ชายวัย40 ทรุดหนัก ไอนาน1เดือน ตรวจเจอมะเร็งปอดระยะสุดท้าย

Advertisement สำนักข่าวอีทีทูเดย์รายงาน กรณีทางการแพทย์ที่ควรระมัดระวังและสังเกตร่างกายของตนเองเป็นประจำเสมอ โดยชายวัย 40 มีอาการไอนาน 1 เดือน เมื่อไปพบแพทย์ถึงกับช็อก เป็น “มะเร็งปอดระยะสุดท้าย” และ มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ Advertisement นพ. ซู อี้เฟิง แพทย์ประจำแผนกเวชศาสตร์ทรวงอก กล่าวว่า ผู้ป่วยคนดังกล่าวมีพฤติกรรมสูบบุหรี่มา 20 – 30 ปี จากนั้นไม่นานมานี้ เกิดอาการไอหนักเป็นระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งแพทย์แนะนำผู้ป่วยให้รีบรักษาทันที อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยกลับกล่าวว่า “ไม่เชื่อ! ต้องเอาข้อมูลไปถามโรงพยาบาลอีกสองสามแห่ง!” นพ. หลิน เมิ่งฮุย หัวหน้าแผนกการจัดการสุขภาพแห่งเมืองไทเปเตือนว่า มะเร็งปอดมักถูกเรียกว่า เพชฌฆาตเงียบ เนื่องจากมะเร็งปอดระยะแรกมักไม่มีอาการชัดเจน เมื่อมีอาการชัดเจนและเข้ารับการรักษา ส่วนใหญ่จะเข้าสู่ระยะลุกลาม ทำให้มะเร็งปอดมีอัตราการตายสูงและอัตราการรอดชีวิตต่ำ Advertisement นพ. หลิน เมิ่งฮุย กล่าวว่า การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยปริมาณรังสีต่ำ (LDCT) สามารถตรวจพบก้อนเนื้อในปอดที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ซม. และมีความไวสูงและมีโอกาสตรวจพบรอยโรคได้เร็วกว่า […]

พยาบาลวัย24 แชร์ประสบการณ์ป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้าย จุดเริ่มต้นจากไอ

4 พฤศจิกายน 2565 พยาบาลสาวผู้ใช้เฟซบุ๊ก BorTor Baitoey ได้มีการโพสต์เล่าประสบการณ์ป่วยเป็นมะเร็งปอดระยะสุดท้าย โดยระบุว่า มีคนเคยบอกว่า ชีวิตคนเราไม่แน่นอน แต่ก็ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นกับตัวเอง อายุ 24 ปี กับโรคยอดฮิตในหนังเศร้า “มะเร็งปอดระยะที่สี่” ที่ทุกคนเรียกว่า “ระยะสุดท้าย” ฝันอยากมีชีวิตแบบนางเอกซีรีส์สักครั้ง แต่ไม่คิดว่าจะได้พลอตนี้ 55555 ไทม์ไลน์อาการป่วย เริ่มตั้งแต่ปลายปี 2564 เริ่มไอ เป็น ๆ หาย ๆ ไม่ได้ไอตลอดเวลา ประมาณ 2 เดือน ตรงกับช่วง pm2.5 คิดว่าเป็นภูมิแพ้ จึงไปหาหมอแผนก หู คอ จมูก ที่ศิริราช ก็ทำการตรวจ x-ray ปอด ส่องกล้องดูทางเดินหายใจ ก็ไม่พบความผิดปกติ จบด้วยการได้ยาแก้ไอต่าง ๆ มากิน จากนั้นก็ไปตามนัดตลอด x-ray ตลอด แต่ก็เริ่มไอมากขึ้น ไอตลอด – […]

หมอสู้มะเร็งปอด อัพเดทอาการ หลังเคมีบำบัด ผมร่วง เริ่มมีข่าวดีแล้ว

จากกรณี นพ.กฤตไท ธนสมบัติกุล อายุ 28 ปี เปิดเพจ ‘สู้ดิวะ’ เราเรื่องราวของตัวเอง หลังตรวจพบมะเร็งปอด ทั้งที่ร่างกายแข้งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ กระทั่งเริ่มไอ พอตรวจปอดพบเหลือแค่ข้างเดียว ล่าสุด วันที่ 27 พ.ย.65 นพ.กฤตไท ได้โพสต์อัพเดทความคืบหน้าการรักษาตัว โดยระบุว่า สวัสดีครับทุกคน ผมสบายดีครับ ยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้แทบจะปกติครับ ผมเพิ่งรับเคมีบำบัดครั้งที่สาม มาเมื่อวันพุธที่ผ่านมาครับ รอบนี้เพลียมากๆเลยครับ ง่วงทั้งวัน ตื่นมากินข้าวแล้วก็หลับต่อ เรียกได้ว่านอนจนจะเป็นแผลกดทับครับ วันนี้มีแรงมากขึ้นแล้วครับ ออกมาทานข้าวนอกบ้าน อยากไปออกกำลังกายแล้ว แต่ฝุ่นเชียงใหม่ก็เริ่มน่ากลัวเกินกว่าจะเอาปอดไปเสี่ยง ไม่อยากจะคิดถึงฝุ่นช่วงพีคเลย คงต้องเก็บตัวอยู่ในห้องไม่ก็ย้ายจังหวัดชั่วคราว แต่เอาจริงช่วงพีคนี่ย้ายไปจังหวัดไหนก็คงพอกัน ยังไงก็ตามครับ ช่วงก่อนที่จะรับยารอบสามนี้ มีเรื่องสนุกเกิดขึ้นครับ ต้องบอกว่าตัวผมเองปกติแล้วออกกำลังกายหนักถึงหนักมากครับ แต่พอมาเข้ารับการรักษาในช่วงเดือนแรก ลำพังแค่ยืนให้ตรงก็ถือว่ายอดเยี่ยมแล้ว เพราะงั้นการออกกำลังกายจึงไม่ได้ทำเลยครับ วันๆก็กินกับนอน บวกกับช่วงแรกเป็นช่วงประชดชีวิต อะไรที่เคยไม่กิน เราก็กินหมดเลย ของทอด ของมัน หมูกรอบ สามชั้นขนมเค้ก น้ำหวาน เรียบร้อยครับ ไขมันสูง […]

หมอมานพ คาดสาเหตุที่หมอหนุ่มวัย28 เพจ #สู้ดิวะ ป่วยมะเร็งปอด ทั้งที่ไม่สูบบุหรี่

จากกระแสที่พูดถึงกันอย่างมากในโซเชียล หลังจาก นพ.กฤตไท ธนสมบัติกุล อายุ 28 ปี อาจารย์ประจำศูนย์ระบาดวิทยาคลินิกและสถิติศาสตร์คลินิก ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเพจเฟซบุ๊กเพจ “สู้ดิวะ” แบ่งปันเรื่องราวป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดระยะสุดท้าย ทั้งที่ดูแลรักษาสุขภาพเป็นอย่างดี และไม่สูบบุหรี่ ทางด้าน ทวิตเตอร์ @manopsi ของ นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีการทวีตข้อความถึงเรื่องคุณหมอกฤตไท ว่า ฝุ่น PM2.5 อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนเป็นมะเร็งปอด ทั้งที่ไม่สูบบุหรี่ ดังนั้นหากใครมีเครื่องฟอกอากาศก็ใช้มันตลอด กดให้ต่ำกว่า 10 ให้ต่ำกว่า 5 ยิ่งดี อย่าให้ปอดเราเป็นไส้กรองอากาศเด็ดขาด นอกจากนี้ นพ.มานพ ยังระบุว่า ทำไมถึงต้องซีเรียสเรื่อง PM2.5 เพราะ PM2.5 เป็นเหตุสำคัญของมะเร็งปอดชนิดที่มีการกลายพันธุ์ของยีน EGFR ซึ่งพบกว่า 50% ของผู้ป่วยมะเร็งปอดชาวไทย โดยเฉพาะคนที่ไม่สูบบุหรี่ พบว่าเซลล์ปอดที่มี EGFR กลายพันธุ์ ยังไม่เปลี่ยนเป็นมะเร็งจนกระทั่งได้รับ PM2.5 เข้าไป […]

รู้จักมะเร็งปอด คร่าชีวิตคนไทยอันดับ2 มี3ปัจจัยเสี่ยง สังเกตสัญญาณเตือน

รู้จักมะเร็งปอด คร่าชีวิตคนไทยอันดับ 2 เปิด 3 ปัจจัยเสี่ยง สังเกตสัญญาณเตือน ไอเรื้อรังกว่า 2 สัปดาห์ ไอเป็นเลือด เสมหะปนเลือด เจ็บหน้าอก น้ำหนักลด เมื่อวันที่ 11 มี.ค.65 นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงกรณีการเสียชีวิตของอดีตพระเอกในตำนาน นายสรพงศ์ ชาตรี จากโรคมะเร็งปอด ว่า มะเร็งปอดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย โดยเป็นอันดับ 2 ในผู้ชายรองจากมะเร็งตับ และเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิง ปัจจุบันยังไม่มีแนวทางการคัดกรองโรคมะเร็งปอดที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า เมื่อผู้ป่วยมีอาการผิดปกติมักจะเป็นโรคในระยะที่ลุกลามไปแล้ว ทำให้การตรวจพบโรคในระยะแรกทำได้ยากและมีอัตราตายสูง วิธีที่ดีที่สุดในปัจจุบันจึงเป็นการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปอด ได้แก่ 1.การสูบบุหรี่รวมถึงยามวนต่างๆ โดยผู้สูบบุหรี่อาจมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบถึง 10 เท่า รวมถึงผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่เองโดยตรง แต่สูดดมจากบุหรี่ที่ผู้อื่นสูบก็มีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป เพราะควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็งมากกว่า 60 ชนิด 2.ได้รับแร่ใยหิน (แอสเบสตอส) ซึ่งเป็นแร่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น การก่อสร้าง โครงสร้างอาคาร […]

แพทย์เผยสาเหตุ-สัญญาณเตือน “มะเร็งปอด” ไม่ใช่สิงห์อมควัน ก็ต้องระวังกว่าที่คิด

แพทย์เผย สาเหตุ-สัญญาณเตือน’มะเร็งปอด’ ไม่ใช่สิงห์อมควัน ก็ต้องระวังกว่าที่คิด คร่าชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย มะเร็งปอดเกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติอย่างรวดเร็วและไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนของเซลล์ที่ผิดปกติ ซึ่งสามารถตรวจพบได้เมื่อมีขนาดใหญ่ มีจำนวนมาก และแพร่กระจายไปตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย ทางกรมการแพทย์ โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ชี้มะเร็งปอดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย โดยเป็นอันดับ 2 ในผู้ชายรองจากมะเร็งตับ และเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิง ซึ่งมีการตรวจคัดกรองให้พบโรคในระยะแรกทำได้ยากและมีอัตราการตายสูง โดยมีปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของการเกิดมะเร็งปอดหลายประการ การสูบบุหรี่และยามวนต่างๆ – เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด รวมถึงมะเร็งชนิดอื่น ๆ เพราะควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็งมากกว่า 60 ชนิด ดังนั้น ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบถึง 10 เท่า ควันบุหรี่มือสอง – แม้จะไม่ได้สูบบุหรี่โดยตรง แต่การได้รับควันบุหรี่มือสองจากการสูดหายใจเข้าไปจะทำให้มีสารพิษตกค้าง ซึ่งก่อให้เกิดมะเร็งต่าง ๆ ได้ การทำงานในอุตสาหกรรมที่มีสารก่อมะเร็ง – การสัมผัสสารก่อมะเร็ง เช่น โครเมียม แร่ใยหิน(แอสเบสตอส) แร่เรดอน และนิกเกิล เป็นต้น จากการก่อสร้าง โครงสร้างอาคาร […]

error: