สรรพากรแจงกรณีรีดภาษีร้านค้าออนไลน์ ชี้เก็บเฉพาะคนที่ถึงเกณฑ์-ไม่ได้เก็บทันทีเลย ยังต้องตรวจสอบหลายขั้น!!

Advertisement   Advertisement นายปิ่นสาย สุรัสวดี โฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่า จากกรณีที่ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ …) พ.ศ. … เพื่อรองรับระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอ นิกส์แห่งชาติ (อี-เพย์เมนต์) กำหนดให้สถาบันการเงินรวมถึงนันแบงก์ ต้องแจ้งข้อมูลบัญชีเฉพาะบัญชีรายรับเงินเข้าในข่ายที่เป็นธุรกรรมพิเศษ ประกอบด้วย 1.การฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้ง/ปี/ธนาคาร และ 2.การฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง/ปี/ธนาคาร และยอดรวมของการรับฝากตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป กรมสรรพากรยืนยันว่าเป็นการ ส่งข้อมูลเท่านั้น ไม่ได้เอาไปตรวจสอบเรียกเก็บภาษี เพราะไม่ใช่ว่าจะตรวจสอบง่ายๆ กรมต้องการเฉพาะข้อมูลเพื่อไปทำการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้เสียภาษี กลุ่มผู้เสียภาษี เพื่อทำแผนปรับปรุงประสิทธิภาพจัดเก็บต่อไป Advertisement นายปิ่นสาย กล่าวว่า ส่วนกรณีที่กังวลว่าจะไปเรียกเก็บภาษีจากกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ และกลุ่มเอสเอ็มอีหรือไม่นั้น กรมยืนยันว่าการแก้ไขกฎหมาย ไม่ได้มีเจตนาโดยตรงที่จะเข้าไปจัดเก็บ ซึ่งตามประมวลรัษฎากร หากกลุ่มผู้ค้าดังกล่าว มีรายได้ถึงเกณฑ์ ก็ต้องยืนแบบเสียภาษีอยู่แล้ว ไม่ได้หมายความว่ามีการออกกฎหมายแล้วจะต้องเสียภาษี เพราะทุกคนมีหน้าที่เสียภาษีให้ถูกต้อง โดยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (2-8) กำหนดให้อาชีพอิสระต้องเสียภาษีเหมาจ่าย […]

ร้านค้าออนไลน์มีหนาว!! สรรพากรเล็งออกกฎหมายเรียกเก็บภาษี คาดเริ่มปี2562

  จากร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่…) พ.ศ. ..เพื่อรองรับระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการ พื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Master Plan) ที่อยู่ระหว่างการจัดทำนั้น และคาดว่าจะประกาศใช้ในไม่ช้านี้ สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ ที่เกี่ยวกับ พ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ นั่นก็คือ กำหนดให้ธนาคาร จะต้องส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร  ในกรณีที่ – พบบุคคลที่มีบัญชี ที่มีรายการรับเงินเกิน 200 ครั้ง/ปี  และมียอดรวมของ ธุรกรรมฝากหรือรับโอนรวมกันตั้งแต่ 2,000,000 บาท ขึ้นไป – ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้ง โดยธนาคารจะต้องรายงาน กรมสรรพากร ภายในเดือนมีนาคม ของทุกปี เนืื่องจาก เข้าข่ายบัญชีของบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะพิเศษ (เพื่อการค้า) ถ้าธนาคารไม่ดำเนินการตามนี้ จะมีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาทตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ หรือจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง กฎหมายฉบับนี้ ยังกำหนดอีกว่า ธนาคารจะต้องรายงานข้อมูลดังกล่าวนี้ ครั้งแรกภายใน 31 มีนาคม […]

error: