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการวางหลักประกันการประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. …. โดยภายใต้กฏหมายโดยกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงที่เป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ ต่ำกว่าปีละ 1.8 ล้านบาท รวมทั้งเป็นผู้ที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน จะไม่ถือว่าเป็นผู้ทำธุรกิจตลาดแบบตรง และไม่ต้องจดทะเบียนธุรกิจกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) สำหรับการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงปัจจุบันถือว่าเติบโตอย่างมาก กำหนดความหมายว่า เป็นการทำตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการสื่อสารข้อมูล เพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการโดยตรงกับผู้บริโภคและให้ผู้บริโภคติดต่อกลับมาซื้อสินค้าและบริการนั้น เช่น ซื้อขายผ่านโทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์ แตกต่างจากการทำธุรกิจขายตรงที่เน้นการขายสินค้าผ่านตัวแทนที่เป็นสมาชิกของผู้ประกอบธุรกิจนั้นๆ ขณะเดียวกันที่ประชุมครม. ยังเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการวางหลักประกันการประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง กำหนดให้ผู้ที่ยื่นขอจดทะเบียนประกอบธุรกิจดังกล่าว ต้องวางหลักประกันต่อนายทะเบียนของสคบ. แยกเป็นกรณีการจดทะเบียนขายตรง กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจที่มีรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายไม่เกินปีละ 25 ล้านบาท ต้องวางหลักประกัน 25,000 บาท, มีรายได้ปีละ 25-50 ล้านบาท วางหลักประกัน 50,000 บาท , […]

error: