พ่อค้าออนไลน์ แชร์ประสบการณ์โดนสลิปปลอม สูญกว่า6แสน ขายดีจนเจ๊ง

Advertisement พ่อค้าออนไลน์เตือนอุทาหรณ์ ขายดีจนเจ๊ง เผยขายอย่างเดียว ไม่เช็กรายการโอนเงิน โดนลูกค้าใช้สลิปปลอม 82 ใบ รวมกว่า 6 แสนบาท เข็ดแล้ว….ขอจำจนวันตาย Advertisement วันที่ 25 มีนาคม 2565 โลกออนไลน์พากันพูดถึงกรณีของพ่อค้าขายรองเท้าผ้าใบทางออนไลน์รายหนึ่ง เผยอุทาหรณ์เตือนใจสำหรับพ่อค้าและแม่ค้าออนไลน์ เนื่องจากเจ้าตัว โดนมาเจ็บแสบมาก เนื่องจากลูกค้าที่ซื้อของส่งสลิปปลอมให้มากถึง 82 สลิป รวมมูลค่ากว่า 606,235 บาท เนื่องจากตนไม่ได้เช็กยอดการโอนเงินของลูกค้าว่าโอนจริงหรือไม่ โดยพ่อค้าผู้เสียหาย ต้องไปติดต่อขอหลักฐานจากธนาคารด้วยตัวเอง เพื่อรวบรวมสลิปโอนเงินปลอมจำนวนมากที่ตั้งใจฉ้อโกง จากนั้นเข้าแจ้งความร้องทุกข์ที่ สภ.เมืองพิษณุโลก Advertisement ทั้งนี้ ผู้เสียหายยังโพสต์เตือนเป็นอุทาหรณ์ให้กับพ่อค้า-แม่ค้าออนไลน์ทั้งหลาย ระบุว่า อุทาหรณ์จำจนตาย “ขายดีจนเจ๊ง” ผมพลาดที่ไม่เคยเช็กยอดการโอนเงินของลูกค้าเลย โดนสลิปปลอม 82 สลิป ยอดเงิน 606,235 บาท แค่เพียงเพราะคำว่า “เดี๋ยวค่อยเช็ก” บทเรียนราคาแพงสู้กันต่อไปครับ ขณะที่เพื่อน ๆ และชาวเน็ตต่างเข้ามาคอมเมนต์ให้กำลังใจจำนวนมาก ขอให้ตำรวจสามารถตามเงินคืนได้ และขอให้ได้เงินชดเชยคืนแบบ 10 […]

เตือนพ่อค้า-แม่ค้า ไลฟ์สดขายของผ่านออนไลน์ ระวังเข้าข่ายผิดกฎหมาย!!

  ประเทศไทยนั้น ถือเป็นประเทศลำดับต้นๆ ที่มีการใช้การไลฟ์ผ่านเฟซบุ๊กเพื่อขายของ ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋า รองเท้า อาหาร พ่อค้า แม่ค้า ล้วนแต่เลือกการไลฟ์มาเป็นช่องทางหนึ่งในการโฆษณาและขายของกันจำนวนมาก โดย น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) กล่าวว่า การไลฟ์สดขายสินค้าผ่านทางโซเชียลมีเดียด้วย เช่น เฟซบุ๊ก ยูทูป ซึ่งทุกวันนี้พบเห็นได้มากขึ้น และมีประเด็นที่น่าจับตา คือ เรื่องของการโฆษณาขณะการไลฟ์สดขายสินค้า โดยพบว่ากว่าร้อยละ 35-36 สินค้าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งตามหลักแล้วต้องมีการขออนุญาตโฆษณาอาหารจากทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก่อน ซึ่งควรมีการตรวจสอบว่า การไลฟ์สดและขายของเหล่านี้ที่มีการโฆษณาได้มีการขออนุญาต อย.แล้วหรือไม่ และโฆษณาเกินจริงหรือไม่ น.ส.สารีกล่าวว่า ขณะเดียวกันยังมีเรื่องของการโฆษณาว่า จะมีการชิงโชคแจกของรางวัลด้วยวิธีต่างๆ ตรงนี้ก็ต้องมีการขออนุญาตการชิงโชคจากทางกระทรวงมหาดไทยตาม พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 ด้วย มิเช่นนั้นถือว่าผิดกฎหมาย ซึ่ง มาตรา 12 กำหนดว่า ผู้ใดจัดให้มีการเล่น หรือทำอุบายล่อ ช่วยประกาศโฆษณาหรือชักชวนโดยทางตรงหรือทางอ้อม ให้ผู้อื่นเข้าเล่นหรือเข้าพนันในการเล่น ซึ่งมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานหรือรับอนุญาตแล้วแต่เล่นพลิกแพลง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปจนถึง […]

error: