คุกไม่ได้มีไว้ขังเฉพาะคนจน! ‘ประธานศาลฎีกา’เผยความในใจผู้กำกับดูแลผู้ต้องหา-จำเลย

Advertisement คุกไม่ได้มีไว้ขังเฉพาะคนจน! ‘เมทินี ชโลธร’ประธานศาลฎีกา เผยความในใจผู้กำกับดูแลผู้ต้องหา-จำเลย ลดเหลื่อมล้ำ กระทำผิดซ้ำ ดูแลสังคม ขณะที่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ย้ำการตั้งผู้กำกับดูแลยังไม่มีใครหลบหนี สามารถกลับตัวเป็นพลเมืองดีจำนวนมาก Advertisement เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 นางเมทินี ชโลธร ประธานศาลฎีกา กล่าวถึงการดำเนินงานของศาลยุติธรรมที่นำวิธีการกำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว มาใช้แทนการเรียกหลักประกันตั้งเเต่ช่วงปี 2561 ว่า การปล่อยชั่วคราวหรือการประกันตัวเป็นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาที่ยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิด ซึ่งต้องถือว่ายังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ กฎหมายบัญญัติให้ศาลพิจารณาคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยต้องอนุญาตให้ประกันตัวเป็นหลัก การไม่อนุญาตให้ประกันตัวเป็นข้อยกเว้นซึ่งต้องมีเหตุที่จะไม่อนุญาตตามกฎหมาย ในการพิจารณาคำร้องขอปล่อยชั่วคราวของศาลที่ผ่านมา แม้จะปรากฏว่ามีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวกว่าร้อยละ 90 ของคำร้องที่ยื่นขอ แต่การอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวดังกล่าวมักเรียกเงินสด ทรัพย์สิน หรือบุคคลเป็นหลักประกัน เพื่อเหนี่ยวรั้งมิให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยหลบหนี ส่งผลให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ไม่มีทรัพย์สินเพียงพอต้องถูกจองจำในระหว่างการพิจารณาคดี แม้ว่าศาลจะกำหนดมาตรฐานระยะเวลาในการพิจารณาคดีที่จำเลยถูกคุมขังให้แล้วเสร็จไปโดยเร็ว แต่การถูกคุมขังเพียงเพราะไม่มีทรัพย์สินมาประกันตัวนั้นย่อมก่อให้เกิดเหลื่อมล้ำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ศาลยุติธรรมจึงนำเครื่องมือและวิธีการต่างๆ มาใช้ในการอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวแทนการเรียกหลักประกันเพื่อขยายโอกาสในการปล่อยชั่วคราวให้แก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) การทำสัญญาประกันโดยไม่เรียกหลักประกัน และการวางเงื่อนไขต่างๆ ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยปฏิบัติตามในระหว่างการปล่อยชั่วคราวโดยตั้งผู้กำกับดูแลให้แก่ผู้ต้องหาหรือจำเลย Advertisement ทั้งนี้ การตั้งผู้กำกับดูแลเป็นมาตรการสำคัญที่ทำให้ภาคสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมในการดูแลความปลอดภัยของสังคมร่วมกัน นับตั้งแต่ศาลตั้งผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวเรื่อยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 พบว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่อยู่ในกำกับดูแลหลบหนีน้อยกว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยที่วางหลักประกันต่อศาล อีกทั้งผู้ต้องหาหรือจำเลยหลายคนสามารถกลับตัวเป็นคนดีได้จากการกำกับดูแล ขณะที่ นางบุศรา […]

ศาล ประกาศใช้วิธีการอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยการดำเนินคดีแพ่ง เริ่มแล้ว

ประธานศาลฎีกา ประกาศใช้วิธีการอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักยื่นฟ้อง-นั่งพิจารณา-อ่านคำพิพากษา มีผลตั้งแต่ 23 ก.ค. เหตุ ห่วงใยความปลอดภัยช่วงโควิดและความสะดวกของประชาชน แต่ละศาลกำหนดวิธีปฏิบัติเองได้ วันนี้ (25 ก.ค.64) นายสุริยัณห์ หงษ์วิไล โฆษกศาลยุติธรรม เปิดเผยว่า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ทำให้ต้องคำนึงถึงเรื่องสุขอนามัยอย่างมาก โดยเฉพาะความปลอดภัยที่ต้องป้องกันความเสี่ยงการรับเชื้อ ที่ต้องเน้นการเว้นระยะห่างสัมผัสใกล้ชิดระหว่างบุคคล และการระมัดระวังต่อการเดินทางไปยังสถานที่มีผู้คนพลุกพล่าน โดยสถานการณ์ที่ยังคงต้องเฝ้าระวังอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องนั้น ในส่วนของผู้ที่อาจจะมีข้อพิพาทเกิดขึ้นเป็นคดีหรือต้องใช้สิทธิ์ทางศาลระหว่างนี้อาจเกิดความกังวลตามมาว่าหากมีความจำเป็นต้องขึ้นศาลจะทำอย่างไรนั้น นางเมทินี ชโลธร ประธานศาลฎีกา จึงได้ลงนามประกาศ “ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการดำเนินคดีแพ่งระหว่างที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2564” เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 ก.ค.นี้เป็นต้นไป โดยสาระสำคัญ ได้กำหนดให้ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักในการยื่นคำฟ้อง การนั่งพิจารณา การอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คู่ความฟัง ซึ่งการดำเนินการนั้นให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2563 และประกาศสำนักงานศาลยุติธรรมที่เกี่ยวข้องเท่าที่พอจะใช้บังคับได้ สำหรับวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ในการยื่นคำฟ้องนั้น เช่น บริการฟ้องออนไลน์ผ่านระบบ e-Filing การติดตามผลคดี-การขอคัดคำสั่ง คำพิพากษา ผ่านระบบ CIOS โดยการส่งหมายสามารถส่งผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail ได้ ส่วนการนั่งพิจารณาและการอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คู่ความฟัง สามารถใช้การประชุมทางไกลผ่านจอภาพ […]

error: