องค์การอนามัยโลก ประกาศ “ฝีดาษลิง” เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศแล้ว

Advertisement วันที่ 23 ก.ค.2565 ผู้สื่อข่าวรายงาน นายเท็ดรอส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก แถลงหลังหารือกับคณะกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิง เมื่อวันที่ 23 ก.ค.ที่ผ่านมา ประกาศให้โรคฝีดาษลิง เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC) แล้ว Advertisement นายกีบรีเยซุส ระบุว่า คณะกรรมาธิการไม่สามารถมีฉันทามติว่าจะประกาศให้การแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศหรือไม่ อย่างไรก็ตามจากการพิจารณาเงื่อนไขทั้งหมด เราพบการแพร่ระบาดที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ผ่านการแพร่ระบาดแบบใหม่ที่เรายังเข้าใจน้อยมากซึ่งเข้าเงื่อนไขการกำกับดูแลสาธารณสุขระดับนานาชาติ ด้วยเหตุผลทั้งหมด ตนจึงตัดสินใจให้การแพร่ระบาดของฝีดาษลิงนั้นเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ให้คำแนะนำสำหรับประเทศที่พบผู้ติดเชื้อเข้าสู่ประเทศว่าให้มีมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดและป้องกันกลุ่มเสี่ยง มีส่วนร่วมและปกป้องชุมชนที่ได้รับผลกระทบ เพิ่มการเฝ้าระวังและมาตรการด้านสาธารณสุข เพิ่มความเข้มงวดในการบริหารจัดการในทางคลินิก ป้องกันการและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลและคลินิกต่างๆ เพิ่มการวิจัยเพื่อการใช้วัคซีนการรักษาและเครื่องมืออื่นๆเป็นต้น Advertisement นายกีบรีเยซุส ยังระบุด้วยว่า การแพร่ระบาดนั้นส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย โดยเฉพาะคนที่มีคู่นอนหลายคน ดังนั้นจึงจำเป็นที่ทุกประเทศต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ในการให้บริการและข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ และออกมาตรการที่ปกป้องทั้งสุขภาพ สิทธิมนุษยชนและเกียรติของชุมชนที่ได้รับผลกระทบ การประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ จะทำให้องค์การอนามัยโลกสามารถระดมทุนเพื่อแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงได้มากขึ้น และทำให้เกิดความร่วมมือระดับนานาชาติในการรักษา แบ่งปันวัคซีน เช่นเดียวกับการออกมาตรการด้านการค้าและการเดินทางโดยเฉพาะการคัดกรองผู้ติดเชื้อที่สนามบินได้ นอกจากฝีดาษลิงแล้ว องค์การอนามัยโลกเคยประกาศประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงโรคโปลิโอ ที่ยังคงมีผลจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังเคยประกาศภาวะฉุกเฉินระดับเดียวกันนี้กับไข้หวัดใหญ่ H1N1 เมื่อปี 2552, […]

สังเกตวิธีแยกความแตกต่าง ฝีดาษลิง สุกใสและเริม สังเกตจากอะไรได้บ้าง

แพทย์เผยข้อแตกต่างวินิจฉัยแยกโรค “ฝีดาษลิง” สุกใสและเริม ระบุฝีดาษลิงจะมีต่อมน้ำเหลืองโต ผื่นแปรสภาพเป็นตุ่มนาน 1-2 วัน ระยะตุ่มเหมือนกันทั่วร่างกาย เผยฝีดาษคนรุนแรงสุด อัตราตาย 30% ฝีดาษลิงตายน้อยกว่าพอยู่ที่ 6-10% เมื่อวันที่ 29 พ.ค นพ.สุประกิต จิรารัตน์วัฒนา นายแพทย์ปฏิบัติการ สถาบันโรคผิวหนัง กล่าวถึงการวินิจฉัยแยกโรคระหว่างเริม อีสุกอีใส งูสวัด และฝีดาษลิง ที่มีผื่นตุ่มคล้ายกัน ว่า เริม อีสุกอีใส และงูสวัด เกิดจากไวรัสตระกูลเดียวกัน โดยเริมเป็นตุ่มใสที่แตกง่าย จะเป็นบริเวณเดิมๆ ส่วนใหญ่เป็นที่ริมฝีปาก อวัยวะเพศ ก้นกบ คนไข้อาจเป็นซ้ำๆ ได้ เนื่องจากเชื้อยังฝังในเส้นประสาท พอร่างกายอ่อนแอ อดนอน เครียด จะถูกกระตุ้นให้โผล่ออกมา ส่วนใหญ่เป็นบริเวณที่เดิมๆ ไม่กระจายทั่วร่างกาย หายเองภายใน 7-15 วัน ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน และไม่มีอาการไข้นำ ส่วนฝีดาษลิง จะมีไข้นำมาก่อนและต่อมน้ำเหลืองโต ประมาณ 1-3 วัน จากนั้นผื่นจะเริ่มขึ้น […]

ไทยยังไม่พบผู้ป่วยฝีดาษลิง แต่เข้าข่ายเฝ้าระวังแล้ว3ราย

กรมควบคุมโรค เฝ้าระวังโรคฝีดาษลิงเข้ม หลังพบผู้ป่วยเข้าข่ายต้องสงสัยต้องเฝ้าระวัง แต่ตรวจเชื้อเบื้องต้นยังไม่ใช่ ฝีดาษลิง เตรียมแถลงชัด เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2565 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์โรคฝีดาษลิง(Monkeypox) ในประเทศไทย ว่า ขณะนี้ยังไม่พบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงในไทย มีเพียงผู้เข้าข่ายสงสัยแต่ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทั้งจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ยืนยันว่าไม่ใช่โรคฝีดาษลิง โดยเป็นการติดเชื้อเริม ขณะนี้อยู่ระหว่างพักรักษาอาการผื่นที่สถาบันบำราศนราดูร คาดว่าจะกลับบ้านได้ใน 1-2 วัน “ตอนนี้มีเข้าข่ายสงสัย 3 รายนี้ แต่ผลออกมาว่าไม่ใช่ ซึ่งพรุ่งนี้ทางกองระบาดวิทยาจะแถลงข้อมูลอีกครั้ง” นพ.โอภาสกล่าว นพ.โอภาสกล่าวต่อว่า ด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศมีการคัดกรองและให้ความรู้กับผู้เดินทาง เนื่องจากโรคนี้จะเห็นอาการชัดคือตอนมีผื่น ตุ่ม เมื่อพบก็ต้องสอบสวนโรค อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเบื้องต้นพบว่า การติดเชื้อไม่ง่ายเหมือนโรคโควิด-19 เพราะต้องสัมผัสใกล้ชิดจริงๆ คาดว่าจะไม่ก่อปัญหาแต่เราจะไม่ประมาท เพราะเราเปิดประเทศแล้ว มีคนเข้าคนออกมา ฉะนั้นผู้ที่สงสัยก็ให้รีบพบแพทย์ทันที   ข่าวจาก : ข่าวสด

หมอรามาฯชี้ “ฝีดาษลิง” อาการ 4 ระยะ น่ากลัวขนาดไหน

หมอรามาฯ ให้ความรู้เรื่อง ‘ฝีดาษลิง’ น่ากลัวแค่ไหน ชี้อาการ 4 ระยะ เทียบโควิด โอกาสระบาดทั่วโลกเป็นอย่างไร เผยอัตราเสียชีวิต พญ.รพีพรรณ รัตรวงค์นรา มอร์ด สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้ความรู้เรื่อง ‘ฝีดาษลิง’ ผ่านทาง ยูทูบ ช่อง RAMA Channel ในตอน ฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง) น่ากลัวแค่ไหน !? โรคฝีดาษลิง อาการเป็นอย่างไร? พญ.รพีพรรณ ระบุว่า สำหรับอาการผู้ป่วย ระยะแรก เป็นระยะฟักตัว ที่ยังไม่แสดงอาการ แต่รับเชื้อมาแล้ว ระยะที่ 2 ระยะไข้ มีอาการไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว รวมทั้งปวดศีรษะ และ ต่อมน้ำเหลืองโต ระยะที่ 3 อาการผื่น จะปรากฎผื่นขึ้นตามตัวอย่างเห็นได้ชัด โดยส่วนมากจะมีบริเวณใบหน้า และ แขนขา โดยเฉพาะที่ฝ่ามือ-ฝ่าเท้า ก็สามารถพบได้ และ […]

องค์การอนามัยโลก คาดผู้ป่วย “ฝีดาษลิง” จะเพิ่มขึ้นอีก ล่าสุดเจอแล้ว13ประเทศ

องค์การอนามัยโลก แถลงที่กรุงเจนีวา เมื่อวานนี้ว่า จนถึงขณะนี้ พบผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นโรค “ฝีดาษลิง” แล้ว 92 คน และ พบผู้มีอาการป่วยต้องสงสัยอีก 28 คน ใน 13 ประเทศทั่วโลก ล่าสุดเมื่อวานนี้ อิสราเอล และ สวิตเซอร์แลนด์ รายงานพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงเป็นรายแรกของประเทศ หลังจากในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา พบผู้ป่วย “ฝีดาษลิง” ในหลายประเทศในยุโรป ไม่ว่าจะเป็น สหราชอาณาจักร , ฝรั่งเศส ,เยอรมนี , เบลเยี่ยม , อิตาลี , โปรตุเกส , สเปน และ สวีเดน รวมทั้ง สหรัฐฯ แคนาดา และ ออสเตรเลีย จำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ WHO ไม่นิ่งนอนใจ ได้เฝ้าติดตามยอดตัวเลขผู้ป่วยฝีดาษลิง โดยเฉพาะในประเทศที่ไม่เคยพบการติดเชื้อมาก่อนอย่างใกล้ชิด และเตรียมที่จะออกคำแนะนำและแนวทางรับมือให้กับประเทศต่างๆ เพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิง ในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์ต่าง […]

“ฝีดาษลิง” ระบาดแล้ว 11ประเทศ ชี้วัคซีนไข้ทรพิษ ป้องกันได้

รู้จัก ‘ฝีดาษลิง’ หลังระบาดแล้ว 11 ประเทศ ชี้วัคซีนไข้ทรพิษป้องกันได้ เป็นที่จับตาของคนทั่วโลก สำหรับโรค ฝีดาษลิง หลังจากพบเจอผู้ป่วยที่ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ก่อนพบผู้ติดเชื้อในสหรัฐ แคนาดา และประเทศอื่นๆ ของยุโรป กระทั่งมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 100 ราย ในยุโรป ล่าสุด องค์การอนามัยโลกได้จัดประชุมฉุกเฉิน เพื่อหารือเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัส “ฝีดาษลิง” สำหรับโรคฝีดาษลิง ไม่ใช่โรคใหม่ แต่เคยระบาดมาแล้วมากกว่า 20 ปี ฝีดาษลิง เกิดจากไวรัสกลุ่ม Poxviridae จัดอยู่ในจีนัส Orthopoxvirus เช่นเดียวกับไวรัสอีกหลายชนิด ได้แก่ ไวรัสที่ทำให้เกิดฝีดาษในคนหรือไข้ทรพิษ (variola virus) ไวรัสที่นำมาผลิตวัคซีนป้องกันฝีดาษในคน (vaccinia virus) และฝีดาษวัว (cowpox virus) เชื้อไวรัสฝีดาษลิงพบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า เป็นต้น รวมทั้งคนก็สามารถติดโรคได้ คนสามารถติดโรคจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง […]

error: