ราชบัณฑิตฯแจง คำทับศัพท์แปลกๆ ที่ว่อนโลกออนไลน์ เป็นข้อมูลเก่า

Advertisement 25 ส.ค.2565 เพจเฟซบุ๊กสำนักงานราชบัณฑิตยสภา แจ้งหลังโลกออนไลน์มีการแชร์เนื้อหา การเขียนคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศจากราชบัณฑิต โดยข้อมูลคำเหล่านี้ อ้างจากหนังสือพจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 1-2 โดยเป็นข้อมูลเดิมที่ปรากฏในพจนานุกรมคำใหม่ เล่มที่ 1 ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2550 และพจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 2 ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2552 Advertisement ปัจจุบันข้อมูลดังกล่าวได้มีการแก้ไข ปรากฏในพจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 1-2 พ.ศ.2557 ดังนั้นคำที่มีการเขียนว่า พ้าร์ตทาย์ม/พ้ารตไทม์, ค็อฟฟี่ฉ็อป, เวิ้ร์กฉ็อป, พรีเหมี่ยร์, ก็อล์ฟ, บุ๊ฟเฟ่ต์ ได้เขียนใหม่เป็นกอล์ฟ, คอมเมนต์, คอฟฟีช็อป, เทสต์, พาร์ตไทม์, บุฟเฟต์, เวิร์กช็อป Advertisement ทางเพจชี้แจงว่าหนังสือดังกล่าวรวบรวมคำที่เกิดขึ้นและใช้ในยุคหนึ่งเพื่อประโยชน์ในการค้นคว้าประวัติที่มาของคำ ซึ่งท่านสามารถอ้างอิงรูปเขียนคำที่ถูกต้องได้ในปัจจุบันได้จากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ พ.ศ.2554 หรือหนังสืออ้างอิงต่างๆ ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาที่เป็นฉบับพิมพ์ครั้งล่าสุด   ข่าวจาก : ข่าวสด

ราชบัณฑิตยสภา ออกค้านกัญชาเสรี ขอรัฐมีแผนควบคุม ใช้ทางการแพทย์เท่านั้น

วันที่ 25 ก.ค.65 เพจ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ออกแถลงการณ์จุดยืนของการใช้กัญชาและผลิตภัณฑ์ โดยระบุว่า ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษประเภท 5 พ.ศ.2565 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565 ) ข้อ1 (3) กำหนดให้ “สารสกัดจากทุกส่วนของกัญชาหรือกัญชง ซึ่งเป็นพืชในสกุล Cannabis ยกเว้นสารสกัดดังต่อไปนี้ (ก) สารสกัดที่มีสารเททระไฮโดรแคนนาบินอล (ทีเอชซี) [tetrahydrocannabinol, (THC)] ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้สกัดจากพืชกัญชาหรือกัญชงที่ปลูกภายในประเทศ (ข) สารสกัดจากเมล็ดของพืชกัญชาหรือกัญชงที่ได้จากการปลูกภายในประเทศ” เป็นผลให้ทุกส่วนของพืชกัญชาไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 อีกต่อไป ทั้งนี้มีผลเมื่อครบกำหนด 120 วัน ตั้งแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตรงกับวันที่ 9 มิ.ย.2565ที่ผ่านมา ราชบัณฑิตยสภา ในฐานะองค์กรปราชญ์ของแผ่นดิน “เป็นสถานที่บำรุงสรรพวิชา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนาขึ้น […]

ราชบัณฑิต ยอมรับสะกดคำว่า’แซว’ ผิดมา 7 ปี ชี้คำที่ถูกต้องคือ ‘แซว’ ยกเลิกสะกดว่า’แซ็ว’

  ราชบัณฑิต ยอมรับเขียนคำว่า “แซว” ผิด ระบุ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เก็บคำว่า “แซว” ที่เป็นภาษาปากมีความหมายว่า “กระเซ้า” ไว้ และพิมพ์คำผิดเป็น “แซ็ว” วันนี้ (19 มี.ค.61) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจเฟซบุ๊ก ราชบัณฑิตยสภา ได้โพสต์ข้อความว่า เกี่ยวกับการเขียนคำว่า “แซว”, “คะ”, “ค่ะ”, “นะคะ” โดยระบุว่า การพูดจาภาษาไทยนอกจากการใช้เลือกใช้ถ้อยคำวาจาที่สุภาพสื่อความเข้าใจระหว่างกันได้ชัดเจนแล้ว ควรมีหางเสียงที่จะทำให้ถ้อยวาจาที่กล่าวออกไปดูนุ่มนวล น่าฟัง ทั้งหางเสียงหรือกระแสเสียงลงท้ายยังแสดงหรือสะท้อนนิสัย อารมณ์ ความรู้สึกของผู้พูดด้วย หากพูดจาไม่มีหางเสียงอาจทำให้ถ้อยวาจาที่กล่าวออกไปนั้นฟังดูห้วน กระด้าง และอาจระคายหูผู้ฟัง การพูดจาที่สุภาพนอกจากจะขึ้นอยู่กับการเลือกสรรถ้อยคำที่ถูกต้องเหมาะสมกับกาลเทศะแล้ว ควรใช้คำลงท้ายที่แสดงความสุภาพควบคู่ไปด้วยทั้งชายและหญิง เช่น ผู้ชายใช้คำลงท้ายที่แสดงความสุภาพ ว่า ครับ, นะครับ ผู้หญิงใช้ คะ, ค่ะ, นะคะ ปัจจุบันการเขียนคำลงท้ายแสดงความสุภาพที่ผู้ชายใช้ไม่ค่อยเป็นปัญหา แต่คำลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ค่อนข้างจะสับสน เช่น “คะ” ไปใช้ว่า […]

error: